SACICT CONCEPT โชว์ 40 คอลเล็กชั่น พลิกมุมมองงานคราฟต์ไทย ให้ทันกระแสโลกธุรกิจ
2 October 2563
ใครยังคิดว่างานศิลปหัตถกรรมไทย ไม่ทันยุคจะต้องเปลี่ยนความคิด เมื่อมาชม 40 คอลเล็กชั่นใหม่จากครูช่างศิลปหัตถกรรมและผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมจากทั่วประเทศ 40 ราย ซึ่งได้รับคัดเลือกมาพัฒนาในโครงการ SACICT CONCEPT ริเริ่มโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT โดยมุ่งพัฒนางานศิลปหัตถกรรมไทยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน และตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศในระยะยาว เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้แก่ประชาชนได้อย่างยั่งยืน
SACICT CONCEPT SHOWCASE ชมทั้ง 40 คอลเล็กชั่น สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานใดกำลังมองหาของขวัญและของที่ระลึกแบบชิคๆ หรือห้างร้าน โรงแรมและนักออกแบบที่ต้องการเสื้อผ้า เครื่องประดับ ของใช้ และของตกแต่งสไตล์ไทยสมัยใหม่ มาดูคอลเล็กชั่นที่น่าสนใจว่ามีการพัฒนาและต่อยอดกันอย่างไรบ้างกันค่ะ
นักษัตร โดย บัวเหลืองปักไทย
เข็มกลัดที่ปรับประยุกต์จากงานปักสะดึงกรึงไหม ต่อยอดภูมิปัญญาสู่ลายปักที่ร่วมสมัย พัฒนาเป็นเครื่องประดับที่ทุกคน สวมใส่ได้ง่ายในชีวิตประจำวัน และยังใช้เป็นของที่ระลึกประจำปี นักษัตรนั้น ๆได้อีกด้วย
Layer โดย ศิลาทิพย์
ต่อยอดภูมิปัญญาแห่งครกอ่างศิลาโดยนำเศษหินที่เหลือจากการผลิตมาพัฒนาเป็นที่ใส่เครื่องเขียน ใส่อุปกรณ์สำหรับใช้ในครัวและแจกัน โดยผสมผสานกับวัสดุชนิดอื่น ๆอย่างเหล็กพ่นสีในรูปแบบที่ทันสมัย
Backyard Story โดย Kiree
ต่อยอดงานผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติจากชุมชนคีรีวงจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งเด่นด้วยภูมิปัญญาการย้อมสีผ้าจากเปลือก มังคุด ฝักสะตอแก่นขนุน ฯลฯ มาผสานกับลวดลายของเส้นสายที่แปรงที่มีเอกลักษณ์
Thoong Cushion โดย Primpraewa
สืบสานภูมิปัญญาผ้าไหมแพรวาและลวดลายแบบชนเผ่าภูไท ด้วยการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านอย่าง “เบาะธุง” ที่ผสานลวดลายสองวัฒนธรรมคือ ผ้าไหมแพรวาและธุงซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกาฬสินธุ์
ฉัตร โดย Angsa
“เงินยัดลาย” งานศิลปหัตถกรรมขึ้นชื่อของตำบลบ้านกาด จังหวัดเชียงใหม่โดยใช้เส้นเงินหรือทองขนาดเล็กมาวาง ลวดลายขดไปมาในโครงสร้างชิ้นงาน ต่อยอดความวิจิตรสู่งานโคมไฟขนาดใหญ่ ที่เกิดจากการเรียงร้อยชิ้นงานขนาดเล็ก เป็นชั้นลดหลั่นกัน
Stitch โดย บ้านเฮาเสาไห้
รื้อฟื้นภูมิปัญญาผ้าทอโบราณของชาวไทยวน อำเภอเสาไห้จังหวัดสระบุรีด้วยการพัฒนาชุดเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีต้นแบบมา จากตั่งและหมอนผาปรับรูปทรงหมอนให้เป็นเรขาคณิต เลือกใช้สีโมโนโทน โดยคงเอกลักษณ์การเย็บตะเข็บอย่างลาย จ่องแอ่วเขียด และลายปีกผีเสื้อแบบดั้งเดิม
Catdo (Cat + Condo) โดย โฉมสุดา โทนุการ
ต่อยอดผ้าขาวม้าจากเส้นใยย้อมสีธรรมชาติของชุมชนลาวครั่งจังหวัดอำนาจเจริญ โดยทดลองย้อมสีและทอลายใหม่เป็น ผ้าขาวม้าร่วมสมัย ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สัตว์เลี้ยงที่สามารถใช้ตกแต่งบ้านไปในตัว
A Tale of Wood โดย วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านกิ่วแลน้อย (ป้าลัยแกะสลัก)
ต่อยอดความเชี่ยวชาญการแกะสลักไม้เป็นภาพนูนต่าของช่างฝีมือในชุมชนมาสร้างเอกลักษณ์ด้วยบานตู้แกะสลักเป็น ลวดลายที่ได้แรงบันดาลใจจากลายผ้าศิลปาชีพผสานกับลายเรขาคณิต ลดทอนรายละเอียดให้เรียบง่ายและร่วมสมัยขึ้น
สมิหลา โดย กลุ่มโหนดทิ้ง
การต่อยอดงานจักสานใยตาลเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ส่วนประกอบของต้นตาลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์โดยนำผืนใยตาลสานมา สร้างสรรค์เป็นโคมไฟรูปทรงกลมดัดโค้งและจัดวางชุดโคมไฟตั้งพื้นกึ่งงานศิลปะบนสวนกรวดในถาดทองเหลือง
Phu-Kao โดย JUTATIP
ผ้าฝ้ายเข็นมือย้อมสีธรรมชาติทอด้วยเทคนิค “เกาะล้วง” เกิดพื้นผิวนูนคล้ายงานปักพัฒนาเป็นชุดหมอนตกแต่งที่ได้แรง บันดาลใจมาจากภูมิทัศน์เทือกเขาในจังหวัดขอนแก่น โดยออกแบบให้มีช่องใส่ของด้วย
A Sense of Tribe โดย Ethnica
แบรนด์กิจการเพื่อสังคมที่ทำงานร่วมกับกลุ่มผลิตทอผ้าชาวเขา พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มสินค้าตกแต่งบ้าน โดยนำผ้าที่มีลวดลายจากเทคนิคการเย็บต่อผ้าลายกระดูกงูมาใช้เป็นผ้าหุ้มเก้าอี้พับ
ปาเต๊ะ-ปาเต๊ะ โดย ศศินาหัตถศิลป์ ชุมชน
นำผ้าปาเต๊ะพื้นเมืองของชุมชนทางภาคใต้มาเพ้นต์ลายและปักเลื่อมให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนสหกรณ์ครูจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Batik Legacy โดย ดาหลาบาติก
สืบทอดวิธีการทำผ้าบาติกโบราณที่สะท้อนการผสานวัฒนธรรมทั้งมลายูจีน และไทย ผ่านการพัฒนางานบาติกพิมพ์ โลหะให้ร่วมสมัย เน้นการออกแบบจัดวางลายผ้าใหม่ ลดทอนลายบางส่วน โดยยังคงใช้การผสมสีแบบดั้งเดิม
A Finesse of Bamboo โดย 247 Studio
เพิ่มมูลค่าให้งานจักสานไม้ไผ่ลาย “ดาวล้อมเดือน” ของชาวบ้านในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีรวมถึงงานจักสานเตย ปาหนันของศิลปาชีพ โดยนำมาผสมผสานกับงานโลหะให้เป็นกล่องใช้เก็บเครื่องประดับ
Kiri by Silaplant โดย บ้านเบญจรงค์บางช้าง
ใช้เทคนิคการทำเครื่องเคลือบศิลาดลซึ่งมีผิวแตกลายงาบนพื้นสีเขียวใส โดยเคลือบแบบไม่เต็มใบ ทำเป็นกระถางต้นไม้ พร้อมขาตั้งโลหะ ที่ออกแบบให้เป็นขาตั้งแบบสูงแต่เมื่อพลิกกลับวางอีกด้านก็กลายเป็นขาตั้งแบบเตี้ยได้ด้วย
พัน โดย ละมุนละไม คราฟต์สตูดิโอ
ต่อยอดงานเซรามิกสู่ของตกแต่งบ้าน โดยทดลองพิมพ์ลายบนดินด้วยการนำเชือกมาพันให้เกิดร่องรอย ผสานกับเทคนิค การทำสีด้วยผงโลหะออกมาเป็นชุดของตกแต่งบ้านหลากหลายสีสัน ลวดลาย และผิวสัมผัส
A Thread of Hemp โดย ผลิตภัณฑ์ใยกัญชงทรายทอง
ต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้าใยกัญชงให้มีความแปลกใหม่นอกเหนือไปจากเครื่องเเต่งกายและกระเป๋าโดยถักเส้นใยกัญชงแบบ โครเชต์ให้โปร่งออกแบบเป็นของตกแต่งอย่างโคมไฟห้อยเพดาน เเละตะกร้าใส่ของ
สะเอว โดย NERA
ต่อยอดเทคนิคการร้อยลูกปัดประดับบนชุดมโนราห์โดยลดทอนลวดลายให้เรียบง่าย เลือกใช้ลูกปัดสีใสและสีขาว ออกแบบรูปทรงให้โค้งเว้าสะท้อนถึงรูปทรงของชุดมโนราห์และถักเป็นยูนิตซ้ำกันเพื่อประกอบได้หลากหลายแบบ
Universeโดย บ้านรักเฉลิมพระเกียรติ InnoYa
พัฒนาเทคนิคการทำผ้าบาติกข้าว โดยเลือกใช้สีสันแปลกใหม่ขับเน้นลวดลายที่เกิดจากรอยแตกของแป้งที่บดจากข้าว ดูคล้ายกับภาพดวงดาวทำเป็นโคมไฟตกแต่งผนังและฝ้าเพดาน
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.sacict.or.th