รูปบทความ ทำความรู้จักกับเทรนด์ Zero Waste เซ็ตขยะบนโลกให้กลายเป็น 0

เปลี่ยนโลกให้น่าอยู่กับเทรนด์ Zero Waste เซ็ตขยะบนโลกให้กลายเป็น 0

จุดประกายให้โลกสะอาดขึ้นด้วยเทรนด์ 'Zero Waste' ที่จะช่วยแก้ปัญหาขยะล้นโลกด้วย 2 มือเรา


'ใช้แล้วทิ้ง'

นี่คือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากเราได้รับ 'พลาสติก' มาหนึ่งชิ้น ซึ่งก็อาจจะเป็นถุงสักใบหรือหลอดสักอันจากการซื้อของในห้างสรรพสินค้า แต่รู้หรือไม่ว่า พลาสติกที่เราใช้เพียงแค่หนึ่งครั้งแล้วทิ้งลงถังขยะไปนั้น ต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 450 ปี แน่นอนว่า กว่าจะถึงเวลาย่อยสลายขยะจากพลาสติกทั้งหมดจะยังต้องสะสมอยู่บนโลกอีกนานและทำให้ปริมาณขยะมีจำนวนพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย



ในเมื่อเรามีภูเขาขยะที่กำจัดได้ยากแล้ว แบบนี้เราก็ควรจะลองมาลด ละ เลิกการใช้พลาสติกกันสักที ซึ่งปกติเราก็คงจะรู้จักกันในวิธีการรีไซเคิลหรือรียูสที่สนับสนุนให้ทำกันอยู่บ่อย ๆ แต่จริง ๆ แล้วหลักการลด ละ เลิก การใช้ขยะมีมากกว่านั้น ซึ่งเราจะแนะนำให้ทุกคนรู้จักกันในชื่อ 'Zero Waste' เทรนด์การลดขยะที่น่าสนใจและใช้ได้ผลจริง


'Zero Waste' หลักการนี้ช่วยเซ็ตขยะให้เป็น 0 ได้ยังไง

สำหรับหลักการ Zero Waste จะเป็นการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ขยะเหลือศูนย์หรือไม่มีขยะ ด้วยเทคนิค “1A3Rs” (Avoid Reduce Reuse Recycle) ดังนี้

  • A - Avoid หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะที่ยากต่อการกำจัด
  • R - Reduce ลดการซื้อ การใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะ
  • R - Reuse การนำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้วนำกลับมาใช้งานใหม่
  • R - Recycle การนำวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

ฟังดูก็จะคุ้น ๆ กับหลักการลด ละ เลิกเหล่านี้กันอยู่แล้ว แต่ถ้าถามถึงการปฏิบัติที่เห็น ๆ กันในไทยอาจจะไม่ได้มีบ่อย แต่ในต่างประเทศหลักการ Zero Waste ดูจะเป็นเทรนด์ฮิตที่ได้รับความนิยมและทำกันอย่างจริงจังในระดับประเทศ แถมประสบความสำเร็จจนกลายเป็นต้นแบบด้านการจัดการขยะเลยก็ว่าได้!


ศึกษาเมืองต้นแบบด้านจัดการขยะที่ทำ 'Zero Waste' ให้เป็นจริง



ปลูกฝังชาวลอนดอนให้รักษ์โลกด้วย 'Zero-waste shop'

ที่มา: https://www.facebook.com/bulkmarketuk/

เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ในสังคมของชาวลอนดอนกันก่อนเลยกับ ร้านน่ารักที่มีชื่อว่า ‘Bulk Market’ ในย่านแฮกนีย์กลางกรุงลอนดอน ร้านสะดวกซื้อที่แก้ปัญหาขยะจากอาหารและบรรจุภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน ด้วยการลดขยะในการจับจ่ายซื้อขงให้ได้มากที่สุด เช่น การไม่ขายสินค้าพลาสติกและของที่รีไซเคิลไม่ได้ และไม่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น

โดยวิธีชอปปิงของร้านนี้ลูกค้าจะต้องพกบรรจุภัณฑ์มาเองหรือซื้อขวดแก้วกับทางร้าน นอกจากนี้ร้าน Bulk Market ยังสร้างความพิเศษให้กับร้านด้วยการรวบรวมสินค้าที่เป็นมิตรต่อโลกไว้ครบที่สุดในลอนดอน ไม่ว่าจะเป็นเส้นพาสต้าแห้ง สมุนไพร เครื่องเทศ ถั่ว ชา กาแฟ ผักผลไม้ ซีเรียล เบเกอรี่อบใหม่หอมฉุย ไวน์และเบียร์ ฯลฯ เหมาะสำหรับคนที่อยากซื้อวัตถุดิบออร์แกนิค พร้อมสนับสนุนหลักการ Zero-waste ไปพร้อม ๆ กัน


งดการทิ้งเศษอาหารในซูเปอร์มาร์เก็ตกันที่ 'ฝรั่งเศส' 

ที่มา: https://waymagazine.org

นอกจากเรื่องปัญหาพลาสติกแล้ว เรื่องของอาหารเหลือทิ้ง (food waste) เองก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาระดับโลกที่ในหลายประเทศเห็นว่าต้องรีบแก้ไข แต่ที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างถึงขั้นออกเป็นกฎหมายโดยการห้ามซูเปอร์มาร์เก็ตทิ้งอาหารที่เหลือจากการจำหน่าย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงถึง 4,500 เหรียญ และให้นำอาหารก่อนวันหมดอายุ อาทิ โยเกิร์ต พิซซ่า ผลไม้ นม และชีส ไปบริจาคให้กับองค์กรการกุศลหรือ Food banks ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานแจกจ่ายอาหารแก่คนยากจนเพื่อลดปัญหาความหิวโหย และต่อต้านการทิ้งอาหารอย่างฟุ่มเฟือยอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


'สวีเดน' ใช้นวัตกรรมกำจัดปัญหาขยะอย่างได้ผล

ในหลายประเทศกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาขยะล้นเมือง เพราะไม่สามารถกำจัดไปได้อย่างถูกวิธี แต่ไม่ใช่กับประเทศสวีเดน ประเทศที่สามารถกำจัดขยะได้อย่าง 100% โดยการนำขยะกลับมาใช้ใหม่แทนการฝั่งกลบ การรีไซเคิล และการนำเอาขยะมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงใช้ในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันสวีเดนมีขยะที่ต้องนำไปกลบฝังเพียง 0.08 % ของปริมาณขยะทั้งหมดในประเทศและต้องนำเข้าขยะจากต่างประเทศเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

สวีเดนใช้วิธีลงทุนกับการวิจัยในเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะ ซึ่งรวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำและสนับสนุนการศึกษาวิจัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติในสาขาต่าง ๆ ของการบริหารจัดการขยะ จนสวีเดนสามารถสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะโดยเทคโนโลยีขั้นสูง และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2.2 ล้านตันต่อปีได้เลยทีเดียว


‘Kamikatsu’ ต้นแบบเมือง Zero Waste จากญี่ปุ่น

ที่มา: https://www.nippon.com

ถ้าพูดถึงประเทศที่ทำอะไรแล้วเอาจริงเอาจังแบบสุด ๆ แน่นอนว่า จะต้องมีชื่อของประเทศญี่ปุ่นติดโผอยู่ในลิสต์ก่อนใครเพื่อน แถมยังพัฒนาและปรับปรุงสิ่งที่ตัวเองทำให้ออกมาดีอย่างสุดความสามารถ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของขยะและสิ่งแวดล้อมที่มีโมเดลเป็นหมู่บ้าน “คามิคัทสึ” (‘Kamikatsu) หมู่บ้านเล็กๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นที่มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 1,700 คน และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ทำให้หมู่บ้านกลายเป็น ‘Zero Waste Academy’ องค์กรที่ให้ความรู้เรื่องขยะจัดการกับขยะ จนสามารถเปลี่ยนทัศนคติของคนในชุมชนให้รู้จักการแยกขยะ 45 อย่าง 13 ประเภททุกวัน และนำขยะเหล่านั้นมากำจัดด้วยการรีไซเคิล ทำปุ๋ย และนำกลับมาใช้ซ้ำได้กว่า 80%  โดยที่เหลืออีก 20% ถูกนำไปฝังกลบไป

ที่มา: https://www.nippon.com


เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ กับแคมเปญ Zero Waste ในไทย

ส่วนประเทศไทยของเราก็ตระหนักถึงปริมาณขยะที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ หลายบริษัทก็เริ่มที่จะนำ Zero Waste เข้ามาช่วยจัดการปัญหาโดยเฉพาะบริษัทที่พัฒนาในด้านการอยู่อาศัยที่จะพบกับปัญหาจากปริมาณขยะอยู่เป็นประจำ ก็เริ่มที่จะขยับออกมาสร้างจิตสำนึกให้กับกลุ่มลูกค้าด้วยแคมเปญต่าง ๆ เช่น

บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กับการสนับสนุนให้ลูกบ้านของอารียาสร้างชุมชน และสร้างความเป็นอยู่ที่ดี ภายใต้แนวคิด Sustainable Happiness จึงได้พัฒนาโครงการควบคู่ไปกับความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นหลัก เพื่อให้ลูกบ้านได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างสมบูรณ์ เช่น

  • โครงการทำระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
  • โครงการแปลงผักปลอดสารพิษ
  • โครงการไฟฟ้าส่องสว่างด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์


หรือจะเป็นทาง LPN ที่สนับสนุนการลดขยะให้เป็นศูนย์มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ตั้งเป้าหมายในการลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด ด้วยการนำวัสดุที่เหลือจากการก่อสร้างบางส่วนมาสร้างมูลค่าให้กับวัสดุ (Up cycle) เช่น การนำเศษเหล็กมาทำเป็นที่ตั้งถังดับเพลิง ถังขยะ และตะแกรงปิดฝาท่อชั่วคราว หรือนำเศษวัสดุต่างๆ นำมาเป็นเครื่องเล่น และเครื่องออกกำลังกายในบ้านพักคนงานก่อสร้าง

ที่มา: http://lumpinicommunity.com

ส่วนทางฝั่งของลูกบ้านก็เชิญชวนให้สมาชิกผู้พักอาศัยในคอนโดลุมพินีเข้ามามีส่วนในการลดขยะภายในห้องชุด รวมถึงการคัดแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพภายในชุมชนอีกด้วย


สุดท้ายนี้ปัญหาขยะก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ของโลก ที่ไม่ใช่แค่เรื่องขององค์กรใหญ่ที่ต้องลงมาแก้ปัญหาให้เท่านั้น แต่ในภาคประชาชนตัวเล็ก ๆ อย่างเราก็ต้องให้ความร่วมมือ เพื่อการสร้างโลก Zero Waste แบบสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นได้จริงเหมือนในหลายประเทศต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับเราในการลดขยะได้สำเร็จ 

คนละไม้ คนละมือ เพื่อโลกที่ยั่งยืน

บทความที่เกี่ยวข้อง :

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์