รูปบทความ จัดห้องนอนสำหรับคนเป็นภูมิแพ้ให้ไม่แพ้อีกต่อไป!

จัดห้องนอนสำหรับคนเป็นภูมิแพ้ให้ไม่แพ้อีกต่อไป!

    ’ภูมิแพ้’ไม่ใช่โรคที่ควรมองข้ามเพราะปัจจุบันมีคนที่เป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น สำรวจง่ายๆ จากการสอบถามคนรอบข้าง จะพบว่า 1 ใน 10 มีอาการภูมิแพ้ บางคนแพ้ฝุ่น บางคนแพ้อากาศ แพ้อาหาร หอบหืด ซึ่งมีอาการตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงต้องรับประทานยาอยู่จนเป็นประจำ

    ข้อมูลสถิติของการเกิดโรคภูมิแพ้อากาศและหอบหืดในประเทศไทย ย้อนหลังไปในระยะ 15 ปี เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ว่ามีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยมีผู้ที่ป่วยเป็นภูมิแพ้อากาศจากเดิมร้อยละ 13 เพิ่มเป็นร้อยละ 49 ซึ่งโดยมากจะพบในเด็กเล็กจนกระทั่งถึงวัยมัธยม สำหรับหอบหืดที่พบในเด็กเล็กเป็นส่วนมากนั้น ข้อมูลระบุว่าเพิ่มจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 13 โดยบางคนจะหายไปในช่วงวัยทำงานซึ่งภูมิคุ้มกันแข็งแรง แม้กระนั้นก็ตามอาการภูมิแพ้ก็อาจกลับมาได้ทุกเมื่อหากมีสิ่งที่เป็นปัจจัยมากระตุ้น

ห้องนอนเป็นห้องที่สำคัญกับชาวคอนโดอย่างเรามากที่สุดเรียกได้ว่าเป็นห้องที่สะสมเชื้อโรคและสารก่อภูมิแพ้ไว้มากมายทีเดียว อย่าปล่อยให้ภูมิแพ้เกาะกินจนทำให้คุณเป็นโรคนี้ค่ะ เรามาตั้งมือพร้อมรับหรือป้องกันโรคภูมิแพ้ในห้องนอนของชาวคอนโดกันก่อนดีกว่าค่ะ ไปดูวิธีการจัดห้องนอนสำหรับคนเป็นภูมิแพ้หรือคนที่ยังไม่เป็นก็สามารถดูเพื่อป้องกันก่อนได้ค่ะ

6 ข้อห้องนอนปลอดภูมิแพ้

1. ห้องนอนต้องให้มีของให้น้อยชิ้นที่สุด

2. คนที่ชอบตกแต่งห้องนอน แต่จำใจจะต้องทำให้ห้องโล่งนั้น อาจจะลำบากใจพอสมควร แต่ก็ต้องคิดไว้เสมอว่าการลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในห้องนอนช่วยให้อาการของโรคภูมิแพ้ดีขึ้นมาก

3. ในต่างประเทศบางแห่ง มีการรณรงค์ให้จัดห้องนอนให้เป็น ‘chemical free oasis’ ซึ่งถือเป็นห้องนอนในอุดมคติเลยทีเดียว

4. เก็บเฟอร์นิเจอร์บางอย่างหรือชั้นหนังสือไว้ในอีกห้อง ถ้าอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ หรือคอนโดมิเนียม การจัดวางตำแหน่งเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ การเก็บของลงกล่องหรือตู้ที่มิดชิด ถือเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ

5. ห้ามสูบบุหรี่ในห้องนอน

6. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาหรือน้ำหอมปรับอากาศ


       พื้นห้อง

1. พื้นห้องนอนควรเป็นพื้นไม้ ปูกระเบื้อง กระเบื้องยาง

2. รื้อพรมออกจากห้องนอนให้หมด

3. ห้องนอนไม่ควรปูพรม การปูพรมในห้องนอนนับเป็นสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะพรมจะกลายเป็นแหล่งของไรฝุ่นที่เป็นตัวก่อภูมิแพ้และดูแลทำความสะอาดได้ยากกว่าพื้นไม้หรือกระเบื้อง

4. หากไม่สามารถรื้อพรมออกจากห้องนอนได้ ให้ทำความสะอาดด้วยน้ำยาชนิดแห้ง ไม่ควรใช้วิธีซักล้าง เนื่องจากความชื้นจะช่วยให้ตัวไรฝุ่นเจริญได้ดี

5. หลีกเลี่ยงใช้งานเครื่องนอน พรม และเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากเส้นใยซึ่งมีอายุการใช้งานหลายปี เพื่อลดความเสี่ยงที่ต้องสัมผัสกับไรฝุ่นจำนวนมาก


ผนังห้อง

1. การเลือกใช้วอลล์เปเปอร์ที่มีลวดลายติดผนังสร้างสีสันให้ภายในห้องนอนแทน ซึ่งควรจะเลือกกระดาษมันที่ง่ายต่อการทำความสะอาดและหากเกิดเก่าชำรุดก็ต้องเปลี่ยนไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นแหล่งสะสมฝุ่น

2. เลือกใช้ข้าวของเครื่องใช้ที่มีเส้นใยสานกันแน่น พลาสติก หรือเส้นใยไวนิล และไนลอน หรือเคลือบด้วยสารป้องกันไรฝุ่น เพื่อป้องกันไม่ให้ไรฝุ่นเข้ามายุ่มย่ามกับเครื่องนอนภายในบ้าน

3. ควบคุมความชื้นภายในห้องให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ 50 ช่วยป้องกันการเจริญของตัวไรฝุ่น


ผ้าม่าน

1. ผ้าม่านควรเลือกแบบที่ถอดซักได้บ่อยๆ

2. ถ้าจำเป็นจะต้องใช้ผ้าม่านควรจะซักทุก 6 สัปดาห์

3. การดูดฝุ่นทำความสะอาด ก็เป็นอีกวิธีที่สามารถไล่ไรฝุ่นได้ในระดับหนึ่ง

4. เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องตกแต่งที่ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตราย ไม่ว่าจะเป็นผ้าม่าน สีทาผนัง ตู้ โต๊ะ พรม ควรพิจารณาเลือกซื้อชนิดที่ระบุว่าไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในการผลิต ปัจจุบันผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว

5. ตัวไรฝุ่นเป็นสัตว์ที่มี 8 ขา ตระกูลเดียวกับแมงมุมและเห็บ ตัวไรฝุ่นมีขนาดเล็ก 0.3 มม. ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิมากกว่า 70 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 75-80 ซึ่งประเทศไทยก็มีปัญหานี้มาก ปริมาณไรฝุ่นในกรุงเทพมหานครโดยเฉลี่ยประมาณ 3,000 ตัวในฝุ่น 1 กรัม (1 กรัม ประมาณเท่ากับคลิปหนีบกระดาษ 1 ตัว)

6. ไรฝุ่น 1 ตัวมีชีวิตอยู่รอดได้ 30 วัน และจะปล่อยของเสียได้ 10-20 ส่วน ไรฝุ่นตัวเมียจะวางไข่ได้ครั้งละ 25-30 ฟอง ตัวไรฝุ่นดำรงชีพอยู่ได้ โดยกินสะเก็ดผิวหนัง และขี้รังแคของคนและสัตว์ และดูดน้ำจากอากาศได้ มันจะอาศัยอยู่ในพรม เตียงนอน เฟอร์นิเจอร์ที่มีขน ตู้เสื้อผ้า เบาะในรถยนต์ทุกแห่ง ที่มีสะเก็ดผิวหนังหล่นอยู่ ตัวไรฝุ่นไม่สามารถกัดคนได้ ไม่สามารถแพร่เชื้อโรคได้ ไม่สามารถอาศัยอยู่บนตัวคนได้ ตัวไรฝุ่นจะมีปัญหาเฉพาะกับที่คนแพ้มันเท่านั้น


เตียงนอน

1. เลือกใช้เตียงชนิดขาลอยไม่มีชั้น ช่วยให้ทำความสะอาดง่าย

2. จุดตั้งเตียงควรอยู่ในตำแหน่งที่แสงแดดส่องถึง เพื่อกันความชื้น

3. สำหรับห้องนอนเด็ก ควรหลีกเลี่ยงเตียงสองชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเด็กนอนเตียงชั้นล่างเป็นโรคภูมิแพ้


ที่นอน

1. ที่นอนควรจะเปลี่ยนเป็นที่นอนที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์เพราะสามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่าที่นอนนุ่น ถ้าจะหุ้มที่นอนด้วยพลาสติกได้ยิ่งดี

2. การซักเครื่องนอนเป็นประจำด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิอย่างน้อย 55 องศาเซลเซียส เพราะเป็นอุณหภูมิที่สามารถฆ่าไรฝุ่นและกำจัดสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นได้ดี โดยการตากแดดยังทำให้ไข่ไรฝุ่นที่ฝังตัวอยู่กับเครื่องนอนฝ่อได้ด้วย

3. ฝุ่นในบ้านประกอบด้วยสารหลายชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบ้าน ขึ้นอยู่กับชนิดของเฟอร์นิเจอร์ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างบ้าน สัตว์เลี้ยงในบ้าน ฝุ่นในบ้านอาจมีตั้งแต่ใยผ้า ขนสัตว์ และขี้รังแคของสัตว์ ตัวไรฝุ่น ซากของแมลงสาป เชื้อรา เศษอาหาร สะเก็ดผิวหนังของคน (ใน 1 สัปดาห์ คน 1 คน จะมีสะเก็ดผิวหนังร่วงลงสู่พื้นบ้านประมาณ 5 กรัม หรือเท่ากับยาน้ำเด็ก 1 ช้อนชา) และเศษวัสดุอื่นๆ อีก คนไข้โรคภูมิแพ้อาจจะมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในฝุ่น เมื่อหายใจเข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น


หมอน

1. ห้ามใช้หมอนที่ทำด้วยนุ่น ขนห่าน หรือขนเป็ดโดยเด็ดขาด

2. เลือกใช้น้ำยาที่ไม่มีส่วนประกอบที่เป็นสารปิโตรเคมี สารเพิ่มความขาว และสารที่มีกลิ่น

3. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม

4. สารสกัดจากพืชนำมาใช้กำจัดไรฝุ่นได้ และถือเป็นวิธีใหม่ที่น่าสนใจและปลอดภัยต่อผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อม โดยสารสกัดจากกานพลูและอบเชยสามารถฆ่าไรฝุ่นได้ดี โดยที่ความเข้มข้นของสารสกัด 1% สามารถฆ่าไรฝุ่นได้ 100% ทั้งวิธีการฉีดโดยตรงและการรม

5. หมอน ผ้าห่ม ควรทำด้วยใยสังเคราะห์เช่น ผ้าเดดร่อน ผ้าเรยอน ผ้าอะคริล่อนชึ่งซักล้างได้ ไม่ควรใช้นุ่น ฟองน้ำ ขนนก ผ้าขนสัตว์ ผ้าสำลี


ผ้าปูที่นอน-ปลอกหมอน-ผ้าห่ม

1. ปัจจุบันมีผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม และหมอนกันไรฝุ่นสำหรับคนแพ้อากาศ แต่ราคาอาจจะสูง แต่ถ้าจะให้ดีควรทำความสะอาดเครื่องนอนอาทิตย์ละครั้ง และต้องหมั่นเอามาตากแดด

2. หากเป็นคนขี้ร้อนก็ต้องเลือกผ้าปูที่นอนที่มีรูน้อยที่สุด

3. ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นในห้องตามพรม พื้น และผ้าม่านในห้อง และถ้าเป็นไปได้ให้เอาม่านและพรมออกจากห้องเสียให้หมด

4. การซักล้างเครื่องนอนช่วยกำจัดตัวไรฝุ่นได้ดี บางครั้งอาจใช้วิธีต้มเดือดช่วยทำลายตัวไรฝุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวไรฝุ่นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 56 องศาเซลเซียส

5. ในต่างประเทศอาจเลือกใช้ความเย็นเป็นวิธีทำลายตัวไรฝุ่น เช่น นำของเล่นที่ซักล้างลำบากใส่ในช่อแช่แข็ง 2-3 ชั่วโมง ตัวไรฝุ่นไม่สามารถมีชีวิตรอดได้เช่นกัน

6. หาวัสดุมาคลุมฟูกที่นอน หมอน ซึ่งวัสดุนี้ ตัวไรฝุ่น และของเสียของมันไม่สามารถผ่านได้ อาจใช้พลาสติกเย็บคลุมได้ วิธีนี้สามารถลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ได้ 100 เท่า


วิธีทำความสะอาดสำหรับคนเป็นภูมิแพ้

1. ปัดกวาดเช็ดถูห้องนอนให้เป็นกิจวัตร ไรฝุ่นจะได้ไม่สะสม

2. ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ทำความสะอาด ดีกว่าการใช้ไม้ปัดฝุ่น ซึ่งจะทำให้ละอองฝุ่นกระจายไปทั่วห้อง

3. หลังจากดูดฝุ่น หรือปัดฝุ่นภายในห้องนอนแล้ว ควรเปิดห้องทิ้งไว้ให้อากาศถ่ายเท

4. ไม่ควรทำความสะอาดห้องนอนทันทีก่อนเข้านอน

5. ซัก และเปลี่ยนผ้าปูที่นอน และเครื่องนอนเป็นประจำ ไม่ว่าจะผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้านวม ควรถอดซักได้ และควรเปลี่ยนอยู่เสมอ ซักทำความสะอาดด้วยอุณหภูมิที่ไม่ต่ำกว่า 50 องศาเซลเซียส เพราะอุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้จะไม่สามารถฆ่าตัวไรฝุ่นที่อาศัยอยู่ในเครื่องนอนได้

6. เวลาทำความสะอาดไม่ควรใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่น แนะนำให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดแทน

7. เครื่องดูดฝุ่นชนิด HEPA vacuum cleaner ช่วยกำจัดตัวไรฝุ่นได้ดี

8. องค์การอนามัยโลกได้กำหนดระดับสารก่อภูมิแพ้ไว้ที่ 2 ไมโครกรัม/ฝุ่น 1 กรัม หรือไรฝุ่น 100 -500 ตัว/ฝุ่น 1 กรัมเป็นระดับมาตรฐานที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการหืดหอบในผู้ป่วยภูมิแพ้ได้

เคล็ดลับสำหรับการจัดห้องของคนเป็นภูมิแพ้”ระบายอากาศ”

1. เปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ

2. ในกรณีห้องนอนที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ก็ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศในห้องได้ถ่ายเทบ้างเช่นกัน

3. ปล่อยให้แสงแดดส่องเข้ามาบ้างสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

4. หมั่นเปิดหน้าต่างรับลม รับแดดจ้าเพื่อฆ่า และลดจำนวนตัวไรฝุ่นในห้อง

5. ถ้ามีเครื่องฟอกอากาศ หรือใช้แผ่นดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศชนิดที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศ ต้องไม่ลืมคอยเปลี่ยนแผ่นกรองประจำตามสภาพการใช้งาน เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการกรองอากาศให้ดีอยู่เสมอ

6. เครื่องกรองอากาศสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหอบมีแพ้ละอองเกสรของหญ้าหรือต้นไม้อื่นๆ มีอาการน้อยลงได้


ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ

ขอบคุณรูปจาก Pinterest

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์