รูปบทความ Happy worker:  เหตุผลที่เราควรเลือกจะออกหรืออยู่ต่อ

Happy worker: เหตุผลที่เราควรเลือกจะออกหรืออยู่ต่อ

จริงอยู่ที่ในมุมหนึ่งการลาออกคือการสิ้นสุดบางสิ่งบางอย่าง ทั้งหน้าที่การงาน กิจวัตร และความสัมพันธ์ แต่หากมองอีกมุม การลาออกคือจุดสิ้นสุดเพื่อให้เราได้ไปเริ่มต้นใหม่ ได้ออกไปท้าทายในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ได้ทดสอบศักยภาพตัวเอง และสำหรับบางคนคือการได้ใช้ชีวิตที่อยากใช้ ก็สามารถเลือกการลาออกเป็นคำตอบสุดท้ายได้ แล้วเราอาจจะพบว่าชีวิตใหม่ในที่ทำงานใหม่อาจจะเต็มไปด้วยเรื่องดีๆ


แต่การลาออกย่อมตามมาด้วยผลพวงหลายอย่าง เช่น กลายเป็นคนตกงานที่ขาดรายได้ไป บางคนต้องผ่อนคอนโด รถ หรือยังต้องเช่าห้องพักอยู่ การลาออกจากงานจะทำให้ขาดรายได้มาผ่อนสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังเสียโอกาสที่จะพัฒนาและเลื่อนขั้นในสายงานที่ลาออกมาด้วย เพราะต้องไปเริ่มต้นในที่ทำงานใหม่ และยังเสียประวัติการทำงาน เพราะที่ทำงานบางแห่งนั้นไม่ค่อยชอบใจเท่าไหร่ที่มีผู้สมัครงานเป็นคนเปลี่ยนงานอยู่บ่อยครั้ง เพราะดูไม่มั่นคงหรือดูไม่ทนงานนั่นเอง ทำให้โอกาสที่จะงานใหม่นั้นยากขึ้นอีกเล็กน้อย


ในซีรีส์ Happy Worker บทความนี้ Esto จะนำเสนอว่าเราควรจะลาออกหรืออยู่ทำงานต่อ สิ่งที่เราตัดสินใจสิ่งไหนที่เรียกว่าถูกต้องแล้วจริงๆ เพราะการตัดสินใจลาออกจากงานเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของชีวิต ไม่ว่าสาเหตุของการลาออกจะเป็นเรื่องอะไร อย่าเพิ่งรีบร้อนตัดสินใจเพราะการลาออกคือความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งกิจวัตรประจำวัน งาน และสังคม ลองให้เวลาตัวเองและถามตัวเองดีๆ การตัดสินใจพลาดอาจอาจทำให้โอกาสในการทำงานนี้เสียไปและไม่กลับมาอีก


อย่าใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสิน

เพราะบางครั้งเวลาเจอปัญหาที่ทำงานแล้วสะสมมาเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ทนไม่ไหว อยากลาออกกันไปให้รู้แล้วรู้รอด แต่ไม่ว่าสาเหตุนั้นจะเกิดจากคนหรือระบบการทำงานจนทำให้เราไม่อยากอยู่ที่นี่อีกต่อไป ลองให้เวลาความโกรธตัวเองดูก่อนว่าถ้าเริ่มจางลงแล้วเราจะยังรู้สึกเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า เพราะการมองปัญหาหรือการตัดสินใจอะไรด้วยอารมณ์จะทำให้เรามองภาพรวมแคบลงมาก เมื่อเรามีสติ เราถึงจะมองเห็นปัญหาอย่างรอบด้านขึ้น ถึงเวลานั้นจะตัดสินใจลาออกก็ไม่สาย


แก้ปัญหาแล้วหรือยัง

จริงๆ แล้วเราอาจจะลองลิสต์ใส่กระดาษเลยว่าปัญหาที่ทำให้เราอยากตัดสินใจลาออกนั้นมีเหตุผลอะไรบ้าง แน่นอนว่าต้องยาวหลายบรรทัด ให้ลองดูว่าปัญหาใดบ้างที่เราพอจะแก้ไขได้ หรือปัญหาใดบ้างที่พอจะร้องไปยังหัวหน้างานให้พอแก้ไขได้ เช่น อุปกรณ์ในการทำงานเสีย ใช้การไม่ได้ ให้คนมาเปลี่ยน หรือแรงงานในฝ่ายของเราน้อยทำให้งานเราล้นมือ หัวหน้างานอาจจะหาคนมาช่วย นั่นก็ทำให้ปัญหาถูกแก้ไขไป เราก็ไม่จำเป็นต้องลาออกก็ได้


หากรู้สึกว่าปัญหานั้นเป็นเรื่องคน เพื่อนร่วมงานที่มีนิสัยส่วนตัวบางอย่างที่เรารับไม่ได้ ลองแยกธรรมชาติของเขาเหล่านั้นออกให้เหลือแต่เรื่องที่ส่งผลกระทบในด้านการทำงาน แล้วนำเอาเฉพาะมุมนี้ไปคุยกับคนที่เกี่ยวข้องอย่างตรงไปตรงมา เช่น ถ้ารู้สึกว่าเพื่อนร่วมงานคนนี้พูดจาไม่ดีกับเราจนบั่นทอนสุขภาพจิต เราก็เอาเฉพาะเรื่องการสื่อสารซึ่งเป็นอุปสรรคกับการทำงานไปคุยกับเขา อย่างน้อยก็เป็นการสะท้อนให้เขารู้ว่าวิธีการสื่อสารแบบนี้ส่งผลกระทบกับคนอื่นๆ ถ้าเขารู้สึกและลองเปลี่ยนวิธีก็ถือเป็นผลดีกับภาพรวม แต่ถ้าเกิดเรื่องกระทบกระทั่งกันก็ถือว่าเราทำดีที่สุดแล้ว


ส่วนถ้าปัญหานั้นเป็นเรื่องของ Work-Life Balance ลองถามตัวเองว่าโจทย์ใหญ่ในชีวิตของเราตอนนั้นคืออะไร ถ้าเป็นเรื่องชีวิต งานที่เราทำอยู่ในขณะนี้ตอบโจทย์ในชีวิตของเราไหม พอปรับงานให้ไปในในทางเดียวกับชีวิตเราได้หรือเปล่า ถ้าทำไม่ได้จริงๆ การลาออกก็อาจเป็นทางออกที่ไม่ได้ผิดอะไร


มีงานใหม่รองรับแล้วหรือยัง

ในขณะที่เรากำลังรู้สึกว่าที่ทำงานเก่าเต็มไปด้วยข้อเสีย เราก็จะวาดฝันไปด้วยว่า งานใหม่ของเรานั้นจะเป็นแบบนั้นแบบนี้อย่างที่เราต้องการแต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าจะงานไหนก็มีข้อเสียกันทั้งนั้น ลองศึกษาข้อดีข้อเสียของขอบเขตการทำงานในตำแหน่งใหม่ จากข้อความประกาศรับสมัครพนักงาน หรือหากมีเพื่อนที่ทำงานอยู่ในนั้นยิ่งดีใหญ่ ให้ลองถามและเรียนรู้ทั้งวัฒนธรรมองค์กร และตัวงานมาด้วย แล้วค่อยมาชั่งใจดีๆ คิดถึงประสิทธิภาพในการปรับตัวของเรา รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่เรากำลังถืออยู่ทั้งเรื่องเงินและความรับผิดชอบว่าคุ้มค่าไหมที่เราจะย้ายงานท่ามกลางความรับผิดชอบที่เรามี


วางแผนภาพรวมของชีวิตไว้ว่าอย่างไร

การลาออกคือความเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่างหนึ่ง และในอนาคตนั้นยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ถ้าลาออกทั้งๆ ที่ไม่มีงานใหม่รองรับลองถามตัวเองดูก่อนว่ามีเงินที่จะใช้บริหารชีวิตต่อไปได้อีกนานเท่าไร และภายในระยะเวลานั้นเราสามารถหางานใหม่ได้หรือเปล่า


แน่นอนว่าชีวิตเต็มไปด้วยความเสี่ยงไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน แต่เราสามารถลดความเสี่ยงลงได้ด้วยการวางแผนก่อน อย่างน้อยถ้าเราคิดจะลาออกจริงๆ เราย่อมเกิดความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น สภาพแวดล้อมที่ทำงานใหม่อาจจะแย่กว่าที่เก่า แต่ระหว่างที่เรายังไม่ได้งานใหม่นั้น เรายังมีเงินก้อนสำรองพอใช้ชีวิตจนกว่าจะได้งานใหม่ ลดความเสี่ยงเรื่องเงินลงไปได้อีก


ถ้าคนที่อยากเสี่ยงด้วยการไปทำงานใหม่ที่เงินเดือนน้อยลง แต่เป็นงานที่อยากทำ ไม่เคยทำมาก่อน และตอบโจทย์ชีวิตเรื่องการมีเวลาเป็นส่วนตัว ก็ต้องกลับมาดูภาระหนี้ที่เรารับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนคอนโด ค่าผ่อนรถ รวมถึงหนี้บริโภค ว่าภายใต้ข้อจำกัดด้านการเงินข้อใหม่นี้เราสามารถบริหารจัดการดูแลได้หรือเปล่า



สุดท้ายนี้อยากแนะนำว่า ให้ลองแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ก่อน เพราะการลาออกเป็นเรื่องใหญ่ อาจะใช้พลังใจและพลังกายอย่างมหาศาล แม้ว่าผลออกมาจะไม่เป็นอย่างที่ใจหวังแต่นั่นคือการที่เราสู้อย่างถึงที่สุดแล้ว แต่ถ้าผลมันออกมาดีและเราสามารถแก้ปัญหาเห่านั้นได้จนเรามีชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น การลาออกอาจไม่ใช่คำตอบของเราในเวลานี้ก็ได้


ในบทความหน้า ของซีรีส์ Happy Worker จะนำเสนอหัวข้อสุดท้ายในเรื่อง ความมั่นคงของชีวิต ว่าชีวิตที่ถือได้ว่าเป็นชีวิตที่มั่นคงแล้วนั้นเป็นเช่นไร


Happy Worker

Happy worker: เก็บทุกความสำเร็จได้ดั่งใจด้วยการวางเป้าหมาย

Happy worker: งานอดิเรกให้คุณได้มากกว่าที่คิด

Happy worker: รวมเทคนิคการทำงานที่ช่วยให้เราอยู่กับงานได้นานขึ้น

Happy worker: เหตุผลที่เราควรเลือกจะออกหรืออยู่ต่อ

Happy worker: นิยามความมั่นคง ชีวิตที่มั่นคงต้องเป็นเช่นไร


บทความที่น่าสนใจ

รวมทักษะอาชีพในคอนโด งานเบื้องหลังการดูแลที่คุณอาจนึกไม่ถึง

จับชุด เข้าคู่ แต่งห้องสไตล์โมเดิร์น

เคล็ดลับแต่งห้อง ดูดี มีสไตล์ของคนธาตุทอง

เคยสงสัยไหม ทำไมกรุงเทพคนเยอะ

สิ่งแวดล้อมหลอมนิสัย เหตุใดเวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยน

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์