แต่งครบแบบนี้ ขอห้องเปล่าดีกว่า กับการตกแต่งแบบ Fully-furnish ที่ตกรอบ
19 February 2560
Fully furnish เป็นรูปแบบการขายห้องแบบหนึ่ง โดยจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตมาให้ครบ แทบจะเรียกได้ว่าย้ายกระเป๋าเข้าอยู่ได้ทันที อีกทั้งเฟอร์นิเจอร์ที่ทางโครงการแถมให้ยังออกแบบให้ลงตัวกับห้องอีกด้วย ฟังดูแล้วดูดี แต่หลายครั้งเหมือนกันที่การคิดแทนของโครงการก็ตกรอบ ทำเฟอร์นิเจอร์ออกมาได้ผิดพลาดและไม่เหมาะกับการใช้งานเลย จะมีอะไรบ้าง ลองมาดูกันเลยดีกว่า
1.โต๊ะ built - in
โต๊ะ Built - in เป็นโต๊ะที่ทำการติดตั้งโดยด้านหนึ่งยึดติดกับกำแพง เฟอร์นิเจอร์พวกนี้จะเคลื่อนย้ายไม่ได้ ดังนั้นมันควรจะแก้ข้อเสียเหล่านี้โดยการติดให้ถูกที่ และต้องสามารถพับได้ แต่บางโครงการ built - in โต๊ะเหล่านี้มาให้โดยที่ไม่สามารถพับได้ กลายเป็นว่าโต๊ะพวกนี้ไม่ต่างอะไรกับโต๊ะแบบลอยตัวธรรมดาที่พ่วงข้อเสียของการเคลื่อนย้ายไม่ได้เข้าไปด้วย
- โต๊ะทานอาหาร หากทำเป็นแบบ Built - in ก็ควรทำเป็นแบบที่สามารถพับเก็บได้ เนื่องจากทำให้ประหยัดเนื้อที่ แต่ถ้าหากพับเก็บไม่ได้ก็ควรให้มาแบบลอยตัว
- โต๊ะเครื่องแป้ง ส่วนใหญ่โครงการจะ built - in มาให้ เพราะเป็นโต๊ะที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนย้าย แต่หลายโครงการมักจะละเลยเรื่องของตำแหน่งการวาง โดยไปติดตั้งไว้ที่มุมมืด แทนที่จะไว้ข้างหน้าต่าง จะได้เห็นหน้าชัด ๆ แต่งหน้าแล้วไม่เป็นนางเอกงิ้ว
ภาพจาก http://erahomedesign.com/wp-content/uploads/2016/06/Fold-Down-Dining-Table-Wall-Mounted-Designs.jpg
2. โต๊ะอาหาร + ชั้นหนังสือ
ฟังดูน่าแปลกใจที่โต๊ะทานอาหารกับชั้นวางหนังสือถูกจัดมาอยู่ด้วยกัน จริง ๆ แล้วมันเป็นวิธีการที่ทำให้พื้นที่ถูกใช้สอยให้เป็นประโยชน์ที่สุด ซึ่งอาจจะเหมาะกับห้องที่อยู่กันเพียง 1 - 2 คน และมีขนาดที่ไม่กว้างนัก แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น หากคุณเป็นคนที่มีเพื่อนเยอะ การที่โต๊ะทานอาหารถูกออกแบบให้มีด้านหนึ่งเป็นชั้นวางหนังสืออาจจะทำให้เสียที่นั่งไปโดยใช่เหตุก็ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราสามารถเลือกโต๊ะอาหารแบบปกติ และทำที่วางหนังสือโดยใช้พื้นที่ฝนังได้ ไม่จำเป็นต้อง “built” มาด้วยกัน
ภาพจาก http://image.rakuten.co.jp/c-style/cabinet/01143320/ski-599-1.jpg
โต๊ะทานอาหารที่พ่วงชั้นวางของไปด้วย ดูดีที่เดียว แต่คุณต้องมั่นใจก่อนว่าจะไม่มีเพื่อมาร่วมโต๊ะอาหารโต๊ะนี้เกิน 5 คน นี่คือความ fail ขั้นร้ายแรงของการออกแบบพื้นที่เพื่อความบันเทิงในที่พักอาศัย ความผิดพลาดนี้มักจะเกิดจากการเล่นระดับของเฟอร์นิเจอร์ชั้นวางที่วี ทำให้เหลือพื้นที่ที่จะวางทีวีไม่มากพอที่จะวางทีวีขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันนิยมกันได้ แทนที่เจ้าของห้องจะสามารถวางทีวีไว้บทชั้นวางทีวีได้เลย กลับต้องใช้วิธีแขวนแทน ซึ่งบางครั้งหลายโครงการก็ใจดีทำตู้ติดผนังมาให้ แล้วติดในตำแหน่งที่ไปจำกัดขนาดของทีวีอีก ก่อนตรวจรับคอนโด หากเจอชั้นวางทีวีและชั้นวางของแขวนผนังที่ไปจำกัดพื้นที่ความบันเทิงของคุณ แนะนำว่าให้บอกกับทางโครงการให้เลื่อนความสูงของชั้นวางของแขวนฝนังขึ้นไป ให้สามารถแขวนที่วีขนาด 55 นิ้ว ขึ้นไปได้ด้วย ก็จะดีไม่น้อย ภาพจาก : http://obeche.co.uk/mediawall.html ข่าวดี คุณไม่สามารถวางทีวีที่ใหญ่กว่านี้ได้ จนกว่าคุณจะโละเฟอร์นิเจอร์ Built - in เหล่านี้ออกไป บริเวณครัวเป็นโซนที่เกิดควันได้ง่าย การติด Smoke detector หรือเครื่องตรวจจับควัน บริเวณครัว จึงไม่ได้ช่วยอะไรในเรื่องของความปลอดภัย แต่กลายเป็นว่าสร้างความสับสนวุ่นวายให้กับเพื่อนบ้านแทน เนื่องจากสัญญาณไฟจะดังได้ง่ายนั่นเอง จริง ๆ แล้ว บริเวณครัว ทางโครงการจะต้องติด Heat detector หรือตัวจับความร้อน ซึ่งจะทำงานเมื่อมีไฟ หรือความร้อนไปจ่อที่เครื่อง หากทางโครงการติดมาไม่ถูกต้อง ควรชี้แจงและให้ทางโครงการปรับปรุงแก้ไข เพื่อความสงบสุขของทุกคนในโครงการ ภาพจาก : https://www.busch-jaeger.de/ ผนังด้านที่โดนแดดจะได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ และอมความร้อนเอาไว้ และในเครื่องปรับอากาศจะมีตัววัดอุณหภูมิอยู่ในตัวเครื่อง การติดเครื่องปรับอากาศบนผนังฝั่งร้อนจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ทำให้เปลืองค่าไฟโดยใช่เหตุ ภาพจาก: http://www.currencywarsbook.com/good-tricks-for-installing-the-air-conditioner-with-high-efficiency/ ติดแอร์แบบนี้เปลืองไฟแน่นอน เพราะแอร์จะถูกหลอกให้ทำงานตลอดเวลา แม้ว่าจะได้ครัวที่เป็นครัวปิด แต่บางครั้งแปลนคอนโดในส่วนของครัว ก็จัด pantry ที่ไม่ค่อย “make sense” มาให้ โดยการวางตู้เย็นไว้ใกล้ระเบียง ซึ่งระเบียงเป็นส่วนที่ค่อนข้างร้อน ส่งผลให้ตู้เย็นต้องทำงานหนัก กินไฟเกินความจำเป็น นอกจากนี้ pantry ที่ใช้ประกอบอาหาร ส่วนของเตากลับอยู่ในสุด ใกล้กับห้องน้ำ แทนที่จะอยู่บริเวณระเบียงซึ่งจะทำให้สะดวกในการระบายกลิ่นและควัน อาหารที่นำไปอุ่นในไมโครเวฟย่อมมีความร้อน โดยเฉพาะอาหารที่เป็นน้ำหากหกรดตัวก็อาจจะทำให้บาดเจ็บได้ง่าย สำหรับ pantry ครัวที่ทำช่องวางไมโครเวฟไว้สูง ๆ อาจจะทำให้เกิดอันตรายในขณะนำอาหารออก แล้วอาหารหกใส่ได้ เนื่องจากมองไม่เห็น ดังนั้นช่องวางไมโครเวฟที่ดีจึงควรอยู่ด้านล่าง ไม่ใช่ด้านบนที่มองไม่เห็น ไม่ใช่แค่ปลั๊กไฟระเบียง ปลัักไฟห้องน้ำและครัวก็เช่นกัน บริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่มีโอกาสที่น้ำจะกระเด็นสาดได้ง่าย จึงควรต้องมีฝาครอบให้เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน สำหรับฝาครอบควรเป็นฝาครอบที่ปิดจากด้านบนจะดีที่สุด เนื่องจากทำหน้าที่คล้ายหลังคา โดยเฉพาะปลั๊กบริเวณระเบียงที่น้ำจะสาดจากบ้านบน ฝาครอบแบบที่ปิดเปิดจากบ้านบนจึงปลอดภัยกว่า แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหน้าฝน หลังจากใช้เครื่องซักผ้าเสร็จแล้ว ควรถอดปลั๊กและปิดฝาครอบให้เรียบร้อยทุกครั้ง กันไฟรั่วบริเวณระเบียง คุณมีโอกาสที่จะได้เห็นเฟอร์นิเจอร์แถมจากทางโครงการที่คุณเห็นแล้วรู้สึกเสียดายเงิน และอยากจะคืนเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นแล้วเลือกเป็นส่วนลดแทน ซึ่งเหล่านี้คุณจะพบตอนที่ตรวจรับห้อง อย่าง ตู้เสื้อผ้าเอียง ตู้ซอฟต์โคลสแต่ตอนปิดไม่ใช่ หรือแม้กระทั่งเตียงที่ทางโครงการ Built-in มาให้ขวางประตูทำให้ปิดเปิดประตูได้ไม่สุด สำหรับข้อนี้คุณไม่มีโอกาสรู้ได้เลยจนกว่าจะได้ตรวจรับห้อง สิ่งที่่คุณต้องทำคือตรวจเฟอร์นิเจอร์อย่างละเอียด อย่าปล่อยไปเด็ดขาด3. ชั้นวางทีวีที่ไม่มีพื้นที่ให้วางทีวี
4. Smoke detector บริเวณครัว
5. ติดแอร์ บนผนังฝั่งร้อน
6. ที่วางตู้เย็นติดระเบียง ที่ทำอาหารติดห้องน้ำ
7. ช่องวางไมโครเวฟอยู่สูง
8. ปลั๊กไฟระเบียงไม่มีฝาครอบ
9. เฟอร์นิเจอร์ไม่ได้คุณภาพ
สุดท้ายถ้าหากคุณโชคดีโครงการยังสร้างไม่เสร็จหรือโครงการให้คุณมีโอกาสเลือกคุณอาจจะเลือกเป็นรับส่วนลดแทนเฟอร์นิเจอร์ก็ได้ เผลอ ๆ คุณอาจจะจัดเฟอร์นิเจอร์เองได้ถูกและดี มีความลงตัวกับการใช้ชีวิตได้มากกว่าที่ทางโครงการหามาให้เสียอีก