รูปบทความ ห้อง Home Theater กับ 5 วิธีป้องกันเสียงรบกวน

ห้อง Home Theater กับ 5 วิธีป้องกันเสียงรบกวน

ปัจจัยเรื่องเสียงเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้เรานั่งดูหนังนอนดูซีรี่ย์ได้อย่างเพลิดเพลิน ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก และเสียงจากภายในห้องเล็ดลอดออกไปด้านนอกเองก็สำคัญไม่แพ้กัน วันนี้ Estopolis จึงขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 5 วิธีป้องกันเสียงสำหรับห้อง Home Theater ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย


วัสดุประเภทซับเสียงและป้องกันเสียง


สิ่งแรกที่ใช้ตกแต่งภายในห้องก่อนเลยคือวัสดุกันเสียง เพื่อป้องกันเสียงจากภายนอกเข้ามารบกวน และไม่ให้เสียงจากด้านในออกไป เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่ภายในห้องสูงสุด ซึ่งประเภทของวัสดุป้องกันเสียงแบ่งได้ 2 ประเภทหลักด้วยกัน ประกอบด้วย


  • วัสดุดูดซับเสียง (Sound Absorbtion) : เป็นวัสดุที่ใช้สดปัญหาเสียงสะท้อนหรือเสียงก้องภายในตัวห้อง ซึ่งตัววัสดุเองสามารถใช้งานได้ทั้งบริเวณผนังกำแพง ฝ้าเพดาน และพื้นบางส่วน โดยลักษณะของวัสดุเองจะแผ่นบุที่หุ้มด้วยผ้าชนิดพิเศษเคลือบสารไม่ลามไฟ หรือหุ้มด้วยผ้าใยแก้วพิเศษ


  • วัสดุกันเสียง (Sound Isolation) : เป็นวัสดุในการกันเสียงจากภายในและภายนอกไม่ให้ทะลุผ่านถึงกันได้ โดยลักษณะของวัสดุเองจะเป็นแผ่นฉนวนใช้งานบริเวณผนังกำแพง เช่น ผนังอิฐ ผนังมวลเบา ฯลฯ ซึ่งจะติดตั้งบนผนังใส่ฉนวนกันเสียงและปิดด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ทับอีกชั้นหนึ่ง


เลือกใช้กระจกที่ได้ประสิทธิภาพเพื่อกันเสียงรบกวน


กระจกกันเสียงมีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า Acoustic Glass ซึ่งจะถูกผลิตขึ้นมาพิเศษแตกต่างจากกระจกทั่วไป โดยประเภทของกระจกกันเสียงสามารถแบ่งได้ 4 ประเภทหลักด้วยกัน


  • กระจกชั้นเดียว (Single Glazing) : เป็นกระจกที่ผลิตขึ้นเพื่อกันเสียงโดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะความหนามากเท่าไหร่ยิ่งป้องกันเสียงได้มากขึ้น


  • กระจกลามิเนต (Laminated Glass) : เป็นกระจกที่เน้นความปลอดภัยในการกระทบ และสามารถป้องกันเสียงได้เนื่องจากตัวกระจกซ้อนทับ 2 ชั้น ทำให้กันเสียงได้ดี


  • กระจกสองชั้น (Double Glazing) : เป็นกระจกที่ซ้อนทับกัน 2 ชั้นโดยจะมีกระจกขั้นตรงกลางระหว่างชั้น ซึ่งกระจกประเภทนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อป้องกันเสียงโดยเฉพาะ


  • กระจกสองชั้นแบบผสม (Double Glazing Mix & Match) : เป็นกระจกที่นำนวัตกรรมของกระจกลามิเนตเข้ามา โดยเป็นการผสมกันระหว่าง กระจกสองชั้น (Double Glazing) และ กระจกลามิเนต (Laminated Glass)


กันเสียงรบกวนด้วยการเปลี่ยนประตู-หน้าต่างให้แน่นหนา


ช่องว่างระหว่างขอบประตู-หน้าต่าง ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากเลือกใช้งานไม่ดีจะเกิดช่องว่างทำให้เสียงลอดออกไปทางด้านนอกได้ นอกจากนั้นอาจทำให้แสงส่องเข้ามาด้านใน ดังนั้นการเลือกประตู-หน้าต่างที่ดี ต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้ง 5


  • รูปแบบและรอยต่อของวงกบและหน้าบาน
  • ชนิดอุปกรณ์ HARDWARE ของประตู
  • วิธีการติดตั้งรอยต่อระหว่างวงกบกับผนัง
  • ขนาดของช่องประตู-หน้าต่าง
  • ชนิดของบานกระจกที่เลือกใช้


ผ้าม่าน 2 ชั้น ช่วยป้องกันเสียงสะท้อนได้


ผ้าม่านแบบทั่วไปสามารถกันเสียงได้ในระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบันมีการคิดนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า ‘ผ้าม่านกันเสียง Acoustic Curtains’ ซึ่งจะถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อกันเสียงโดยเฉพาะ โดยคุณลักษณะของผ้าม่านชนิดนี้สามารถกันเสียงและทำหน้าที่เป็นวัสดุซับเสียงได้ในตัว


เนื่องจากรูปแบบของการตัดเย็บและการเลือกใช้เนื้อผ้าแบบพิเศษ นอกจากกันเสียงได้แล้วยังกันไฟและกันน้ำได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังใช้คู่กับรางมอเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะทำให้สามารถป้องกันคลื่นความถี่ของเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เลือกติดวอลล์เปเปอร์ผนังแบบหนา


อีกหนึ่งวิธีที่สามารถใช้ได้ผลสำหรับการเลือกใช้ วอลล์เปเปอร์เป็นวัสดุป้องกันเสียง แต่ต้องขอบอกก่อนว่าวัสดุชนิดนี้ช่วยป้องกันเสียงได้จริง แต่ไม่เท่ากับวัสดุที่กล่าวมาทั้งหมดด้านบน เพราะด้วยลักษณะของวอลล์เปเปอร์เองไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในส่วนนี้


แต่ถึงอย่างนั้นด้วยความหนาของวอลล์เปเปอร์บางประเภทอย่าง 3d Wallpaper (PE Foam) ซึ่งจะมีความหนากว่าวอลล์เปเปอร์ทั่วไปถึง 2 เท่า ทำให้เมื่อนำมาติดตั้งเข้ากับผนังกำแพง ก็จะช่วยป้องกันเสียงภายในได้ในระดับหนึ่ง


จะเห็นว่ามีวัสดุหลายชนิดด้วยกันที่สามารถป้องกันเสียงได้ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่ภายในบ้านของเรา โดยเฉพาะห้องที่ต้องการป้องกันเสียงห้องนอนและห้อง Home Theater




บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์