รับมือภาษีที่ดินอย่างไรให้คุ้มค่า กม.สรรพากรเขายกเว้นให้!!
1 June 2560
ภาษีเป็นสิ่งทุกคนจะต้องพบเจอ ตั้งแต่การจับจ่ายซื้องของที่ตลาด ชอปปิ้งตามห้างสรรพสินค้า แม้แต่บ้านพักที่เราอาศัยอยู่ ก็ต้องเสียภาษีเช่นกัน ขึ้นอยู่ว่าเราจะมีวิธีการรับมือกับค่าภาษีเหล่านี้อย่างไร
อย่าง "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" อาจดูเป็นเรื่องใหญ่ ไกลตัว แต่ความจริงแล้ว คงไม่มีใครสามารถเถียงได้ว่า "ที่อยู่อาศัย" เป็น 1 ในปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดย นายอิสระ บุญยัง กรรมการบริหารสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวบนเวทีเสวนา "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์" ถึงการรับมือและการตั้งเพดานจัดเก็บภาษี รวมถึงการต่อต้านภาษี ซึ่งปัจจุบันรัฐบาล คสช. ก็ยอมรับฟังความคิดเห็นบางประการแล้ว มีจุดสังเกตดังนี้
1. เพดานจัดเก็บภาษีรอบนี้สูงกว่าร่าง พ.ร.บ.ในอดีต
2.ที่ดินเกษตรกรรม
หากเป็นที่ดินให้เช่าเพื่อการเกษตร อาจแยกเป็นเพื่อพาณิชยกรรมหรือเกษตรกรรม ซึ่งถ้ามูลค่าทรัพย์สิน 50 ล้านบาทแรกของประเภทเกษตรกรรมจะไม่ต้องเสียภาษีใดๆ แต่ถ้าเป็นที่ดินเกษตรกรรมประเภทพาณิชยกรรมจะต้องเสียภาษี 0.3%
นอกจากนี้ ตึกแถวให้เช่าหรือทำค้าขายเอง แม้แต่อาคารโรงงานก็ต้องเสียภาษีโรงเรือนฯ ในขณะที่รัฐบาลก็ควรมีความชัดเจนเรื่องภาษีที่ดินฯ ที่จะมาทดแทนและทำการเปลี่ยนแปลงอัตราจัดเก็บด้วยเช่นกัน
3.ประเภทที่อยู่อาศัย
ระหว่างที่อยู่อาศัยเพื่อการอาศัยเอง กับ เพื่อการพาณิชยกรรม ก็จะจัดเก็บภาษีแตกต่างกันคือ ที่อยู่อาศัยจะเสียภาษีเริ่มต้น 0.3% แต่ถ้าเป็นเพื่อพาณิชยกรรม หรือให้เช่าจะมีอัตราภาษีสูงกว่า 3 เท่า อยู่ที่ 0.9%
*ยกเว้นบ้านหลังแรกที่ยังจะไม่ต้องเสียภาษี*
4.มีที่ดินแลนด์แบงก์ในมือดีเวลอปเปอร์
ในส่วนนี้ทางรัฐบาลจะค่อนข้างเอื้ออำนวยอยู่แล้ว ภายใต้กฎหมายสรรพากร ตั้งนิติบุคคล เป็นบริษัทที่จัดตั้งระหว่างสิงหาคม 2559-ธันวาคม 2560 ซึ่งจะได้รับยกเว้นค่าโอนเหลือ 0.01%, ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% และภาษีรายได้
อีกฉบับเป็น มติคณะรัฐมนตรี กฎหมายสรรพากร มาตรา 49 ทวิ ซึ่งการขายทรัพย์สินแบบบุคคลธรรมดาเกิน 5 ปี จะไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งอยู่ระหว่าง 2.5-5% และจะเปลี่ยนจากที่เคยคำนวณจากราคาประเมินในปัจจุบัน มาเป็นคำนวณจากราคาซื้อขายจริง
ส่วนเรื่องที่ 2 หากทำการซื้อขายขายหุ้น กฎหมายบอกว่า ทรัพย์สินที่โอนเข้าบริษัทต้องตีเป็นมูลค่าหุ้น เช่น ทุนจดทะเบียนพันล้านบาทก็ให้ตีทรัพย์สินเป็นมูลค่าหุ้นพันล้านบาท ซึ่งปัจจุบันราคาประเมินจะต่ำกว่าตลาดสูง ถ้าใช้ราคาประเมินจดทะเบียนไป 400 ล้านบาท เวลาขายแจ้งว่าขายไร่ละ 5 ล้าน เท่ากับเสียภาษีแค่ 100 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ถ้าขายหุ้นต้องแจ้งเต็ม 400 ล้านบาท และเสียภาษีเต็มอัตราในมูลค่า 400 ล้านบาท
โดยกฎหมายไทยใช้คำว่า "ตามควรแก่สภาพ" ฉะนั้นมีการควรระบุให้ชัดเจนว่า บ้านให้เช่า จะเสียภาษีแบบเพื่อการอยู่อาศัยหรือเพื่อพาณิชยกรรม ส่วนที่ดินเปล่าสำหรับเช่าทำการเกษตร ก็ต้องดูว่าต้องเสียภาษีเกษตรกรรมหรือภาษีพาณิชยกรรมกันแน่
อ้างอิง