แนวโน้ม "ตลาดพื้นที่ค้าปลีก" ในพื้นที่กรุงเทพ จะขยับตัวขึ้นหรือลง
22 January 2563
HIGHLIGHT ตลาดพื้นที่ค้าปลีก ล้นพื้นที่กรุงเทพฯ
- ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในประเทศไทยอยู่ในช่วงชะลอตัว และมีแนวโน้มจะลากยาวไปถึงปี 2563
- คอมมูนิตี้มอลล์หลายโครงการ มีแนวโน้มที่จะปิดตัวและเปลี่ยนเป็นโครงการที่สร้างผลตอบแทนได้มากกว่าปัจจุบัน
- พื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในจะเป็นพื้นที่ที่มีศูนย์การค้าเกิดขึ้นต่อเนื่องในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า
ปฎิเสธไม่ได้ว่า การซื้อของออนไลน์มีผลต่อธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างมาก ส่งผลให้พื้นที่ค้าปลีกใหม่ ๆ ในอนาคตมีการเปิดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา
ที่มา: https://www.phoenixproperty.co.th/
โดยศูนย์การค้าจะมีสัดส่วนมากที่สุดในพื้นที่ค้าปลีกทั้งหมดประมาณ 204,200 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการใหม่ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 65% ตามมาด้วยคอมมูนิตี้มอลล์ที่ประมาณ 15% และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มลูกค้าที่โครงการพื้นที่ค้าปลีกต่าง ๆ ล้วนให้ความสนใจ มีการเพิ่มร้านค้าแบรนด์เนมระดับโลก หรือร้านขายสินค้าระดับ Luxury ขึ้นมา เพื่อดึงดูด และตอบสนองความต้องการ
- นอกจากนี้ Outlet Mall ยังเป็นโครงการพื้นที่ค้าปลีกอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ให้ความสนใจ นำทัพโดยสยามพิวรรธน์ และกลุ่มเซ็นทรัลที่กำลังพัฒนา Outlet Mall ในทำเลที่ไม่ไกลจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิมากนัก
ที่มา: www.phoenixproperty.co.th
สำหรับพื้นที่ใจกลางเมืองเอง ก็มีแนวโน้มที่สัดส่วนของ "พื้นที่ค้าปลีกโดยเฉพาะศูนย์การค้า และพื้นที่ค้าปลีกสนับสนุน" จะมากขึ้นในอนาคต สังเกตได้จากโครงการมิกซ์-ยูสขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้าง และมีกำหนดแล้วเสร็จในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าอยู่หลายโครงการ ซึ่งจะเป็นทั้งอาคารสำนักงานและศูนย์การค้าอยู่ในพื้นที่โครงการเดียวกัน
ส่วน "เอนเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์" ก็กำลังจะกลายเป็นโครงการพื้นที่ค้าปลีกที่มีแนวโน้มจะลดจำนวนน้อยลง เนื่องจากโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่จะย้ายเข้าไปอยู่ในศูนย์การค้ามากขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมของคนในยุคนี้ก็เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีทางเลือกในการรับชมภาพยนต์ที่สะดวก ง่ายดายมากขึ้น
ที่มา: https://www.phoenixproperty.co.th/
"พื้นที่ค้าปลีกทั้งหมดที่กำลังก่อสร้าง" จะมีรวมกันอยู่ที่ประมาณ 567,500 ตารางเมตร โดยคอมมูนิตี้มอลล์จะมีการขยายตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมไปถึงในอนาคตด้วย เนื่องจากในบางทำเลนั้น คอมมูนิตี้มอลล์อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่น่าสนใจที่สุด โดยปัจจัยหลักที่ทำให้บางทำเลไม่ประสบผลสำเร็จ ก็อาจมีผลมาจากการไม่เข้าใจในธุรกิจค้าปลีกของผู้เป็นเจ้าของนั่นเอง
โดยศูนย์การค้าที่มีกำหนดแล้วเสร็จในระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2565 จะอยู่ในทำเลใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานครกว่า 61% หรือประมาณ 567,500 ตารางเมตร ขณะที่โครงการพื้นที่ค้าปลีกรูปแบบอื่น ๆ ก็ยังมีการกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพ
- ยกตัวอย่าง ศูนย์การค้าเปิดใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ และโซนรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ก็จะมี สามย่านมิตรทาวน์ 200,000 ตารางเมตร, เซ็นทรัลวิลเลจ 40,000 ตารางเมตร, ไอคอนสยาม 525,000 ตารางเมตร เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง :
“สามย่านมิตรทาวน์” แลนด์มาร์กใหม่ในเมืองเก่า ที่เข้ากันอย่างเป็นมิตร
อ้างอิง :