รูปบทความ ชวนมนุษย์เงินเดือนสำรวจค่าใช้จ่าย ทุกวันนี้เราใช้เงินเดือนไปกับอะไรบ้าง

นี่เงินเดือนหรือเงินทอน? หาคำตอบพร้อมกันว่า เงินเดือนของพวกเราหายไปกับเรื่องอะไรบ้าง

ใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอ? คำถามนี้คงจะเป็นคำถามคาใจของมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ มานานแสนนาน เพราะเมื่อวันสิ้นเดือนเวียนมาถึงทีไร เราก็เหมือนจะต้องสิ้นใจกันไปตามเงินในกระเป๋าที่ร่อยหรอ และหนทางเดียวที่มนุษย์เงินเดือนเฝ้ารอ ก็คือ เดือนใหม่ที่จะวนมาอีกครั้ง 

แต่เราจะตกอยู่ในสถานการณ์ 'ชักหน้าไม่ถึงหลัง' กันไปอีกนานแค่ไหน?

ในฐานะที่ตกอยู่ในสถานะมนุษย์เงินเดือนเหมือนกัน Estopolis จึงจะมาช่วยหาคำตอบว่า จริง ๆ แล้วทำไมมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายเงินถึงไม่พอใช้ แล้วเราใช้จ่ายไปกับอะไรในเดือน ๆ หนึ่งกันบ้าง


มนุษย์เงินเดือนโปรดทราบ เราใช้จ่ายกับอะไรไปบ้างในแต่ละเดือน?

ใครที่เป็นมนุษย์เงินเดือนที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ หรือแถบปริมณฑลคงจะเข้าใจดีว่า ค่าครองชีพที่ต้องเสียไปในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อ้างอิงได้จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในหัวข้อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในปี 2560 ที่ให้ข้อสรุปไว้ว่า 

'ในปี 2560 ครัวเรือนในกรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดใกล้เคียง (นนทบุรี, ปทุมธานีและสมุทรปราการ) มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 33,126 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 79.1 ของรายได้' โดยแบ่งการใช้เงินไปกับเรื่องต่างๆ ได้ดังนี้

  • ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ร้อยละ 87.1 (ในจํานวนนี้เป็นค่าอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบร้อยละ 31.8)
  • ค่าที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งบ้าน และเครื่องใช้ภายในบ้าน ร้อยละ 22.4
  • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ/การเดินทางร้อยละ 17.9
  • ของใช้ส่วนบุคคล/เครื่องนุ่งห่ม/รองเท้าร้อยละ 5.1
  • การสื่อสาร ร้อยละ 3.6
  • การศึกษา ร้อยละ 2.8
  • เวชภัณฑ์/ค่ารักษาพยาบาล ร้อยละ 1.9
  • กิจกรรมทางศาสนา ร้อยละ 0.9
  • การบันเทิง/การจัดงานพิธี ร้อยละ 0.7
  • ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค เช่น ค่าภาษีของขวัญ เบี้ยประกันภัย ซื้อสลากกินแบ่ง/หวย ดอกเบี้ยคิดเป็น ร้อยละ 12.9 

เมื่อนำไปเทียบกับรายได้เฉลี่ยที่ตกอยู่ประมาณเดือนละ 41,897 บาท และหนี้สินแล้ว จะพบว่า เรามีรายได้ที่สูงกว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นตกอยู่ที่ประมาณ 3,249 บาท/คน แต่เงินส่วนนี้กลับไม่ได้กลายเป็นเงินออมของมนุษย์เงินเดือนแต่อย่างใด


แล้วเงินเก็บที่ควรมีของมนุษย์เงินเดือนหายไปไหนนะ ?

YouGov บริษัทสำรวจและวิจัยทางอินเทอร์เน็ต ได้จัดทำการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2558 ในนามของ Visa ผู้ให้บริการด้านเครือข่ายและการชำระเงินเผยข้อมูลว่า

'คนไทยมีค่าใช้จ่ายปริศนา หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถระบุได้ว่าใช้ไปกับสิ่งใดสูงถึง 72% ของรายจ่ายทั้งหมด ซึ่งจากการสำรวจยังพบว่า คนไทยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1,588 บาท นั่นหมายความว่า ค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไรจะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท'

นอกจากนี้ยังต้องนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการชำระหนี้อื่น ๆ อีก เช่น หนี้เพื่อการซื้อบ้าน/ที่ดิน/หนี้อุปโภคบริโภค เป็นต้น


จะเป็นมนุษย์เงินเดือนในกรุงเทพฯ ต้องมีเงินตกเดือนละเท่าไรถึงจะพอ?

ผลจากรายจ่ายและหนี้สินที่รัดตัวที่กล่าวมาในข้างต้น อาจจะทำให้มนุษย์เงินเดือนเริ่มสงสัยเเล้วว่า ถ้าเราอยู่ในจุดที่รับเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท เราจะสามารถใช้ชีวิตอย่างไรอยู่ในกรุงเทพมหหานครได้จริงหรือ?

ทางรอดสำหรับเรื่องนี้ก็คงต้องเริ่มจากการปลดล็อกเรื่องการใช้จ่าย ด้วยการไม่มีภาระทางการเงินก้อนใหญ่ที่ต้องผ่อนส่ง ไม่ว่าจะเป็น ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนคอนโด หรือไม่ต้อส่งเงินให้ครอบครัวที่ต่างจังหวัด ก็อาจจะทำให้การใช้ชีวิตอยู่ในเมืองกรุงด้วยเงินเดือน 15,000 บาทดูมีความเป็นไปได้บ้าง 


สำหรับกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่กำลังวางแผนที่จะซื้อคอนโด ก็คงจะหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในส่วนนี้ไปไม่ได้ แต่ถ้าเรารู้จักการวางแผนทางการเงินไว้สำหรับการผ่อนจ่ายหรือการกู้ซื้อคอนโดไว้ก่อนก็จะช่วยทำให้ภาระทางการเงินในส่วนนี้ไม่เป็นปัญหาในอนาคต

(อ่านวิธีการเตรียมตัวและการคำนวณเงินแบบฉบับมนุษยย์เงินเดือนเพื่อการซื้อคอนโดได้ที่ เงินเดือนเท่านี้กู้ซื้อคอนโดได้เท่าไร กับขั้นตอนการกู้-ผ่อนโดยละเอียด)


แต่สิ่งสำคัญที่สุดคงจะเป็นเรื่องของจิตใจมากกว่าการคิดว่าต้องมีเงินเดือนเท่าไร เพราะกลุ่มคนที่จะสามารถเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเก็บได้เป็นล้าน ส่วนใหญ่จะต้องเป็นคนที่มีเป้าหมายด้านการใช้เงินที่ชัดเจน และรู้จักควบคุมปริมาณค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นคำถามที่ว่า 'เราจะต้องมีเงินเดือนเท่าไร' อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เเต่เราควรตั้งคำถามกับตัวเองได้แล้วว่า 'จะใช้เงินที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้อย่างไรให้เพียงพอ' มากกว่าถึงจะเรียกได้ว่า มนุษย์เงินเดือนที่ประสบความสำเร็จ


รวมบทความเอาชนะรายจ่ายด้วยการออมเงิน : 


บทความที่เกี่ยวข้อง :

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์