รูปบทความ Smart city คืออะไร? ถอดบทเรียนเมืองอัจฉริยะกับแผนพัฒนาเมืองของไทย

Smart city คืออะไร? ถอดบทเรียนเมืองอัจฉริยะกับแผนพัฒนาเมืองของไทย

คุณคิดว่าเมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร?

คำถามนี้ดูจะเป็นคำถามที่ตอบยากอยู่เหมือนกัน เพราะเมืองที่ดีในสายตาของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน

  • บางคนอาจจะขอแค่การมีระบบการคมนาคมที่ดีขึ้น ก็รู้สึกว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่ดีแล้ว
  • บางคนอาจจะขอเรื่องสาธารณูปโภคที่กินดีอยู่ดีกว่านี้อีกสักหน่อย
  • บางคนอาจจะขอพื้นที่สวนสาธารณะไว้ให้พักผ่อนหย่อนใจ เพราะในเมืองใหญ่ในเมืองนี้หาพื้นที่สีเขียวดีๆ สักที่มันช่างยากเหลือเกิน

แต่การจะทำให้ทุกคำขอของทุกคนจะเป็นจริงได้ เพื่อตอบสนองความรู้สึกของการเป็น 'เมืองที่ดี' ในสายตาของประชาชนทุกคน คงจะหันไปโฟกัสเพียงแค่จุดใดจุดหนึ่งไม่ได้ แต่เราต้องสร้างเมืองที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมและตอบโจทย์สำหรับความต้องการเหล่านั้น

และในปัจจุบันหลายประเทศก็มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยกระตุ้นให้เมืองดีขึ้นด้วยวิธการต่างๆ และหนึ่งในวิธีการเหล่านั้นที่น่าสนใจมากเลยก็คือ การสร้างเมืองให้เป็น Smart city โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาผสานกับการใช้ชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะทั้งด้านการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ดีมีสุขกันได้อย่างถ้วนหน้า

ว่าแต่ว่า Smart city ที่ดีนั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร จะเป็นเมืองในฝันที่ออกแบบมาให้เป็นจริงได้หรือไม่ แล้วประเทศไทยของเราจะมีโอกาสเป็นเมืองอัจฉริยะแบบนั้นได้หรือเปล่า บทความนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมกัน


Smart city ที่ดีควรเป็นอย่างไร?

อย่างที่บอกไปแล้วว่า Smart city เป็นเมืองที่บูรณาการข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานและบริการต่างๆ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาของเมือง สภาพแวดล้อม และช่วยพัฒนาชีวิตผู้คนที่อยู่อาศัยภายในเมืองให้ดีขึ้น

ดังนั้น Smart city ที่ดีจึงเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ รวมถึงความสามารถของภาครัฐในการวางแผนและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและบริการต่างๆ และในภาคของประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือที่จะช่วยกันผลักดันให้ระบบโดยรวมประสบความสำเร็จได้จริง

ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเริ่มจากการพูดคุย โดยที่ประชาชนยอมบอกถึงความต้องการ เอกชนและรัฐเริ่มการวางแผนพัฒนา Smart City ที่เหมาะกับความต้องการของประชาชน เพราะในแต่ละประเทศเองก็มี solution ในการพัฒนาที่เฉพาะ การจะลอกเลียนแผนพัฒนาจากประเทศอื่นมาอาจจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเมืองที่เรามีอยู่ก็เป็นได้


แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะดูเมืองเหล่านั้นเป็นต้นแบบในการพัฒนาไม่ได้

เพราะในหลายๆ เมืองก็มีวิธีการออกแบบ Smart City ที่น่าสนใจและควรเป็บไว้เป็นกรณีศึกษา ยกตัวอย่างเช่น

Amsterdam – Netherlands

กรุงอัมสเตอร์ดัม ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์นั้น นอกจากจะเป็นที่รู้จักในเรื่องของเมืองแห่งการปั่นจักรยาน, โครงข่ายคลองที่ซับซ้อน และร้านกาแฟน่านั่งอยู่ทั่วเมืองแล้ว

กรุงอัมสเตอร์ดัม ยังถือเป็นที่เลื่องลือในด้านการเป็นเมืองตัวอย่างตามแบบ Smart City โดยให้ความสำคัญในเรื่อง  Internet of Things และ Big Data ซึ่งทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนมีโปรเจ็กต์ที่ทำมาใช้พัฒนาเมืองให้ทันสมัยมากกว่า 170 โครงการ ซึ่งมุ่งเน้นแก้ปัญหาเรื่องรถติด ประหยัดพลังงาน และพัฒนาสภาพความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ

โดนโมเดลชิ้นสำคัญเห็นจะเป็น ‘City-zen’ ที่นำพลังงานสะอาด เช่น ลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และความร้อนจากใต้ผิวโลกขึ้นมาใช้ในการผลิตพลังงานสะอาด และใช้ในระบบเมืองทั้งหมด และยังทำรายได้ให้กับเมืองจากการขยายพลังงานส่วนเกิดที่ผลิตได้อีกด้วย


Barcelona – Spain

ปกติเราจะรู้จักกับ Barcelona ในด้านกีฬาฟุตบอล แต่ในแง่ของการพัฒนาประเทศเอง Barcelona ก็มีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เมืองทั้งเมืองกลายเป็น Digital City ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามารองรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการใช้ชีวิตของผู้คน โดยปลูกฝังให้ประชาชนคุ้นดเคยกับการใช้เทคโนโลยีออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้

  • Digital transformation
  • Digital Innovation
  • Digital Empowerment

โดยทั้ง 3 ด้านจะจัดการทั้งการให้บริการข้อมูล การใช้เทคโนโลยี รวมไปจนถึงปลูกฝังด้านการศึกษาให้ประชาชนเข้าถึงโลกแห่งดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม ผ่านโครงการต่างๆ เช่น การจัดทำโครงการ ‘Open Budget’ ที่เป็นช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลงบประมาณ ตรวจสอบการใช้เงินส่วนรวมของภาครัฐได้ตลอดเวลา เป็นต้น


Singapore

หากข้ามมาทางฝั่งเอเชียใกล้ๆ กับบ้านเรา ตัวอย่างของประเทศที่สร้างให้เมืองเป็น 
Smart City ที่เป็นรูปธรรมแบบเห็นได้ชัดเห็นจะเป็นประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีแผนที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นเมืองแห่งนวัตกรรม หรือที่เรียกกันว่า Smart Nation ที่เน้นการรวบรวมข้อมูล Open Government Data ที่ให้ประชาชน และภาคเอกชนเข้าถึงข้อมูลของรัฐ แต่ก็ยังให้ค่าความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยด้านข้อมูลที่ต้องสูงสำหรับประชาชน

รวมถึงการใช้เทคโนโลยีไปกับเรื่องสุขภาพโดยมีการพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ส่งเสริมให้สุขภาพของประชาชนดีขึ้น และเข้าถึงประชาชนในวันที่เจ็บไข้ไม่สบายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย


แผนการพัฒนาเมืองของไทยสู่การเป็น Smart City

สำหรับประเทศไทยเองก็มีแผนสำหรับการพัฒนาในแต่ละจังหวัดสู่การเป็น Smart City อย่างในกรุงเทพมหานครเอง ก็ถือเป็นเมืองในกลุ่ม Prime Mover ที่ระบบโครงสร้างทางกายภาพและสังคมส่วนใหญ่มีความพร้อมอยู่แล้ว แต่มักถูกใช้งานเกินขีดความสามารถ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

ซึ่งถ้าเราสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อจัดการปัญหาให้รองรับต่อผู้คนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้ รวมถึงทำให้ทุกคนในประเทศสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขในเรื่องนี้ได้ กรุงเทพก็จะกลายเป็น Smart City ที่ทุกคนรอคอยอย่างแน่นอน

ภูเก็ตเมืองต้นแบบของ Smart City ที่ทุกคนควรจับตามอง

แต่สำหรับจังหวัดในประเทศไทยที่เริ่มเข้าสู่ความเป็น Smart City ที่ใกล้เคียงที่สุดเห็นจะเป็นจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องในการสร้างเมืองน่าอยู่ให้เห็นเป็นรูปธรรม

เนื่องจากเป็นเมืองที่มีประชากรต่ำกว่าหนึ่งล้านคนทำให้มีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาผังเมืองต่างๆ รวมถึงยังเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มีคนต่างชาติเข้ามาเที่ยวปีละหลายล้านคน หากแผนการพัฒนาเป็นไปได้ดีจะช่วยทำให้กลายเป็นเมื่องที่ทำเงินให้กับประเทศเเละเป็นเมืองต้นแบบที่ดีให้กับจังหวัดอื่นๆ ได้อีกด้วย

(สำหรับรายละเอียดการพัฒนาภูเก็ตให้เป็น Smart City สามารถดูรายละเอียดได้ภายในคลิปได้เลย)

จะเห็นว่าประเทศไทยของเราเองก็มีแม่แบบและแผนที่จะพัฒนาให้เมืองเติบโตและก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งเราต้องเจอกับความท้าทายอีกหลายอย่างในการจะทำให้เเผนนี้ประสบความสำเร็จ

แต่ถ้าได้ความร่วมมือจากทุกภาคในการสร้าง Smart City ให้เกิดขึ้นได้จริง ในอนาคตประเทศไทยเองอาจเป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดติดอันดับโลกเลยก็เป็นได้


บทความที่เกี่ยวข้อง :

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์