เหตุผลที่ต้องมี "หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร"
28 June 2560
"หอชมเมืองกรุงเทพ" หนึ่งในสุดยอดไฮไลท์ของไอคอนสยาม (ICON SIAM) ที่ปิดกันอยู่นาน ล่าสุด ครม. เคาะให้เอกชนสร้างหอชมเมืองกรุงเทพมูลค่าโครงการ 4.6 พันล้าน บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลข กท.3257 เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยไม่ใช้วิธีประมูลตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
หอชมเมืองกรุงเทพจะดำเนินการก่อสร้างโดย “มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร” ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน มีนายพนัส สิมะเสถียร เป็นประธานฯ ได้ประเมินงบลงทุนไว้ที่ 4,422.96 ล้านบาท แบ่งออกเป็น
- เงินตั้งต้นของมูลนิธิ 5 แสนบาท
- เงินกู้จากสถาบันการเงิน 2,500 ล้านบาท
- เงินบริจาคจากบริษัทเอกชนชั้นนำ 2,100 ล้านบาท
โดยประมาณการรายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชม1,054 ล้านบาท/ปี ประมาณการราคาตั๋วที่ 750 บาท/คน คนไทยลด 50% มีค่าใช้จ่ายปีละ 892 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยปีละ 38 ล้านบาท รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำไปบริจาคองค์กรสาธารณกุศล
ที่มาของโครงการหอชมเมืองกรุงเทพ
เริ่มต้นจากเมกะโปรเจคไอคอนสยาม (ICON SIAM) โดยหอชมเมืองเป็นอีกหนึ่งโปรเจคซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนกันระหว่างเอกชน 3 รายใหญ่ ก็คือ
1. สยามพิวรรธน์ เจ้าของโครงการอย่าง สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสฯ
2. Magnolia Quality Development
3. เครือเจริญโภคภัณฑ์
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
ซื้อคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีทองคุ้มค่าน่าลงทุนหรือไม่?
ผังโปรเจคหอชมเมืองกรุงเทพ
เหตุผลการสร้างหอชมเมืองกรุงเทพ
1. เป็นต้นแบบน้อมนำศาสตร์พระราชาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานไว้มาดำเนินโครงการ
2. เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของไทย
3. เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งยุคพร้อมทั้งเป็นต้นแบบก่อสร้างอาคารสูงซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและวิศวกรรมอันล้ำสมัยตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล
4. ให้นักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนรู้ขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อยกระดับพื้นฐานทางปัญญาเยาวชนไทย
ข้อมูลจาก: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์