รูปบทความ ทำความรู้จักวิกฤตฟองสบู่ พร้อมวิธีการรับมือ

ทำความรู้จักวิกฤตฟองสบู่ พร้อมวิธีการรับมือ

โลกของเราได้เผชิญกับเหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ มาหลายครั้งในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา วิกฤตเศรษฐกิจแต่ละครั้งได้ส่งผลเป็นวงกว้างทั้งในระดับประเทศ ระดับทวีป และทั่วโลก “วิกฤตฟองสบู่” เป็นอีกวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ซึ่งถ้าใครยังไม่รู้จักกับความเลวร้ายของวิกฤตินี้ ลองมาทำความรู้จัก และเรียนรู้วิธีในการรับมือไปพร้อมๆ กันได้ในบทความนี้เลย


ฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ คืออะไร ?

ธรรมชาติของฟองสบู่เป็นของเหลวที่ไม่สามารถลอยขึ้นไปบนอากาศได้ แต่เมื่อมีอากาศอาศัยอยู่มากก็ดันให้ฟองนั้นลอยตัวสูงขึ้น จนกระทั่งสูงถึงระดับหนึ่ง ฟองสบู่ก็จะแตกและสิ่งที่หลงเหลือก็คือความว่างเปล่า ความสูงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสภาวะลวงตาไม่ใช่ความเป็นจริง เช่นเดียวกับฟองสบู่ในทางเศรษฐกิจ ฟองสบู่ทางเศรษฐกิจก็คือ


อุปทานหรือความต้องการที่ถูกเสริมเติมแต่งขึ้นให้มากกว่าพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของตลาด เมื่อเกิดอุปทานมาก อุปสงค์จึงมากตาม แต่เมื่ออุปสงค์มากจนล้น สุดท้ายอุปทานก็สลายตัวลง เห็นได้ชัดโดยเฉพาะกับเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นวิกฤตฟองสบู่แตกที่เกิดขึ้น จนมีผลกระทับในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย


วิกฤตต้มยำกุ้งกับความพังของธุรกิจอสังหาฯ

เหตุการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้น “ฟองสบู่” คือทรัพย์สินที่ถูกปั่นให้มูลค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริงมากจนถึงจุดแตกสลาย ในช่วงนั้นสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดมิเนียม ที่ดินในย่านธุรกิจสำคัญๆ หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถูกปั่นให้มีราคาสูงมาก เริ่มส่อเค้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ดัชนีหุ้นไทยในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2537 พุ่งขึ้นสูงถึง 1,753 จุด ผู้คนต่างกระโจนลงไปในตลาดหุ้น และกว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์


คนส่วนใหญ่กู้ธนาคารเพื่อลงทุนในอสังหาราคาแพงกว่าความเป็นจริงเพื่อเก็งกำไร อสังหาจึงราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ เกิดเหตุการณ์จองซื้ออสังหาทั้งบ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์แม้ในกระดาษ เปิดจองโครงการที่ภายใน 1 ชั่วโมงก็มีคนจองจนหมด ทั้งที่ยังไม่มีการเริ่มก่อสร้างจริง ผลที่ตามมาก็คือ ราคาของหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ลอยตัวสูงขึ้นจนถึงขีดสุดซึ่งแตกต่างจากความต้องการจริง


เพราะในความต้องการจริง ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่และเป็นเจ้าของจริงมีเพียงน้อยนิด เมื่อเทียบกับความต้องการที่ถูกสร้างขึ้นจากการหวังเก็งกำไรในตลาด ผลก็คือ ความล้มเหลวในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินมากมาย การพิจารณาที่หละหลวมในการปล่อยเงินกู้ซื้ออสังหา เมื่อคนไม่มีเงินมาชำระหนี้ได้ก็เกิดหนี้เสีย หรือหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ขึ้นจำนวนมหาศาล


สถาบันการเงินล้มจนถึงขั้นประกาศปิดไฟแนนซ์กว่า 58 แห่ง ธนาคารพาณิชย์ต้องพังไปถึง 6 แห่ง บ้างเลิกกิจการ บ้างต้องควบรวมกิจการเพราะขาดสภาพคล่องและเผชิญหนี้เสียจนรับมือไม่ไหว ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ดัชนีหุ้นไทยตกลงมาต่ำสุดถึง 207.31 ซึ่งนับเป็นวิกฤตรุนแรงที่สุดและเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากที่สุดวิกฤตหนึ่งที่เคยมีมา


ควรระวังและรับมืออย่างไรหากเกิด วิกฤตฟองสบู่

ในช่วงที่ผ่านมามีสัญญาณเตือนว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตกขึ้นได้ในไม่นานนี้ โดยเฉพาะในวงการอสังหาฯ เริ่มตั้งแต่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมามีการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยมากถึง 339 โครงการ หรือเป็นจำนวนมากถึง 99,938 หน่วย มีมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงหน่วยละ 4.3 ล้านบาท นับว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมาจากเดิมเฉลี่ยเพียงปีละ 4 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งก็เปรียบเทียบได้กับการเกิดฟองสบู่ที่กำลังเริ่มลอยตัวสูงขึ้น


เมื่อเกิดฟองสบู่ขึ้น ระยะเวลาการเพาะตัวของฟองสบู่จนถึงจุดวิกฤตฟองสบู่แตกมักจะเกิดขึ้นภายใน 2-3 ปี เพราะจะเกิดการล้นของสินค้าในหมวดอสังหาฯ มากจนเกินไป รวมถึงปัจจัยนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะนักลงทุนชาวจีน ที่เข้ามากว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ ประเภทคอนโดฯ ในไทยมากเป็นประวัติการณ์ และหากเกิดสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา นักลงทุนจีนอาจถอนตัวกลับประเทศ รวมถึงนักลงทุนภายในประเทศซึ่งมีประมาณ 15 % ก็จะลดลงเช่นกัน ซึ่งนั้นย่อมส่งผลร้ายแรงถึงขั้นวิกฤตฟองสบู่แตกเลยทีเดียว


การเตรียมพร้อม และวิธีรับมือกับวิกฤตฟองสบู่แตก

  1. เลือกลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำหรือไม่มีความเสี่ยง เช่น พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
  2. หารายได้สำรองไว้มากกว่า 1 ช่องทาง เพราะช่วงฟองสบู่แตกอาจจะมีทั้งการเลิกจ้างงาน การยกเลิกการสั่งซื้อ การหยุดการผลิต หยุดซื้อขาย ชั่วขณะ เช่น ธุรกิจเสริมทางอินเตอร์เนต ลงทุนซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่า เพราะถึงแม้เศรษฐกิจจะไม่ดีอย่างไร คนก็ยังต้องการที่อยู่อาศัยอยู่ดี
  3. ตั้งสติและเคลื่อนไหวอย่างรอบคอบ เมื่อลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจต่างๆ อย่ารีบตัดสินใจขายทิ้งในทันที โดยเฉพาะธุรกิจที่อาจเห็นผลในระยะยาว เพราะแม้จะเป็นวิกฤต แต่ก็เป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ไม่นาน หากตั้งสติและคิดวิเคราะห์ให้ดี ในอนาคตก็ย่อมเห็นผลกำไรได้อย่างแน่นอน
  4. ลดภาระหนี้ เช่น ผ่อนสินเชื่อในอัตราที่หนักเกินกว่ารายได้หรือเงินสำรองที่มี ควรมองหาช่องทางปลดหนี้ด้วยการปรับเปลี่ยนให้หนี้ลดลง เปลี่ยนที่อยู่อาศัยจากบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ เป็นคอนโดมิเนียมในทำเลที่เหมาะต่อการสัญจร เพราะคอนโดมิเนียมมีแนวโน้มจะขายได้ง่าย และเป็นการลงทุนที่คล่องตัวกว่าบ้านจัดสรร
  5. กระจายความเสี่ยงของสินทรัพย์ ไม่เก็บเงินไว้ที่เดียว เช่น นำเงินไปกระจายการลงทุน อาจจะลงในรูปแบบของอสังหาริมทรัพย์ ซื้อคอนโดมิเนียมเก็บไว้ปล่อยเช่าหลายๆ แห่งตามหัวเมือง และแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญต่างๆ เพราะในอดีต หลังจากช่วงซบเซาของฟองสบู่แตก ในระยะฟื้นตัวคอนโดมีเนียมจะกลับมาเป็นที่ต้องการสูง คนที่ครอบครองไว้แต่แรกจะโกยทำไรทั้งในการขายออก และปล่อยให้เช่าจำนวนมาก นับว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง และบริหารสินทรัพย์ที่ดีอีกช่องทางหนึ่ง
  6. รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงิน เพราะเมื่อเกิดวิกฤต และต้องการเงินสำรองในช่วงเวลาที่ทุกคนก็ต้องการ ผู้ที่มีเครดิตที่ดีกว่า ก็ย่อมได้รับโอกาสง่ายกว่า


แม้ว่าเรื่องของวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือสภาวะฟองสบู่แตกทางเศรษฐกิจ จะดูเป็นเรื่องที่น่ากลัวก็ตาม แต่หากมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ และวางแผนในการลงทุนอย่างถูกต้อง เหมาะสม ก็ย่อมช่วยให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตอย่างปลอดภัยได้มากกว่า ฉะนั้นควรวางแผนให้ดีก่อนคิดลงทุน


บทความที่เกี่ยวข้อง


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์