ตอบตัวเองให้ได้ เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ
11 June 2560
อย่าใช้ชีวิตจนเพลิน เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม เพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุขหลังการทำงาน
ใครหลายคนที่ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงของวัยทำงาน กำลังสนุกกับชีวิตประจำวัน ได้เจอะเจอพบปะผู้คนมากมาย ได้หาประสบการณ์ เส้นทางใหม่ๆในชีวิต จนอาจจะหลงลืมไปว่า ในวันหนึ่งเราต้องแก่ตัวลง และอาจจะไม่มีรายได้ที่เป็นactive incomeเข้ามา ดังนั้นในระหว่างที่เรากำลังทำงานหาเงินหารายได้ในระหว่างวัยทำงานนี้ เราจึงควรที่จะวางแผนทั้งในเรื่องการเงิน สุขภาพ และการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆเอาไว้เสียแต่เนิ่นๆด้วย เพราะถ้าบางคนมัวแต่สนุกกับการใช้ชีวิตแบบวันต่อวัน จนลืมที่จะเตรียมพร้อมลุยกับอนาคตที่จะมาถึงแล้วล่ะก็ จะมาเร่งรีบสร้างตัวสร้างฐานะให้มั่นคงก็ท่าจะยาก
เก็บหอมรอมริบในวันนี้ เพื่ออนาคตที่ดี มีความสุขในวัยเกษียณ

พูดเปรยกันมาพอสมควรแล้ว เรามาเข้าสู่เรื่องที่เราจะคุยกันในบทความนี้กันดีกว่า กับการเตรียมตัวเพื่อก้าวเข้าสู่วันเกษียณอย่างมีความพร้อม และมีความสุข เพราะเชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยฝันไว้ว่าอยากจะใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และไม่เดือดร้อนในวัยชรา ไม่ค้องเป็นภาระให้กับใครอย่างแน่นอน
เตรียมความพร้อมให้ตนเองหลังวัยทำงาน
1.ประมาณรายได้หลังจากเกษียณ
สำหรับในข้อแรกนี้ ดูจะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยเกษียณ เพราะว่าการใช้ชีวิตของคนเราทุกวันนี้ เงิน เป็นหนึ่งปัจจัยหลักที่ปฏิเสธไม่ได้ แลเวเงินจะมาจากไหนล่ะ ก็ต้องมาจากรายได้ ซึ่งถ้าเราเข้าวัยเกษียณ ไม่ได้ทำงานประจำแล้ว เราก็ควรที่จะมีรายได้สักทางใดทางหนึ่งเข้ามาบ้าง สำหรับคนที่มีอาชีพรับราชการอาจจะไม่ต้องกัลวลใจเรื่องนี้มากเท่าไหร่นัก เพราะมีเงินบำเน็จบำนาญ ให้พออยู่พอใช้กันได้ในวัยอายุ60แบบพอเพียงไม่หวือหวา เพราะรายได้ก็จะน้อยกว่าตอนยังรับราชการอยู่หน่อย
แต่คนที่ทำงานเอกชน พนักงานประจำหรือทำอาชีพอิสระนี่สิ จะวางแผนกันยังไง ถ้าหากไม่เตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นก็คงจะลำบาก บางคนถ้าหากรู้จักลงทุนบ้าง หรือมีเงินในกองทุนต่างๆ เล่นหุ้น หรือลงทุนอสังหาริมทรัพย์ มีธุรกิจเล็กๆเป็นของตัวเองที่ทำได้เรื่อยๆก็ดีไป ดังนั้นก่อนที่จะใกล้วัยเกษียณจนเกินไป เราควรจะประมาณรายได้ที่เรามีดูว่าจะมาจากทางไหนได้บ้าง ทั้งเงินที่ได้จากกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิต ดอกเบี้ยจากเงินออมกับธนาคาร หรือเราอาจจะมีรายได้จากลูกหลานบ้างหรือเปล่า ก็ต้องคำนวณกันดีๆว่ารายจ่ายในแต่ละเดือน ณ เวลานั้นเป็นเท่าไหร่ แล้วเราน่าจะมีรายได้เข้ามาพอดีกันหรือไม่
เตรียมความพร้อมให้ตนเองหลังวัยทำงาน
2.ดูแลสุขภาพ

เตรียมความพร้อมให้ตนเองหลังวัยทำงาน
3.คำนวณระยะเวลาหลังเกษียณ
หลังจากประมาณรายได้ และรักษาสุขภาพของตัวเองแล้ว เราต้องวางแผนการใช้ชีวิตของตัวเองด้วย จริงๆแล้วเรื่องนี้สำหรับบทงคนอาจจะไม่ค่อยกล้าคิด เพราะเป็นเรื่องคาบเกี่ยวกับความเป็นความตาย นั่นก็คือเรื่องของระยะเวลาหลังวันเกษียณ ว่าเราจะต้องมีเวลาในการใช้ชีวิตอยู่บนโลกที่สวยงามใบนี้ได้อีกนานเท่าไหร่ อายุเฉลี่ยของคนในปัจจุบันก็อยู่ที่ประมาณ 72-75 ปี เฉลี่ยก็คือประมาณ 1กว่าปีหลังจากเกษียณ นั่นก็แสดงว่าเราจะต้องเตรียมเงินและเตรียมความพร้อมที่จะอยู่ตามช่วงเวลาดังกล่าวได้โดยไม่เดือดร้อน หรือบางคนที่สุขภาพดีมากๆบวกกับปัจจุบันที่วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปมาก ก็ทำให้คนเราสามารถมีชีวิตได้ยาวนานขึ้น ดังนั้นเราก็ต้องคิดเผื่อถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
เตรียมความพร้อมให้ตนเองหลังวัยทำงาน
4.คิดถึงอัตราเงินเฟ้อด้วย
เงินเฟ้อ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในเฉพาะปัจจุบันเท่านั้น ที่กล้วว่าเงินจะเฟ้อ ฟองสบู่จะแตก แต่เงินเฟ้อในระยะยาว ในอนาคตข้างหน้าก็มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และการเตรียมความพร้อมทางการเงินหลังวัยเกษียณของเราเช่นกัน ซึ่งเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่เราควบคุมมันไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องคำนวณกันดีๆ หากเราคิดว่าเราต้องการใช้เงินเท่านี้ เราต้องเก็บเงินให้ได้จริงๆ ณ ช่วงเวลานั้นเท่าไหน ลองคิดดูเล่นๆว่า สมัยก่อนรุ่นพ่อรุ่นแม่เรา ทองบาทละ 4,000 จนถึง 8,000 บาท ซึ่งสามารถนำมาใช้จ่ายได้เป็นเดือนๆ มีค่ามากมาย แต่เดี๋ยวนี้สิ 2สลึงยังแทบจะซื้อไม่ได้ แถมยังกลายมาเป็นรายได้ขั้นต่ำไปแล้ว ดังนั้นในอนาคตยิ่งเงินเฟ้อมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เงินที่เราเตรียมไว้มีค่าน้อยลงเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายของคนเราหลังวัยเกษียณก็จะอยู่ที่ประมาน 70% ของรายได้ก่อนที่จะเกษียณนั่นเอง จึงต้องลองประมาณแล้วคำนวณบวกลบคูณหารกันกับอัตราเงินเฟ้อดู