Climate Change: อากาศที่เปลี่ยนไป
20 February 2563
อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2 องศาเซลเซียสหมายความว่าอย่างไร
เราจะพบกับน้ำท่วมโลกเพราะน้ำแข็งขั้งโลกละลายเร็วขึ้น
เราจะพบกับภาวะแห้งแล้งรุนแรง ส่งผลไปถึงภาคเกษตรไม่สามารถผลิตอาหาร ทำให้ขาดแคลนอาหาร
เราจะพบกับพายุที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
เราจะพบกับทะเลทรายแห่งใหม่มากมาย
เราจะพบกับคลื่นความร้อนรุนแรงได้บ่อยขึ้น
นี่คือผลของ Climate change ที่เราทุกคนจะสัมผัสได้หากไม่มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรของโลก และยังมีการคาดการณ์มากมายที่พูดถึงเรื่องอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นนี้ ซึ่งในกรณีเลวร้ายที่สุดคือ ภายในปี 2100 สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์มีโอกาสสูญพันธุ์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะปะการัง มีโอกาสถูกทำลายสูงถึง 99%
วันนี้ Esto จึงพาทุกคนมาสังเกตอากาศที่แปรปรวนและมีความสุดโต่งกันมากขึ้นอย่างไรบ้าง เมื่อปัจจุบันอากาศไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว
อุ่น-ร้อน สู่ หนาว-เย็น
สภาพอากาศที่เราคุ้นเคยคือการมีหน้าร้อนที่ร้อนมากอยู่แล้ว แต่การที่อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นนั่นหมายความว่า เราจะร้อนมากขึ้นไปอีก ไม่ใช่ตามค่าเฉลี่ยแต่ต้องมากกว่านั้นไปอีก แต่เรายังมีประเทศที่ร้อนกว่าเราอีกมาก เช่นแถบแอฟริกา ที่อาจจะต้องเผชิญคลื่นความร้อนทุก 5 ปีหากอุณหภูมิเฉลี่ยยังเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามที่ IPCC( คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ได้กำหนดเอาไว้
หากหน้าร้อนยังร้อนมากขึ้น แล้วหน้าหนาวจะเหลืออะไร
โดยปกติถ้าโลกร้อนมากขึ้น ฤดูหนาวก็จะหนาวน้อยลง แต่มันไม่เป็นแบบนั้น เพราะกลไกของความแปรปรวนทางสภาพอากาศส่งผลต่อเนื่องถึงกันเกิดเป็น “สภาพอากาศสุดขั้ว” คือเมื่อร้อนสุดขั้วแล้ว เราก็จะเจอกับสภาพอากาศหนาวสุดขั้ว หาความพอดีไม่ได้
อย่างเช่นเมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา ในเมืองชิคาโกต้องพบกับอากาศหนาวรุนแรงจากอิทธิพลของลมวนขั้วโลกหรือปรากฏการณ์ Polar Vortex พัดเข้ามา และในช่วงต้นปียังหนาวขึ้นไปแตะถึง -46 องศาเซลเซียสกันไปเลย
แห้ง-ชื้น สู่ ไฟ-ฝน
ใครที่เคยไปประเทศหนาวหรือมีสภาพอากาศโดยทั่วไปแตกต่างจากเราจะพอสังเกตได้ถึงความชื้นในอากาศที่ต่างกัน ซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น อย่างเช่นในพื้นที่ที่อากาศร้อนชื้น ก็จะเพิ่มความเหนะหนะรำคาญตัว หรืออาจจะกลายเป็นฝนตกชุกอย่างภาคใต้ของเราได้
แต่ที่อันตรายคืออากาศร้อนและแห้ง ซึ่งทำให้เกิดไฟได้ง่ายแต่ดับได้ยาก อย่างเช่นที่ออสเตรเลียหรือแคลิฟอร์เนีย ที่เราต้องเสียพื้นที่สีเขียวของโลกกันไปมากมาย พร้อมกับความเสียหายทั้งคนและสัตว์อีกด้วย
ขณะเดียวกันความอันตรายอีกรูปแบบคือภัยหนาวที่มาพร้อมกับความชื้น ทำให้ต้องเจอกับพายุหิมะ เรียกว่าเป็นช่วงเวลาที่ธรรมชาติพร้อมจะซ้ำเติมเราได้ตลอดเวลาเลยทีเดียว
ว่าด้วยเรื่องของฝุ่น
“ฝุ่นครองเมือง” เป็นคำนิยามที่เราจะได้ยินกันเป็นประจำ แต่ไม่ใช่การซ้ำเติมจากธรรมชาติที่ทำร้ายเราในเรื่องนี้ เพราะจะสาเหตุหรือผลลัพธ์ก็ล้วนมาจากคนทั้งสิ้น วิธีแก้ไขก็ยังขึ้นอยู่กับตัวแปรมากมายและเวลาในการฟื้นฟู
แต่ฝุ่นทั้งขนาด PM 10 และ PM 2.5 จะเดินทางกันตามสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง และหนักมากขึ้นเมื่อสภาพอากาศความร้อนมีการผกผัน อธิบายง่ายๆ คือในฟดูหนาวที่อากาศเย็นพัดมาบวกกับความแห้ง ถูกลมร้อนดกดเอาไว้ทำให้ฝุ่นระบายออกไปไม่ได้ ถูกขังเอาไว้ในระดับ 10 กิโลเมตรจากพื้นดิน พอลมร้อนเริ่มพัดมาฝุ่นเหล่านี้ก็จะถูกพัดให้ลอยสูงขึ้นและหายไปนั่นเอง
จากความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุให้ทั่วโลกรณรงค์ให้รักษ์สิ่งแวดล้อมก็เพื่อการลดความเสี่ยงในการเกิดการล้างเผ่าพันธุ์เหมือนที่ไดโนเสาร์โนจะเกิดขึ้นกลับเรา เมื่อโลกปรับตัวเองไปอยู่ในจุดที่ไม่เอื้ออำนวยกับสิ่งมีชีวิตจะอยู่อาศัยได้อีกต่อไป หากบอกว่า เรากำลังพยายามจะยื้อเวลาให้สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้นานขึ้น ก็ไม่ใช่คำพูดที่ผิดเลย
อ้างอิง
chula.ac.th, catdumb.com, seub.or.th
บทความที่น่าสนใจ
Friday is Happy กับสถานที่พักผ่อนกับความสุขในบรรยากาศแสนสบาย
7 งานอดิเรกเพิ่มทักษะพร้อมความสุขในปีใหม่
"3 ไอเท็มเด็ด" ช่วยป้องกันฝุ่น PM2.5
ผลวิจัยเผย ปี 2050 กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำ?
เมื่อฉันต้องอยู่กับพวกเขา เหล่า PM 2.5 ในวันนี้ ควรทำอย่างไรดี?