รูปบทความ เมื่อ PM 2.5 กลับมาอีกครั้ง เราทำอะไรได้บ้าง

เมื่อ PM 2.5 กลับมาอีกครั้ง เราทำอะไรได้บ้าง

นับแต่พวกเราเริ่มมีวิวัฒนการกับสิ่งทุ่นแรงในรูปแบบต่างๆ พวกเราล้วนตื่นเต้นและรอคอยอะไรใหม่ๆ กันจนแทบไม่ไหวอยู่เสมอ ดูอย่างการคมนาคม ที่เมื่อก่อนเราต้องเดินเท้า ปรับเป็นรถลาก พัฒนาเป็นสร้างเรือ แล้วจบลงที่เครื่องยนต์ ทั้งเรือยนต์ รถยนต์และเครื่องบิน


มาวันนี้เราต้องรับผลของอะไรก็ตามที่เคยตื่นเต้นวันนั้นหลายอย่าง ไม่เว้นแม้แต่ผลที่มาในรูปของ PM 2.5 ซึ่งต้องบอกเลยว่าพวกเรา ประเทศไทยนับว่ารู้ช้าไปหน่อยว่ามันมีสิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยน


เราได้ความสบายหลายอย่าง แลกกับอายุขัยที่จะมีชีวิตอยู่


ฟังดูร้ายแรงและมันเป็นเช่นนั้น เพราะฝุ่น PM 2.5 นี้จากการคำนวณขององค์การอนามัยโลกมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศทั่วโลกประมาณ 4.2 ล้านคนต่อปี และจะป่วยเพิ่มขึ้นอีกหลายโรคเช่น มะเร็งปอดหรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด โรคเยื่อบุตาอักเสบ


หากพูดถึงเรื่องการป้องกันหรือวิธีการรับมือกับพวกฝุ่นละอองขนาดเล็ก หลายประเทศถึงกับออกกฎหมายควบคุมมลพิษขึ้น เพราะมันไม่ได้เกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว และยังกระทบกับคนทุกคน ส่งผลมากพอให้คนทั้งเมืองต้องตื่นตัว


อย่างเช่น อเมริกาที่ประกาศใช้กฎหมายอากาศสะอาดมาตั้งแต่ปี 1970 ทั้งยังไม่ได้เน้นการควบคุมเพียงอย่างเดียว ยังให้ทุนวิจัยเพื่อให้ทุกคนรับรู้ถึงผลกระทบของ PM 2.5 และตีพิมพ์ออกมาตั้งแต่ปี 1993 นอกจากนี้ยังมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบทำให้การปรับใช้มาตรการกันเข้มงวดมากขึ้น


กว่าจะรู้ ทุกอย่างก็มีคำอธิบายไว้พร้อมสรรพ แต่เราก็ยังไม่พร้อม


หลังจากที่มีฝุ่นจนมองได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน ทุกคนก็เริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น เริ่มมองหาสาเหตุที่มาของฝุ่นเหล่านี้ ว่าเกิดขึ้นจาก


การคมนาคมขนส่ง

เพราะไอเสียจากพาหนะที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ ทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอล์เป็นแหล่งกำเนิด โดยพบจากการประเมินว่า มีการปล่อย PM 2.5 โดยตรงราว 50,240 ตันต่อปี


การเผาในที่โล่ง

เป็นการเผาเพื่อการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือหนึ่งในหวงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมอาหารในโรงงานขยาดใหญ่ ซึ่งผลของมันคือ PM 2.5 มากถึง 209,937 ตันต่อปี


อุตสาหกรรมการผลิต

ระบบของอุตสาหกรรมการผลิตได้ปล่อย PM 2.5 ออกมาประมาณ 65,140 ตันต่อปี แต่ยังมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 212,000 ตันต่อปี และออกไซด์ของไนโตรเจน 222,000 ตันต่อปี ซึ่งสารทั้งสองนี้สามารถนำไปสู่การเกิดกระบวนการทางเคมีสร้าง PM 2.5 ขึ้นมาได้อีก


การผลิตไฟฟ้า

ปล่อยPM 2.5 ออกมาที่ 31,793 ตันต่อปี และยังมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 231,000 ตันต่อปี และออกไซด์ของไนโตรเจน 227,000 ตันต่อปี ซึ่งนับว่ามากที่สุด


แม้ว่าเราจะได้รู้ตัวเลขกันอย่างชัดเจน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้นเหตุการผลิตส่วนใหญ่เพื่อการตอบสนองการใช้ชีวิตของพวกเราทุกคน ดังนั้นการแก้ไขจึงต้องได้รับความร่วมมือกันทุกภาคส่วนเพื่อผลสำเร็จที่เรารอคอย มาดูสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อลด PM 2.5 กัน


ปรับเปลี่ยนการเดินทาง

เพราะควันจากยานพาหนะเป็นต้นเหตุที่มาแรงข้อหนึ่งเลยทีเดียว หากวันไหนไม่ได้เร่งรีบมากนักลองปรับจากการใช้รถส่วนเป็นขนส่งสาธารณะแทนบ้าง ก็เปลี่ยนบรรยากาศไปได้อีกแบบ


ลดการทำอาหารด้วยเตาถ่านหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน

อย่าคิดว่าเป็นครวันเพียงเล็กน้อยเชียวนะ เพราะประเทศจีนได้พิสูจน์กันแล้วว่าควันส่วนใหญ่ของพวกเขามาจากการหุงหาอาหารตามครัวเรือนนี้เอง ควันในที่นี้ยังรวมถึงการจุดธูปและบุหรี่อีกด้วย


ปลูกต้นไม้

นี่เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่คุณสามารถทำได้เองทันที และยังเป็นวิธีระยะยาวที่จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกมากมายหลายด้าน ลองแต่งพื้นที่ระเบียงของคุณด้วยต้นไม้เหล่านี้ได้เลย


ปัญหาที่เราทุกคนร่วมกันสร้างขึ้น เราต้องช่วยกันแก้ไขเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับคนที่เรารัก


ขอบคุณแหล่งข้อมูล : greenpeace.orgprachatai.com

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์