รูปบทความ เก็บเงินช่วงวิกฤต ช่วง Covid-19 แบบนี้เราควรเก็บเงินแบบไหนดี

เก็บเงินช่วงวิกฤต ช่วง Covid-19 แบบนี้เราควรเก็บเงินแบบไหนดี


ในสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งจากสงครามการค้าสหรัฐฯ - จีน ลากยาวมาจนถึง Covid-19 ที่ส่อแววจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง นับเป็นวิกฤตใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศ ทำให้บริษัทต่าง ๆ มีคำสั่งปลดพนักงาน, หยุดงาน หรือลดเงินเดือนพนักงาน จนมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายต่างเดือดร้อน และต้องเริ่ม เก็บเงิน เพื่อให้ตัวเราและครอบครัวอยู่รอด สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ และเมื่อประเทศไทยกำลังเข้าสู่วิกฤต "การเก็บเงิน" จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้...


เก็บเงิน อย่างไร ให้รอดพ้นจากวิกฤต Covid-19


สำหรับคำถาม เก็บเงิน อย่างไร ให้เราอยู่รอดก่อนจะมีคำสั่งปลดพนักงาน-ลดเงินเดือน-หยุดงานนั้น วันนี้ ESTO ก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเก็บเงิน ในช่วงวิกฤต ที่เราต้องหาทางออก เพื่อช่วยเหลือตนเองให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตไวรัส Covid-19 ไปให้ได้


เก็บเงิน อย่างไรให้อยู่รอดในช่วงวิกฤต Covid-19 : เงินสำรองฉุกเฉินคืออะไร

เก็บเงิน สำรอง อยู่รอดในช่วงวิกฤต Covid-19 ซึ่งก็คือ เงินออมประเภทหนึ่ง แต่มีจุดประสงค์ต่างกัน  เนื่องจากเงินสำรองฉุกเฉินไม่ได้มีไว้เพื่อการลงทุน ให้เงินก้อนออกดอกออกผล แต่จะเป็นการ เก็บเงิน ก้อนไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ตกงานไม่มีรายรับ, หยุดงาน, พักงาน หรือลดเงินเดือน อย่างตอนนี้ที่มนุษย์เงินเดือนกำลังกังวลกัน ดังนั้น เงินสำรองฉุกเฉินจึงควรเป็นเงินก้อนแรกที่เราควรมี



เก็บเงิน สำรองฉุกเฉิน ช่วงวิกฤต Covid-19 ควรมีเท่าไรถึงจะเพียงพอ

หากถามว่า ควร เก็บเงิน สำรองเท่าไรถึงจะเพียงพอในช่วง วิกฤต Covid-19 หลักง่าย ๆ เลย ก็คือ ให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่อเดือนอย่างน้อย 6 เดือน (แต่ไม่ควรเกิน 1 ปี) อย่างใครที่มีค่าบ้าน-ค่ารถ-ค่ากิน และค่าอื่น ๆ รวมกันแล้ว 10,000 บาท/เดือน ก็ควร เก็บเงิน สำรองไว้ประมาณ 60,000 บาทนั่นเอง




ควร เก็บเงิน สำรองช่วงวิกฤต Covid-19 ไว้ที่ไหนดี

แนะนำให้ เก็บเงิน สำรองไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่สามารถเบิกถอนได้เลยทันที หรือใครจะฝากเงินประจำระยะสั้น 3 - 6 เดือน เพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงเรื่องการขาดทุน ก็ดูจะตอบโจทย์กว่าการไปหวังพึ่งเรื่องกองทุน, หุ้น LTF, RMF หรือสลากออมทรัพย์เสียอีก



เก็บเงิน อย่างไรให้อยู่รอดในช่วงวิกฤต Covid-19 

ปกติแล้ว ควร เก็บเงิน สำรองไว้อย่างน้อย 10% ของรายได้ในแต่เดือน ซึ่งดูจะเป็นเรื่องง่าย แต่กว่าจะครบเนี้ยสิ คงต้องใช้เวลานานพอสมควร ถ้าอย่างนั้นเราอาจแบ่งเก็บเงินสำรองไว้เป็น 2 ก้อน โดยก้อนแรกจะเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน 5% ส่วนอีก 5% ก็ลองนำไปลงทุน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้เรามีเงินเก็บมากขึ้นด้วย




เก็บเงิน ด้วยวิธีอื่น ๆ ให้อยู่รอดในช่วงวิกฤต Covid-19

เก็บเงิน ช่วงวิกฤต Covid-19 ด้วยวิธีตัดเงินอัตโนมัติ

นับเป็นวิธีการ เก็บเงิน ที่สะดวกสบาย และรวดเร็วที่สุด โดยการตั้งระบบตัดเงินในบัญชีอัตโนมัติไว้ตามบัญชีต่าง ๆ ตามสัดส่วนที่เราตั้งเอาไว้ เมื่อมีเงินเข้ามาในบัญชีรายรับ ทางระบบก็จะทำการตัดเงินเข้าบัญชีที่เราตั้งเอาไว้ทันที โดยสัดส่วนที่แบ่งนั้น ควรมีความพอเหมาะกับรายรับ-รายจ่ายของเราด้วย

เก็บเงิน ช่วงวิกฤต Covid-19 ด้วยวิธีตั้งเป้าหมายแบ่งเงินใช้ 

การ เก็บเงิน วิธีนี้จะยังคงใช้หลักการตั้งเป้าหมาย ว่าเราจะทำอะไร อยากได้อะไร? เช่น อยากเก็บเงินสำรองไว้สัก 60,000 บาท หลังจากนั้นเมื่อได้เงินเดือนในแต่ละเดือนมาแล้ว ก็รีบทำการตัดรายจ่ายทั้งหมดออกไป พร้อมหารเงินที่เหลือเฉลี่ยต่อวัน โดยกำหนดไว้ว่า... แต่ละวันจะใช้เงินกี่บาท หรือใครจะเอาเงินไปแลกเป็นแบงค์ 100 แล้วแบ่งใส่ถุงเก็บไว้ใช้ในแต่ละวันก็ได้นะ


เก็บเงิน ช่วงวิกฤต Covid-19 ด้วยวิธีฝากเงินให้ตัวเอง

ลองเปลี่ยนมา เก็บเงิน แบบให้รางวัลตัวเองด้วยการฝากเงินเข้าอีกบัญชีหนึ่ง ที่เปิดไว้ทันทีที่เงินเดือน ออก ซึ่งเราอาจจะแบ่งฝากประมาณ 30% ของรายได้/เดือน หากแต่การเก็บเงินวิธีนี้ จะต้องมีวินัยกับตัวเองมาก ๆ พยายามอย่าถอนออกมาใช้โดยไม่จำเป็นเด็ดขาด



เก็บเงิน ช่วงวิกฤต Covid-19 ด้วยวิธีเก็บเงิน 52 สัปดาห์

สำหรับวิธี เก็บเงิน นี้จะเป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ นั่นก็คือ สัปดาห์แรกให้เก็บเงิน 100 บาท, สัปดาห์ที่ 2 เก็บเงินเพิ่มเป็น 200 บาท หรืออธิบายง่าย ๆ คือ แต่ละสัปดาห์ต้องเก็บเงินเพิ่มสัปดาห์ละ 100 บาท พอครบ 52 สัปดาห์ เราก็จะมีเก็บเงินได้ 137,800 บาทพอ


เก็บเงิน ช่วงวิกฤต Covid-19 ด้วยวิธีเปิดบัญชีโดยไม่ทำบัตร ATM

เก็บเงินได้ง่าย ๆ เพียงแค่เราเดินเข้าไปเปิดบัญชีธนาคารอะไรก็ได้ แบบไม่เอาบัตร ATM แล้วค่อยนำเงินเข้าไปฝากประมาณ 20 - 30% ของรายได้ แล้วลืมพยายามฝากให้ครบทุก ๆ เดือนด้วย


เก็บเงิน ช่วงวิกฤต Covid-19 ด้วยวิธีทำประกันออมทรัพย์

ความจริงแล้ว ประกันออมทรัพย์ ประกันชีวิต ก็เป็นวิธีเก็บเงินอย่างหนึ่ง ที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าการคุ้มครอง และเมื่อทำประกันแบบออมทรัพย์ครบ 10 ปีขึ้นไป ก็ยังสามารถนำค่าเบี้ยประกันไปยื่น ลดหย่อนภาษี ได้สูงสุด 100,00 บาทด้วย



เป็นอย่างไรบ้างกับการ เก็บเงิน ให้อยู่รอดในช่วงวิกฤต Covid-19 กับ ESTO ซึ่งดูแล้วไม่ได้ยากเท่าไรนัก สามารถเก็บเงินได้เรื่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยแต่ละทุกคนอาจเลือกวิธีที่เหมาะสมไปใช้กับตัวเอง ที่สำคัญ! การเก็บเงินนั้นนับเป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่เราต้องจัดสรรให้เหมาะสม ตลอดจนมีวินัยเพื่อไม่ให้ตัวเองลำบาก ทั้งตอนนี้และในอนาคต



เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์