รูปบทความ 4 สุดยอดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สวยที่สุดในประเทศไทย

4 สุดยอดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สวยที่สุดในประเทศไทย

        ใครจะเชื่อว่าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจะกลายเป็นแหล่งงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและสวยงาม จนทำให้เรารู้สึกว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิตต้องได้ไปถ่ายเซลฟี่และเยี่ยมเยือนงานตกแต่งสถานีเหล่านี้ให้ได้ ซึ่งสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ได้รับเลือกให้เป็น 4 สถานีที่โดดเด่นเหนือกว่าทุกสถานีของรถไฟฟ้าใต้ดิน คือ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ที่เป็นช่วงส่วนต่อขยายระหว่างหัวลำโพง-บางแค ที่ถูกสร้างสรรค์ทุกสถานีให้ออกมางดงามในแบบสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งจะมีสถานีใดบ้างนั้นวันนี้ Estopolis ขอชวนไปดูความคืบหน้าของการสร้างสุดยอดสถานีทั้ง 4 นี้กันค่ะ

1.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย

ต้องยอมรับว่าสถานีสนามไชยทำเอาเรารู้สึกอึ้งและทึ่งในความสามารถของช่างไทยได้ไม่น้อย เพราะสามารถจำลองท้องพระโรงในกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ให้กลับมาสวยและงดงามดังเดิมได้อย่างเหลือเชื่อ ซึ่งสถานีสนามไชย (Sanam Chai Station) เป็นสถานีช่วงต่อขยายของเส้นรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ที่เป็นหนึ่งในโครงการเส้นมหานคร สายเฉลิมรัชมงคลในส่วนต่อขยายระหว่างหัวลำโพง-บางแค ที่เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2542 และมีนัดหมายที่จะสร้างเสร็จภายในปี 2561 แต่กำหนดการณ์ที่จะเสร็จจริงๆ อยู่ที่ประมาณเดือนกันยายนปี 2562 แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันสถานีนี้ได้มีความคืบหน้าไปมากกว่า 80%

สถานีสนามไชย

http://www.nationmultimedia.com 

สนามไชย

www.travel-impact-newswire.com 


เรื่องของการออกแบบได้แรงบันดาลใจมาจากการที่สถานีสนามไชย อยู่ภายในพื้นที่อนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร จึงเน้นดีไซน์ที่สวยงามด้วยสถาปัตยกรรมของไทยแบบโบราณ ที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนกำลังได้ก้าวเท้าเข้าสู่พระราชวังโบราณที่ไม่ได้เห็นกันง่ายๆ ในปัจจุบัน ซึ่งการออกแบบนั้นก็ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติในสาขาทัศนศิลป์ ด้านงานสถาปัตยกรรม ที่ดึงเอาความสำคัญของพื้นที่สนามไชยที่เคยถูกขุดพบฐานรากของพระราชวังโบราณ ทำให้ท่านต้องการออกแบบสถานีให้งามดั่งท้องพระโรงในพระราชวังช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และต้องการให้สถานีนี้กลายเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีความสวยงามที่สุดในประเทศไทย และเป็นแหล่งแลนด์มาร์กของคนรุ่นใหม่อีกด้วย



รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย

รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย

รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย

รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย

ขอบคุณภาพจาก MAA Consultants Co., Ltd.

แผนที่สนามไชย

แผนที่ของสถานีสนามไชย (https://map.longdo.com )

ทางขึ้นสนามไชย

http://www.nationmultimedia.com 

ทางขึ้น-ลง ด้านมิวเซียมสยาม

สถานีที่อยู่ใกล้กับสถานีสนามไชย คือ สถานีสามยอด (วังบูรพา)

ตัวสถานีสนามไชยมีเส้นทางเข้าออกสถานีมากถึง 5 เส้นทาง คือ

1.ด้านโรงเรียนวัดราชบพิธ ช่วงสนามยิงปืนของกรมรักษาดินแดง

2.ด้านหลังสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง ช่วงท่าปล่อยรถประจำทางสาย 12

3.ด้านของทางมิวเซียมสยาม

4.ด้านโรงเรียนราชินี ช่วงสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง

5.ด้านปากคลองตลาด ช่วงถนนราชินี


สำหรับผู้ที่ต้องการโดยสารรถประจำทางต่อเมื่อออกจากสถานี ก็สามารถเลือกโดยสารได้ดังนี้

1.ช่วงถนนสนามไชย ด้านหน้าของมิวเซียมสยาม จะมีรถประจำทางสาย 3, 44, 47, 48 และ 524

2.ช่วงหน้าสวนเจ้าเชตุ จะมีรถประจำทางสาย 3, 6, 9 และ 12

3.ช่วงถนนมหาราช จะมีรถประจำทางสาย 9 ที่มุ่งหน้าสู่รถไฟสามเสน, 47 ที่มุ่งหน้าสู่ท่าเรือคลองเตย, 53, 82 ที่มุ่งหน้าสู่บางลำพู และ 524 ที่มุ่งหน้าไปบางเขน

4.ด้านถนนอัษฎางค์ จะมีรถประจำทางสาย 8, 12, 42, 73 และ 73ก.


ถ้าดูจากเส้นทางการเดินทางและสายรถประจำทางที่วิ่งผ่านแล้ว จะรู้ได้ทันทีว่าในย่านนี้เป็นจุดศูนย์รวมของการเดินทาง มีสายรถประจำทางที่กระจายออกไปตามส่วนต่างๆ ของกรุงเทพฯ ใกล้ๆ กันมีท่าเรือที่ให้การเดินทางทางน้ำเพิ่มเติมอีกด้วย และเป็นแหล่งสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง, วัดเก่าแก่และโบราณที่สุดของกรุงเทพมหานคร, สถานที่ราชการ, แหล่งท่องเที่ยวเชิงพิพิธภัณฑ์และแหล่งค้าขายอันเลื่องชื่อ เช่น ปากคลองตลาดและบ้านหม้อ เป็นต้น ผู้คนที่ใช้ชีวิตในย่านนี้จึงมีความหลากหลายสูง ทั้งคนทำงาน, นักเรียนและนักศึกษา, พ่อค้าและแม่ค้า เป็นต้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นแหล่งของการจราจรที่ค่อนข้างคับขันตลอดเวลา และยังเป็นจุดที่เรียกได้ว่ามีความเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมง เหมือนเมืองที่ไม่เคยหลับใหลอีกด้วย



วัดมังกรhttps://www.facebook.com/pg/prpmc.blueline 


2.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรกมลาวาส

ย่านเยาวราชคงไม่มีวัดไหนที่จะมีชื่อเสียงเท่าวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) อีกแล้ว วัดจีนชื่อดังที่ใครๆ ต่างก็พากันมากราบไหว้เพื่อสะเดาะเคราะห์และขอพรกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางรถไฟฟ้าใต้ดินจึงมีการสร้างสถานีวัดมังกรกมลาวาสในช่วงถนนเจริญกรุงที่ตัดกับถนนพลับพลาไชยและช่วงแยกแปลงนามไว้ให้บริการผู้ที่ต้องการเดินทางมาอย่างสะดวก ซึ่งที่นี่ถือว่าเป็นย่านค้าขายและแหล่งธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายจีน ทางทีมสถาปนิกของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวลล็อปเม้นท์ บริษัทใหญ่แห่งงานก่อสร้างที่เป็นผู้รับผิดชอบสร้างสถานีแห่งนี้และเป็นผู้ออกแบบตัวสถานี จึงได้ดึงเอากลิ่นอายของ 2 วัฒนธรรม คือ ไทยและจีน มาเป็นแรงบันดาลใจที่ช่วยผสมผสานกัน จนกลายมาเป็นสถานีลอดลายมังกร ที่มีการตกแต่งด้วยมังกรกับดอกบัวที่เป็นเอกลักษณ์ของทางวัดมังกรกมลาวาส และต้องการสื่อให้เห็นความเป็นอยู่ของชาวจีนด้วยการเน้นโทนสีแดงเป็นหลัก และให้สถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีนไปตลอดทั้งสถานี นอกจากนี้ยังมีงานสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมผสานยุโรปในแนวชิโนโปรตุกิส ที่ช่วยเน้นให้เห็นการใช้ชีวิตและการค้าขายของชาวจีนชัดเจนมากยิ่งขึ้น


วัดมังกร

วัดมังกร

วัดมังกร


วัดมังกร

https://www.facebook.com/pg/prpmc.blueline 


ตัวสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรกมลาวาสจะอยู่ระหว่างสถานีหัวลำโพงและสถานีวังบูรพา (สามยอด) โดยมีกำหนดการที่จะต้องส่งงานตามสัญญาวันที่ 2 มีนาคม 2560 แต่การเปิดเพื่อให้บริการจริวจะภายในวันที่ 30 กันยายน 2562 ส่วนด้านงานสถาปัตยกรรมก็ยังอยู่ในช่วงการตกแต่ง การเจาะผนังสู่สถานีสนามไชยและการฉาบผนังก็ถือว่าใกล้จะสมบูรณ์แบบแล้ว สภาพการทำงานตอนนี้จึงคืบหน้าไปมากกว่า 90% แต่การจราจรในย่านนั้นก็ถือว่ายังอยู่ในช่วงระหว่างก่อสร้างที่ยังต้องมีการเบี่ยงเส้นทางจราจร ดังนั้นถ้าใครจำเป็นต้องไปย่านหัวลำโพง-เยาวราช ก็อาจจะต้องศึกษาเส้นทางให้ดีก่อนทุกครั้ง


วัดมังกรhttps://www.facebook.com/pg/prpmc.blueline 

Lay out สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรกมลาวาส


ทำเลย่านวัดมังกรกมลาวาสส่วนใหญ่เป็นชุมชนชาวจีน ที่มีทั้งการอยู่อาศัยและเป็นแหล่งธุรกิจอันยาวนาน ซึ่งจะอยู่ใกล้กับถนนเยาวราชที่ถือว่าเป็นถนนสายสำคัญของชุมชนชาวจีน พร้อมการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและแหล่งร้านอาหารจีนที่หารับประทานได้ยาก ผู้คนที่ไปทำบุญวัดมังกรกมลาวาสจึงสามารถที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในย่านใกล้เคียง คือ เยาวราช, คลองถม, สำเพ็ง และพาหุรัดได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียว เรียกได้ว่ามาครั้งเดียวแต่ได้ทั้งทำบุญและท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจอย่างครบครัน


รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีวัดมังกร

รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีวัดมังกร

รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีวัดมังกร

รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีวัดมังกร

ช่วงก่อสร้างและตกแต่งภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกรกมลาวาส

หัวลำโพง

https://www.facebook.com/prpmc.blueline/ 

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2560 มีการคืนพื้นที่การจราจรช่วงหัวลำโพง 

หัวลำโพง

https://www.facebook.com/prpmc.blueline/ 

การจราจรหลังการคืนพื้นที่ดูคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

แผนที่สถานีวัดมังกรกมลาวาสแผนที่สถานีวัดมังกรกมลาวาสวัดมังกรฯhttps://www.google.co.th/maps 

สถานีวัดมังกรกมลาวาสอยู่ระหว่างสถานีหัวลำโพงและสถานีสามยอด (วังบูรพา)



ตัวสถานีวัดมังกรกมลาวาสมีช่องทางเข้า-ออกสถานีอยู่ 2 เส้นทาง คือ

1.ช่วงบริเวณสี่แยกแปลงนาม

2.ช่วงบริเวณซอยเจริญกรุง 18


มีรถโดยสารประจำทางที่สามารถไปถึงสถานีนี้ คือ

เส้นถนนเจริญกรุง สาย 1, 4, 7, 25, 35, 40, 49, 53, 85, 507, 529 และ 542


สถานที่สำคัญใกล้เคียงกับสถานีวัดมังกรมลาวาสนั้น มีทั้งวัดมงคลสมาคม, วัดคณิกาผล, วัดไตรมิตรวิทยาราม และอีกหลากหลายวัดสำคัญที่ให้การตกแต่งแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทย-จีนได้อย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังสามารถเดินไปสู่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ เฉลิมพระชนมพรรษา ที่มีความเชื่อว่าถ้าใครได้ลอดซุ้มจะทำให้เกิดศิริมงคลแก่ชีวิตในย่านวงเวียนโอเดี้ยนอีกด้วย



สถานีสามยอด


3. สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามยอด (วังบูรพา)

สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวังบูรพาที่ในปัจจุบันถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามยอด (วังบูรพา) เพื่อให้ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เป็นหนึ่งในรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินที่เป็นส่วนต่อขยายช่วงระหว่างสถานีหัวลำโพง-บางแค และเป็นหนึ่งใน 4 สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย โดยมีการปล่อยแบบของสถานีออกมาเพื่อให้ยลโฉมสุดยอดสถาปัตยกรรมผสมผสาน ที่นำเอาแนวชิโนโปรตุกิสมาผสมผสานให้สอดคล้องเข้ากับวัฒนธรรมไทยโบราณ พร้อมให้ความกลมกลืนไปกับอาคารและบ้านเรือนที่อยู่ในย่านถนนเจริญกรุง โดยภายในตัวสถานีจะมีการนำภาพย้อนยุคมาเล่าใหม่โดยติดไว้ตามผนังของสถานี เพื่อให้บอกเล่าเรื่องราวสำคัญแก่คนรุ่นหลัง มีการนำเอาแบบซุ้มประตูสามยอดมาประยุกต์ให้เป็นช่องจำหน่ายตั๋วสุดเก๋ ส่วนตัวประตูทางเข้าก็ใช้เป็นประตูบานเฟี้ยมที่ถือว่าเป็นประตูโบราณที่เข้ากับการตกแต่งแบบย้อนยุคได้ดีมาก


สถานีสามยอด

สถานีสามยอด

สถานีสามยอด

สถานีสามยอด

สถานีสามยอด

แรงบันดาลใจของสถานีเกิดจากความต้องการที่จะอนุรักษ์เรื่องราวอันเก่าแก่และวัฒนธรรมที่สวยงามแบบผสมผสานเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา พร้อมช่วยโปรโมทการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ประวัติศาสตร์โบราณ ที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถที่จะมาเรียนรู้ได้จากสถานีนี้ได้อีกด้วย สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามยอด (วังบูรพา) มีกำหนดสร้างแล้วเสร็จจนสามารถเปิดให้บริการได้คือ 30 กันยายน 2562 แต่จะมีการเริ่มทดสอบระบบตั้งแต่ปี 2561 โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2542 ส่วนการออกแบบได้รับการสร้างสรรค์และผ่านการคัดกรองแบบมาแล้วเป็นอย่างดีจากทางสถาปนิกฝีมือเยี่ยมของบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ที่เป็นทั้งผู้ออกแบบสถานีและผู้สร้างตัวอุโมงค์รถไฟฟ้า โดยเน้นให้สถานีสามยอดนี้เป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของกรุงเทพฯ


สามยอดhttps://map.longdo.com 

ตัวสถานีจะตั้งอยู่ในบริเวณถนนเจริญกรุงตัดถนนมหาไชยตรงช่วงแยกสามยอด เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่อยู่ระหว่างสถานีวัดมังกมลาวาสกับสถานีสนามไชย ทำเลในย่านสามยอดไม่ว่าจะด้านทิศใดต่างก็เป็นแหล่งธุรกิจและที่อยู่อาศัย เพราะเป็นดั่งจุดเชื่อมต่อไปยังแหล่งค้าขายในหลากหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพาหุรัด, สำเพ็ง, คลองถม หรือดิ โอลด์สยาม เป็นต้น ทำให้การเป็นอยู่ในย่านนี้ค่อนข้างหนาแน่นไปด้วยประชากรและการจราจรที่มาจากหลากหลายด้าน เพราะต้องการเข้าสู่ถนนเส้นเศรษฐกิจที่อยู่ใจกลางเมือง และเข้ามาซื้อ-ขายของเกือบจะทุกชนิด จึงไม่น่าแปลกใจที่ย่านนี้จะมีการจราจรที่หนาแน่นมากจนต้องมีรถไฟฟ้าใต้ดินไว้ให้บริการ

มีรถโดยสารที่ผ่านสถานีสามยอด คือ

สายรถประจำทางที่ผ่านสถานีสามยอด 1, 3, 4, 5, 6, 7, 7ก., 8, 9, 12, 19, 21, 25, 35, 40, 42, 43, 48, 53, 56, 73ก., 82, 85, 159, 507 และ 529



อิสรถาพ

http://www.khaosodenglish.com   


4.สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอิสรภาพ

สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอิสรภาพถือว่าเป็นสถานีแรกของฝั่งธนบุรี โดยจะอยู่ถัดมาจากสถานีสนามไชยและเป็นเพียงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายเดียวของฝั่งธน ซึ่งจะเป็นจุดที่เชื่อมต่อไปสู่สถานีรถไฟฟ้าท่าพระและที่เป็นจุดเด่นของสถานีนี้คือการเป็นอุโมงค์ที่ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ที่สามารถข้ามไปสู่ฝั่งพระนครได้อย่างรวดเร็วมากกว่าการเดินทางบนดินปกติ และอย่างที่รู้กันดีว่าเหล่าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน มีการเริ่มก่อสร้างกันมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ด้วยอุปสรรคหลายด้านทำให้งานในบางช่วงล่าช้าลง และมีกำหนดเปิดเพื่อให้บริการอย่างเต็มรูปแบบจะอยู่ที่ 30 กันยายน 2562 แต่ปัจจุบันความคืบหน้าของโครงการก็ถือว่าเป็นไปด้วยดีและก้าวหน้าไปมากกว่า 90%


อิสรภาพ

http://www.skyscrapercity.com 


อิสรภาพ

http://www.thansettakij.com 

อิสรภาพhttp://www.thansettakij.com


การสร้างสถานีนี้เป็นความรับผิดชอบของทางบริษัท ช.การช่าง ที่ใช้ทีมสถาปนิกฝีมือดีที่สุดของบริษัทในการออกแบบและตกแต่งตัวสถานี พร้อมสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมโบราณด้วยบรรยากาศที่โอ่โถง โปร่งสบาย แต่ไม่ตกแต่งเข้มมากจนเกินไป เพิ่มเติมความสวยโดดเด่นด้วยลวดลายของหงส์ในวรรณคดีไทย โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ที่ถือว่าเป็นวัดสำคัญและมีความเก่าแก่ในย่านอิสรภาพ และเพื่อเน้นให้เห็นถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ที่น่าชื่นชมของทางพื้นที่อีกด้วย


อิสรภาพ

https://hilight.kapook.com/ 

ภาพขณะกำลังก่อสร้างอุโมงค์สถานีอิสรภาพช่วงกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา

อิสรภาพhttps://map.longdo.com 

แผนที่สถานีอิสรภาพ


สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอิสรภาพตั้งอยู่บริเวณซอยอิสรภาพ 23 และซอยอิสรภาพ 34 ที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางของผู้คนที่ต้องการขึ้นรถใต้ดินเพื่อไปต่อรถไฟฟ้า หรือรถขนส่งมวลชนได้อย่างสะดวกสบาย  การอาศัยอยู่ของผู้คนในย่านนี้ส่วนใหญ่เริ่มจะเป็นแนวที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน, อาคาร, คอนโด หรือห้องพักต่างๆ มากขึ้น ทั้งยังเป็นย่านแห่งบริษัทและออฟฟิศ แต่ก็มีห้างสรรพสินค้าชื่อดัง, สถานศึกษา, วัด, โรงพยาบาล และย่านการค้าจำนวนไม่น้อยด้วยเช่นเดียวกัน จึงสามารถที่จะอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นจุดที่ได้รับความสนใจจากเหล่าคอนโดและอพาร์ทเม้นท์ทั้งหลายอีกด้วย

สายรถขนส่งมวลชนที่ผ่านสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอิสรภาพ คือ สาย 40, 56, 149 และ 177



ปัจจุบันรถไฟฟ้าใต้ดินมหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือที่เรามักได้ยินคนส่วนใหญ่เรียกว่าสายสีน้ำเงินนี้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสดีๆ ที่จะเพิ่มทางเลือกแบบรวดเร็วทันใจ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง และมีความปลอดภัยให้กับผู้คนในเมืองกรุงมากยิ่งขึ้น และทางภาครัฐเองก็ยังมีโครงการที่จะขยายเส้นทางทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินออกไปให้ไกลมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนภายในประเทศได้เดินทางสะดวกมากกว่าเดิม ถ้าใครอยากจะยลโฉมสุดยอดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินทั้ง 4 ก็อาจจะต้องอดใจรอกันสักนิด เพราะก็ถือว่าใกล้เสร็จสมบูรณ์เกือบทุกสถานีแล้ว เอาเป็นว่าถ้าเสร็จเมื่อไหร่เราก็คงได้แลนด์มาร์กดีๆ ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว!! 

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์