รูปบทความ Checklist 5 เทคนิค ตรวจคอนโดด้วยตัวเอง ไม่เปลืองแรง-ไม่เปลืองเงิน

Checklist 5 เทคนิค ตรวจคอนโดด้วยตัวเอง ไม่เปลืองแรง-ไม่เปลืองเงิน

ถึงแม้ว่าในช่วง 1-2 ปี จนถึงปัจจุบัน วงการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียม จะได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจที่ผันผวนไปทั่วโลก จนทำให้เกิดการชะลอตัวในการซื้อ-ขาย แต่ถึงอย่างนั้น คอนโดมิเนียม ก็ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ในหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษาที่ต้องการหาที่อยู่อาศัยใกล้มหาวิทยาลัย หรือจะเป็นพนักงานที่พึ่งเริ่มทำงานและต้องการหาที่อยู่อาศัยที่สามารถเดินทางสะดวก คอนโดมิเนียมจึงสามารถรองรับไลฟ์สไตล์ได้ทุกมิติ


และวันนี้เอง Esto เลยอยากจะมาแชร์เทคนิคการตรวจคอนโดมิเนียมด้วยตัวเอง กับ ‘Checklist 5 เทคนิค ตรวจคอนโดด้วยตัวเอง ไม่เปลืองแรง-ไม่เปลืองเงิน’ จะมีเทคนิคอะไรน่าสนใจบ้าง ตามพวกเราเข้ามากันได้เลย


Checklist 1 : ระบบไฟฟ้า



มาเริ่ม Checklist แรก ที่ถือว่าสำคัญที่สุดและหากเกิดปัญหาขึ้นมาจะแก้ไขได้ยากที่สุด คือ ระบบไฟฟ้า สำหรับเทคนิคการตรวจไม่ได้มีความยุ่งยากเท่าไหร่นัก เราสามารถทำเองได้ง่ายๆด้วยการสังเกตตำแหน่งปลั๊ก-สวิตช์ไฟ และตำแหน่งของหลอดไฟ ว่าอยู่ในตำแหน่งตามสัญญาข้อกำหนดหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามสัญญาให้ลิสต์เอาไว้ เพื่อแจ้งกับนิติของโครงการต่อไป


หลังจากสังเกตตำแหน่งต่างๆเรียบร้อยแล้ว ให้เช็คความพร้อมของไฟฟ้าด้วยการเปิด-ปิด สวิตช์ไฟ และนำอุปกรณ์ เช่น เครื่องชาร์จโทรศัพท์เสียบเข้ากับปลั๊กไฟทุกอัน รวมถึงการใช้ไขควงวัดไฟเสียบเข้าไปรูปลั้กทุกช่อง ในกรณีที่สายไฟเดินถูกขั้ว หลอดไฟในไขควงวัดไฟจะมีความสว่างเฉพาะในรู L เท่านั้น ส่วนขั้ว N จะไม่มีไฟ


รูปแบบของปลั๊กไฟแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ประเภทดังนี้


  • รูแคบ : รูที่ฐานเสียบแคบกว่า เป็นรูที่ต่อกับสายไฟฟ้าที่มีไฟฟ้าวิ่งมาจากโรงงานผลิตไฟฟ้า
  • รูกว้าง : รูที่ฐานเสียบกว้างกว่ารู L หัวตัดแบนจะกว้างกว่า เป็นรูที่ต่อกับสายไฟฟ้าที่วิ่งกลับไปยังโรงงานผลิตไฟฟ้า
  • รูกลมหัวตัด : รูฐานเสียบด้านข้างสำหรับสายดิน เป็นรูที่ต่อกับสายดินของอาคาร ส่วนต่อมาถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กันคือการตรวจสอบท่อรอยสายไฟบนฝ้าเพดาน เพราะโดยมาตรฐานทั่วไปแล้วจะต้องมีการประกอบท่อมาไว้ให้ เพื่อป้องกันการกัดแถะของหนูและแมลง


Checklist 2 : ระบบประปา



Checklist ต่อมามีความจำเป็น เพราะถือเป็นปัจจัยหลักในการอุปโภคบริโภค ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยมากที่สุดของระบบประปาภายในคอนโดมิเนียม คือ น้ำไม่สามารถส่งไปถึงเพื่อใช้งาน และอีกปัญหาคือการอุดตัน จนทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของกลิ่นตามมา


สำหรับการตรวจระบบประปาไม่ได้ยากอย่างที่ทุกคนคิด โดยเริ่มจากเปิด-ปิด ก็อกน้ำ ฝักบัว ที่เป็นตัวจ่ายน้ำทั้งหมดและให้ตรวจสอบที่มิเตอร์ เมื่อปิดก็อกน้ำลงให้สังเกตที่มิเตอร์อีกครั้งว่าหมุนอยู่หรือไม่ ถ้าหมุนอยู่แสดงว่าเกิดการรั่วซึมบริเวณใดบริเวณหนึ่งของตัวก็อกน้ำ และเมื่อรู้ปัญหาในรีบแจ้งนิติบุคคลทันที เพราะการซ่อมแซมระบบประปาจะใช้ระยะเวลานานกว่าส่วนอื่นๆ


Checklist 3 : เพดาน, ผนัง, พื้น



ผ่าน Checklist ระบบไฟฟ้าและระบบประปาที่อยู่ด้านในที่มองไม่เห็นไปแล้ว คราวนี้เราจะมา Checklist กับสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตากับ เพดาน, ผนัง, พื้น ซึ่งมีส่วนสำคัญในการอยู่อาศัย รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ภายในคอนโดมิเนียมของเราสวยงามด้วยเช่นกัน


เพดาน

ในส่วนของเพดานให้ตรวจสอบว่า เพดานมีรอยร้าว และรอยเบี้ยว รวมถึงมีการทำสีอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ ในกรณีสีลอกหรือไม่สม่ำเสมอต้องแจ้งนิติบุคคลของโครงการ เพื่อดำเนินการแจ้งช่าง เพื่อแก้ไขโดยการขัดและทาสีรองพื้น ก่อนทาสีใหม่ทับซ้ำอีก1-2 ครั้ง


ผนัง

ต่อมาเป็นการตรวจสอบระบบผนัง มีจุดสังเกตคล้ายกับเพดาน คือผนังมีรอยแตกร้าว ไม่เป็นคลื่น และสีสมำเสมอกันหรือไม่ ซึ่งเราสามารถเช็คด้วยการใช้ไขขวงเคาะตามแนวผนัง หากได้ยินเสียงกลวงแสดงว่างานฉาบมีปัญหาต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน


พื้น

ส่วนของพื้นค่อนข้างจะมีรายละเอียดปลีกย่อยมากพอสมควร โดยปกติแล้ววัสดุปูพื้นภายในคอนโดมิเนียมจะเลือกใช้อยู่ 2 วัสดุได้แก่ ไม้สังเคราะห์ เช่น ลามิเนต, เอ็นจิเนียริ่ง ส่วนอีกประเภทวัสดุคือ กระเบื้องเซรามิก ซึ่งวิธีการตรวจจะแตกต่างกันออกไป



  • พื้นวัสดุสังเคราะห์ : มีวิธีการตรวจสอบง่ายๆ ให้สังเกตด้วยการสัมผัสโดยใช้เท้า หากวัสดุยวบแสดงว่าวัสดุมีปัญหาในเรื่องของความชื้น รวมถึงการตรวจสอบด้วยการใช้ไม้บรรทัดวางตั้งฉาก หากพื้นไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน แสดงว่าเกิดข้อผิดพลาดตอนปูพื้น

  • พื้นกระเบื้องเซรามิก : มีวิธีสังเกตหลักๆอยู่ 2 วิธี คือการใช้ไม้บรรทัดเหล็ก หรือเหรียญเคาะตามพื้น หากกระเบื้องแผ่นไหนมีเสียงกลวงหรือเปราะ แสดงว่าขั้นตอนการปูพื้นมีปัญหา ส่วนอีกวิธีคือลวดลายให้สังเกตว่าลายของกระเบื้องเหมือนและปูไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่

Checklist 4 : เฟอร์นิเจอร์



สำหรับการ Checklist เฟอร์นิเจอร์ภายในคอนโดมิเนียม หลักๆแล้วประกอบด้วย ตู้เสื้อผ้า, ชุดเครื่องครัว ประกอบด้วยเครื่องดูดควัน เตาไฟฟ้า อ่างล้างจาน เป็นต้นฯ ซึ่งเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีข้อสังเกตในการตรวจสอบการใช้งานที่แตกต่างกันไป


ตู้เสื้อผ้า

แบ่งวิธีการตรวจสอบได้ 2 ลักษณะ คือภายนอกของวัสดุปิดผิวของตู้เสื้อผ้า ส่วนอีกหนึ่งลักษณะคือภายในเช่น Fitting ระหว่างบานเปิด รวมถึงชั้นวางและที่แขวนว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่


เครื่องดูดควัน + เตาไฟฟ้า

สำหรับเครื่องดูดควันให้เปิดเครื่องและนำกระดาษทิชชู 1 แผ่น ไปวางไว้ ถ้าลอยขึ้นไปติดเครื่องดูดแสดงว่าไม่พบปัญหา และในส่วนของเตาไฟฟ้าให้เปิดเตาและตรวจสอบว่ามีความร้อนที่แพร่ออกจากตัวเตา


อ่างล้างจาน

ให้ตรวจสอบก็อกน้ำและท่อระบายน้ำ วิธีการตรวจมีด้วยกันหลายวิธีแต่วิธีที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือการเปิดน้ำจนเต็มอ่างโดยปิดตัวท่อระบายน้ำเอาไว้ เมื่อเปิดน้ำจนเต็มให้เปิดตัวปิดท่อระบายน้ำออก หากน้ำไหลลงแสดงว่าไม่มีปัญหาอะไร


Checklist 5 : สุขภัณฑ์



Checklist สุดท้ายที่มักจะก่อให้เกิดปัญหาและความปวดหัวให้เราไม่แพ้กัน คือปัญหาเกี่ยวกับสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำ ซึ่งหลักๆแล้วภายในห้องน้ำจะประกอบด้วยอุปกรณ์และสุขภัณฑ์ อย่าง โถชำระ, อ่างล้างหน้า และก็อกน้ำ


ซึ่งวิธีการตรวจเช็คโถชำระให้นำขนมปังโยนลงไป แล้วกดให้น้ำชำระหมุนลงไป ถ้าขนมปังลงไปในช่องระบายแสดงว่าไม่เกิดการอุดตันของท่อระบายน้ำ ส่วนอ่างล้างหน้าจะมีวิธีตรวจสอบคล้ายกับอ่างล้างจาน


อีกจุดสำคัญห้ามลืมเด็ดขาด!

  • ประตู : ตรวจสอบความแข็งแรงของบานประตู บานพับระหว่างเปิด-ปิด การเก็บสี และช่องตาแมว
  • หน้าต่าง : ตรวจสอบระหว่างขอบซ้าย-ขวาของหน้าต่างว่าปิดแนบสนิทหรือไม่ รวมถึงความแข็งแรงของบานหน้าต่างเช่น กระจก
  • กระจก : ตรวจสอบการติดตั้งว่านำกระจกเข้ากรอบและมีการปิดด้วยซิลิโคลนยึด หนาแน่นพอหรือไม่
  • เครื่องตรวจจับควันไฟและสปริงเกอร์ : ให้ตรวจสอบว่าได้ติดตั้งมาให้และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่


เปิดต้นปีขึ้นมาก็อัดแน่นกันด้วยข้อมูลในการ Checklist ในการตรวจสอบภายในห้องคอนโด เพื่อรักษาสิทธิของผู้บริโภคตามกฎหมาย และที่สำคัญที่กว่านั้นเพื่อให้เราได้มีความสุขในที่อยู่อาศัยของเราในระยะยาว


ข้อมูลอ้างอิงจาก > office information chulalongkorn communication center


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์