รูปบทความ ปรับและเปลี่ยน พลังงานที่ใช่ของโลกใบนี้ควรเป็นอย่างไร

ปรับและเปลี่ยน พลังงานที่ใช่ของโลกใบนี้ควรเป็นอย่างไร

หากเราจะกล่าวถึงการช่วยโลก วิธีที่ดีที่สุดย่อมไม่ใช่การลดขยะแต่เป็นการหมุนเวียนทรัพยากรทุกอย่างที่มีมาใช้ให้กลายเป็นขยะได้ช้าที่สุดหรือไม่ได้เป็นขยะอีกเลย เช่นเดียวกับพลังงานที่เราใช้กันหลังจากเผาผลาญกันเรียบร้อย ควันและมลพิษที่เกิดขึ้นก็คือขยะที่เราสร้าง


ใช่ว่าจะไม่มีตัวอย่างให้เรียนรู้ ใช่ว่าจะไม่มีแนวคิดให้เราปฏิบัติตาม


นั่นก็คือพลังงานทดแทน เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมหรือที่เราเรียกกันว่าพลังงานสะอาด คือวิธีหลักที่สามารถช่วยลดการสร้างเหล่าก๊าซที่เป็นภาระให้กับโลกได้ในระดับ 100% เป็นทางเลือกหลักที่หลายประเทศเริ่มตั้งเป้าหมายเปลี่ยนมาใช้กันแล้ว


กำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทยอยู่ในสัดส่วนเท่าใดบ้าง



ประเทศไทยยังมีกำลังหลักในการผลิตพลังงานไฟฟ้าหลักอยู่ที่ก๊าซธรรมชาติมากถึง ร้อยละ 61.20 รองลงมาคือถ่านหิน ร้อยละ 22.67 ซึ่งทั้งสองชนิดมีส่วนในการสร้างมลพิษให้กับเราอยู่ แต่ถึงอย่างนั้นเราก็มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเช่น พลังงานน้ำและอื่นๆ อยู่ที่ ร้อยละ 14.73 ที่เหลือเป็นพลังงานจากน้ำมันเตา ร้อยละ 0.47, น้ำมันดีเซล ร้อยละ 0.07 และนำเข้าจาก สปป.ลาว,มาเลเซีย,ลำตะคองชลภาวัฒนา อีก ร้อยละ 0.86 นี่เป้นตัวเลขที่ไม่รวมกับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก(VSPP) 


จากตัวเลขที่ได้เห็นสามารถกล่างได้ว่าเราได้เริ่มก้าวแรกสู่การเป็นประเทศใช้พลังงานสะอาดกันบ้างแล้ว แม้จะยังห่างไกลจากการใช้อย่างเต็มรูปแบบก็ตาม


ต้นแบบของโลกมีสัดส่วนเท่าใด

ลองมาดูการใช้งานของต้นแบบประเทศพลังงานสะอาดทางฝั่งยุโรปอย่างประเทศสวีเดนที่พลังงานทั้งประเทศนั้นมี 54% โดยแบ่งเป็นพลังงานน้ำและพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือชีวพลังงาน ที่ใช้เป็นแหล่งให้ความอบอุ่น ซึ่งเขามีการประกาศเป้าหมายเอาไว้ว่าจะทำให้ประเทศของตนใช้พลังงานสะอาด 100% ให้ได้ในปี 2030 หรือช้าสุดคือปี 2050


ขณะที่ฟินแลนด์เองก็ตั้งเป้าหมายเอาไว้เช่นกันว่าจะภายในปี 2030 เขาจะต้องใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้มากกว่า 50% ของทั้งประเทศซึ่งได้วาแผนเอาไว้อย่างเป็นระบบเรียบร้อยแล้ว


ลองมาดูสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของฟินแลนด์กันบ้าง ในปี 2017 ร้อยละ 34 ของพลงงานไฟฟ้ามาจากพลังงานนิวเคลียร์ รองลงมาคือพลังงานน้ำ ร้อยละ 24 อันดับ 3 พลังงานชีวมวลอยู่ที่ร้อยละ 17, ถ่านหิน ร้อยละ 13, พลังงานลม ร้อยละ 7, ก๊าซธรรมชาติอีกร้อยละ 5 

ก็ยังเป็นตัวเลขที่นับว่าเข้าใกล้การใช้พลังงานสะอาด 100% อย่างมากเลยทีเดียว สมกับการเป็นต้นแบบที่น่าติดตาม


รูปแบบพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด

การสร้างพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดขึ้นมาใช้เป็นของตัวเองในแต่ละประเทศ เรายังต้องดูทรัพยากรที่มีอยู่ในมือว่า แต่ละประเทศมีความเหมาะสมจะใช้พลังงานแบบไหนเป็นพลังงานหลักในการสร้างพลังงานออกมา อย่างในประเทศสวีเดนมีความโดดเด่นด้านพลังงานจากแหล่งน้ำ ดังนั้นสัดส่วนใหญ่ของเขาจึงมาจากที่นั้น แล้วพลังงานทดแทนจะสามารถนำมาจากไหนได้บ้าง มาดูกัน


พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์จากห้วงอวกาศ (Space-Based Solar Power)

พลังงานแสงอาทิตย์กว่า 55-60% ไม่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามาถึงเราได้ ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิจัยเพื่อดึงแหล่งพลังงานนี้มาใช้ โดยจีนก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ลงทุนเริ่มต้นที่ 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ บนพื้นที่กว่า 33 เอเคอร์ในเมืองฉงชิ่งเพื่อทดสอบหาวิธีที่ดีที่สุดในการส่งพลังงานจากวงโควรในห้วงอวกาศรอบโลกมายังพื้นโลก


พลังงานจากร่างกายมนุษย์ (Human Power)

แค่ขยับเราก็สามารถสร้างพลังงานได้เช่นกัน เพราะปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องการไฟฟ้าน้อยลงมากแล้ว หากเรามีระบบที่สามารถรวบรวมและแปลงพลังงานได้ก็สามารถใช้การขยับตัวของเราสร้างพลังงานได้เช่นกัน


พลังงานคลื่น (Wave Power)

คลื่นเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงมีการศึกษาและพบว่าชายฝั่งทะเลของอเมริกามีศักยภาพพลังงานคลื่นประมาณ 252 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ปัจจุบันจึงมี 5 ประเทศทั่วโลกที่พยายามสร้างฟาร์มผลิตไฟฟ้าจากคลื่น โปรตุเกสคือหนึ่งในประเทศที่ทำสำเร็จในปี 2008 และกำลังผลิตติดตั้งรวม 2.25 เมกะวัตต์


พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Power)

ไฮโดรเจนเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีอยู่ในจักรวาลมากถึง 74% ด้วยตัวเลขที่สูงขนาดนี้บวกกับการเป็นก๊าซที่ให้พลังงานสูง ทำให้มีการพยายามที่จะพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงที่แปลงไฮโดรเจนให้กลายเป็นไฟฟ้า ปัจจุบันบริษัทรถยนต์อย่าง ฮอนด้า โตโยต้า และฮุนไดกำลังลงทุนวิจัยเพื่อพัฒนามันอยู่ตอนนี้


พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Magma Power)

พลังงานความร้อนที่อยู่ลึกลงไปใต้พิภพนี้สามารถผลิตไอน้ำเพื่อใช้หมุนกังหันและผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยที่ไอซ์แลนด์ ฟิลิปปินส์และเอลซัลวาดอร์ได้นำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติกันแล้ว


พลังงานจากกากนิวเคลียร์ (Nuclear Waste Power)

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกแห่งจะมีกากของเสียจากกัมมันตรังสีอยู่เยอะมาก แม้ว่าในอนาคตจะมีการแก้ปัญหานี้เพื่อให้เหลือของเสียน้อยลงให้ได้ แต่สิ่งที่มีอยู่ตอนนี้เราก็สามารถนำใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เช่นกัน บริษัท ฮิตาชิ ได้ออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เร็ว Gen-IV หรือ PRISM ที่สามารถเปลี่ยนกากนิวเคลียร์กลายเป็นพลังงานได้ และยังช่วยให้กัมมันตภาพรังสีที่ต้องใช้เวลาย่อยสลายเป็นพันปี เหลือเพียง 30 ปีได้อีกด้วย


พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งได้ในทุกพื้นผิว (Embeddable Solar Power)

เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่ฝังหรือเคลือบเซลล์แสงอาทิตย์เอาไว้บนพื้นผิวอย่างเช่นกระจกอาคาร เคลือบบนหน้าต่าง หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อรับแสงอาทิตย์และแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้


พลังงานชีวภาพจากสาหร่าย (Algae Power)

สาหร่ายกลายเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่สามารถปลูกและสร้างขึ้นได้เพราะตัวของมันอุดมไปด้วยน้ำมันที่สามารถดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้โดยตรง โดยสาหร่าย 1 เอเคอร์สามารถให้ผลผลิตได้มากถึง 9,000 แกลลอนเลยทีเดียว


กังหันลมแบบลอยบนอากาศ (Flying Wind Power)

แนวคิดนี้ได้มาจากการติดตั้กังหันลมบนตึกระฟ้า หรืออยู่สูงเหนือระดับพื้นดินที่ 1,000-2,000 ฟุต เพื่อให้สามารถรับลมได้แรงกว่าเดิม ซึ่งกังหันเหล่านี้จะได้พลังงานมากเป็น 2 เท่า หากเทียบกับการติดตั้งแบบทาวเวอร์ ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนากังหันลมแบบลอยในอากาศเชิงพาณฺชย์เครื่องแรกแล้ว เรียกกันว่า Buoyant Air Turbine หรือ BAT เป็นเซลล์พองลมแบบกลมทีำจากผ้า มีขนาด 35 ฟุต ให้กำลังการผลิตอยู่ที่ 35 กิโลวัตต์


พลังงานฟิวชั่น (Fusion Power)

ฟิวชั่น เป็นกระบวนการเดียวกับที่ดวงอาทิตย์สามารถสร้างแสงสว่างและพลังงานมากมายออกมาได้อย่างยาวนาน ไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีการปล่อยของเสียออกมา ในปัจจุบัน ITER เครื่องปฏิกรณ์ทดลองความร้อนระหว่างประเทศขึ้นที่ฝรั่งเศส โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2027 มารอดูกันว่าจะเป็นอย่างไร


หลังจากที่มีการตื่นตัวเรื่องโลกร้อนหรือ Climate Change กันอย่างมากมายทั่วโลก หลายประเทศก็ได้เริ่มการเดินหน้าสร้างมาตรการเพื่อสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจง เช่นเดียวกับการสร้างแหล่งพลังงานจากพลังงานทดแทนที่สะอดาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อนาคตข้างหน้าเราอาจจะได้เห็นโลกทั้งใบให้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกนี้ให้น่าอยู่ขึ้นได้


อ้างอิง

thestandard.coryt9.comgreennetworkthailand.comegat.co.th


บทความที่น่าสนใจ

รักษ์ตัวเอง รักษ์สิ่งแวดล้อม กับคอนโดรักษ์ต้นไม้กลางกรุง

รวม 5 สถานที่จากแบรนด์รักษ์โลก ที่สามารถหาซื้อเฟอร์นิเจอร์รักษ์โลกได้

รักษ์โลกรอบตัวกับเฟอร์และของตกแต่งที่ออกแบบมาจากธรรมชาติ

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการปิดไฟ 1 ชั่วโมง ...ช่วยโลกได้อย่างไรบ้าง ?

จากแนวคิด Zero waste สู่ เฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก ช่วยลดปัญหาขยะและมลพิษ


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์