รูปบทความ 5 เทคนิค เลือกบ้านหรู ด้วยการเช็คความแข็งแรงของโครงสร้าง

5 เทคนิค เลือกบ้านหรู ด้วยการเช็คความแข็งแรงของโครงสร้าง


โครงการที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะบ้านหรู สิ่งที่พิเศษและแตกต่างจากโครงการบ้านธรรมดาทั่วไป นอกจากเรื่องงานของดีไซน์ ขนาดของตัวบ้าน และอื่นๆแล้ว ‘โครงสร้าง’ ของตัวบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะอยากให้เพื่อน ๆ ลองคิดภาพตาม ถ้าเราซื้อบ้านหลัก 10 ล้านขึ้นไป แต่อยู่ไปซักบ้านทรุด โครงสร้างมีปัญหาขึ้นมาเราจะรู้สึกเซ็งแค่ไหน...วันนี้ Esto เลยรวบรวมเทคนิคสำคัญของการเลือกซื้อบ้านหรู ด้วยการเช็คความแข็งแรงของโครงสร้างตัวบ้าน



ตรวจเช็คโครงสร้างบ้าน 5 องค์ประกอบหลัก


ถึงเราจะดูด้วยตาเปล่าไม่เห็นเกี่ยวกับระบบโครงสร้างภายในตัวอาคาร แต่เราสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้เอาไว้ได้ ในกรณีถามเซลล์โครงการในเรื่องของตัวโครงสร้าง หรือในการตรวจเช็คเราอาจจะว่าจ้างวิศวกรรมผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบก็ได้ 


ซึ่งโดยมาตรฐานแล้วการตรวจเช็คโครงสร้างโดยรวมของตัวบ้าน สามารถแบ่งออกได้ 5 องค์ประกอบหลักด้วยกัน ซึ่งเราจะขออธิบายให้ง่ายที่สุด โดยจะไม่พยายามใช้ศัพท์เทคนิคให้วุ่นวาย รวมถึงการแนะนำโครงสร้างรูปแบบใหม่ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคตอย่าง ระบบโครงสร้างโมดูล่าร์ (Modular System)



1. โครงสร้างอาคาร

เริ่มกันที่การตรวจเช็คข้อแรกกับโครงสร้างหลักของตัวบ้านกันก่อน หน้าที่ของโครงสร้างเองคือตัวรับน้ำหนักของตัวบ้านทั้งหลังเอาไว้ และเป็นโครงสร้างที่อยู่บน คานคอเสาดิน รับน้ำหนักในส่วนคาน พื้น, บันได้ รวมไปถึงหลังคา ซึ่งในบางกรณีจะมีการใช้ผนังรับน้ำหนักแทนการใช้เสาคานและโครงสร้างเหล่านี้


2. ฐานราก

ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด หรือโครงสร้างอื่นๆ ฐานรากถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยวัสดุหลักของการทำฐานรากให้มั่นคงแข็งแรง คือตอม่อและเสาเข็ม ซึ่งเสาเข็มจะมีแบ่งออกหลายประเภทและหลายขนาดด้วยกัน ซึ่งเสาเข็มจะทำหน้าที่ฝั่งไปในดินเพื่อรับน้ำหนักโครงสร้างของตัวอาคารเอาไว้


3. หลังคา

ส่วนของหลังคาสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน ประกอบด้วย โครงสร้างหลังคาและวัสดุปูหลังคา โดยการคำนวณโครงสร้างของหลังคาที่ดีต้องมีการคำนวณให้สอดรับกับตัวโครงสร้างหลักของอาคาร และนอกจากนั้นต้องมีการเลือกใช้วัสดุโครงสร้างที่ได้มาตรฐานเพื่อรองรับวัสดุปูหลังคา ซึ่งมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้งาน


4. ฉนวนกันความร้อน

สำหรับฉนวนจะถูกใช้งานบริเวณใต้หลังคาเป็นหลัก หรือถ้าให้นึกภาพง่ายขึ้น จะอยู่ด้านบนของฝ้าเพดานนั่นเอง ซึ่งตัวฉนวนเองมีหลายเกรดราคาให้เลือกใช้งาน โดยปกติจะทำหน้าที่กันความร้อนและกันเสียงได้ในระดับมาตรฐาน ซึ่งในปัจจุบันเองนอกจากติดตั้งไว้บนฝ้าเพดานแล้ว ยังมีการซ่อนไว้ใต้ผนังอีกด้วย


5. โครงสร้างผนัง

ตัวผนังเองมีหลายวัสดุในการก่อสร้าง โดยทั่วไปถ้าจะให้แข็งแรงจริงๆต้องเลือกใช้ อิฐมอญแดง ซึ่งจะมีความแข็งแรงสูงหากเทียบกับ อิฐมวลเบา หรือ ผนัง Precast แต่ข้อดีของรูปแบบผนัง 2 อย่างหลัง คือ มีน้ำหนักเบากว่า สามารถป้องกันเสียงและความร้อนได้ดีกว่า และที่สำคัญราคาไม่แพงเท่าอิฐมอญแดง



ระบบโครงสร้าง Modular


ตลอด 2-3 ปี ที่ผ่านมา เราอาจจะเคยได้ยินระบบโครงสร้าง Modular กันมาบ้างแล้ว แต่หลายคนคงไม่ทราบว่าโครงสร้างประเภทนี้มีคุณสมบัติอะไรบ้าง ซึ่งต้องขอขยายความก่อนว่า ระบบโครงสร้าง Modular เป็นการประกอบโครงสร้างการเหล็กชนิดพิเศษให้เป็นรูปร่างจากโรงงาน และนำมาติดตั้งที่หน้างาน 


โดยระบบประเภทนี้เองมักถูกนำมาใช้งานกับบ้านสำเร็จรูป หรือ ระบบน็อคดาวน์ (Knock Down System) ก่อนที่จะมีการพัฒนาขึ้นมาประกอบเป็นโครงสร้างของบ้านหลังใหญ่ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ โครงการ Perfect Masterpiece จากแบรนด์ Property Perfect ที่ร่วมมือกับ SEKISUI CHEMICAL จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบ้านระบบ Modular ซึ่งเป็นการนำ Module ที่ถูกประกอบชิ้นส่วนต่างๆของบ้านมาแล้วกว่า 80% จากโรงงาน ทำให้มั่นใจในมาตรฐานที่มีความแข็งแรงสูง


ที่มา: researchgate


ข้อดีของโครงสร้างระบบ Modular

  • ใช้ระยะเวลาการผลิตสั้น กว่าโครงสร้างระบบอื่น ๆ
  • เหมาะกับโครงสร้างที่อยู่อาศัย ทรงกล่องและเลขคณิต
  • มีความแข็งแรงสูง และมีอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่า 100 ปี
  • โครงสร้างเหล็กที่นำมาผลิต ไม่ผุกร่อนง่าย เพราะเป็นเหล็กชนิดพิเศษ
  • สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้เกือบ 100% เพราะผติจากโรงงานปิด 


โครงสร้างตัวอาคารของที่อยู่อาศัย ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกที่อยู่อาศัย เพราะเราต้องอยู่อาศัยภายในบ้านตลอดชีวิตของเรา ดังนั้นโครงสร้างต้องมีความแข็งแรง และมีคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับผู้อยู่อาศัย


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์