รูปบทความ สีลม จากชุมชนวัดริมแม่น้ำสู่ย่านที่ที่ดินแพงที่สุดในประเทศไทย

สีลม จากชุมชนวัดริมแม่น้ำสู่ย่านที่ที่ดินแพงที่สุดในประเทศไทย

‘ศูนย์กลางเศรษฐกิจที่ไม่เคยเงียบเหงา’ คงเป็นคำที่พอใช้นิยามความเป็นสีลมได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ใช่แค่เป็นทำเลทองของธุรกิจหลายใหญ่ ทั้งไทยและต่างชาติเท่านั้น แต่ยังดึงดูดผู้คนด้วยบรรยากาศที่แอบมีความอบอุ่น สไตล์ Homie บวกกับไลฟ์สไตล์ที่ไม่เคยขาดสีสันเลย ตั้งแต่เช้ายันค่ำ


กาลครั้งหนึ่ง เมื่อสาทรยังเป็นชุมชนวัดริมแม่น้ำ



เรื่องเล่าแต่เก่าก่อน...บริเวณสีลมเคยเป็นชุมชนวัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ทำให้มีกลุ่มกงสุลและพ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่มากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงมีการยื่นฎีกาขอให้ขุดคลองทำถนนขึ้น เพื่อสะดวกสบายในการค้าขายระหว่างประเทศ


โดยสมัยนั้นถนนสีลมจะมีชื่อว่า “ถนนขวาง” จนต่อมาชาวต่างชาติก็ได้นำ ‘เครื่องสีลม’ ซึ่งใช้ในการวิดน้ำมาติดตั้งไว้เต็มถนน จนกลายมาเป็นชื่อ “ถนนสีลม” ในปัจจุบัน นอกจากนี้ก็ยังมีการตัดถนนตรง (พระราม 4) และถนนเจริญกรุง (ถนนใหม่) ร่วมด้วย นับเป็นถนน 3 สายที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิต และเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก


เปิดพื้นที่...ต้อนรับความเจริญอย่างเต็มรูปแบบ



ต้องบอกว่าการตัดถนนทั้ง 3 สายนั้น เป็นเหมือนสัญญาณต้อนรับความเจริญที่จะเข้ามาสู่ประเทศไทย เพราะหลังจากมีการสร้างถนนเจริญ เพื่อใช้เชื่อมต่อศูนย์กลางเมือง (พระบรมมหาราชวังในสมัยนั้น) กับท่าเรือขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของสีลมแล้ว ก็ทำให้ ‘ย่านสีลม’ พัฒนาขึ้น มีชาวตะวันตกเข้ามาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือน รวมถึงโรงพยาบาล และสถาบันศาสนาขึ้น


จนในที่สุด ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 - 8 (พ.ศ. 2412 - 2489) ทำเลสีลมก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่รกร้างเก่า ก็พัฒนามาเป็นย่านการค้าและถิ่นที่อยู่อาศัยหลักของกรุงเทพมหานคร


ต่อมาในปีพ.ศ. 2431 ก็ได้มีการขุดคลองสาทร และตัดถนนสาทรขึ้น บนที่ดินของคหบดีชาวจีน “เจ้าสัวยม (หลวงสาทรราชายุกต์)” โดยจะขุดจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ไปบรรจบกับคลองถนนตรง ที่ปัจจุบันถูกถมเป็นถนนพระราม 4 ไปเรียบร้อยแล้ว เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ผู้คนที่อยู่อาศัย และใช้เชื่อมโยงการคมนาคมเข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของพื้นที่


และจากการพัฒนาที่ดินดังกล่าว...ทำให้การตั้งถิ่นฐานมีการกระจายตัวเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยกระจุกตัวอยู่แค่บริเวณถนนเจริญกรุง ก็เริ่มขยับขยายไปทางตอนใต้ของถนนสีลมจนถึงถนนสาทร รวมถึงโซนศาลาแดง-คอนแวนต์, ถนนพระราม 4 และซอยพิพัฒน์ด้วย


ประกอบกับในปีพ.ศ. 2459 ที่สถานีรถไฟหัวลําโพงได้เริ่มเปิดให้ใช้งานร่วมกับเส้นทางรถไฟสายปากน้ำเดิม ก็เริ่มมีการขยายเมืองออกไป ทำให้บริเวณรอบ ๆ ทำเลสีลมฝั่งเพียบพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภค - สาธารณูปการ กลายเป็นย่านพักอาศัยเต็มตัว


ยกระดับ ปรับศักยภาพ สู่ ศูนย์กลางธุรกิจสมัยใหม่

‘สีลม’ ถูกพัฒนาขั้นสุดในช่วงต้นของรัชกาลที่ 9 มีจำนวนที่พักอาศัยมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับที่ประเทศไทยกำลังมี ‘แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรก’ และ ‘แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 2’ ขึ้นพอดี โดยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้า จึงทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินสีลมในด้านพาณิชยกรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ




จนเมื่อปีพ.ศ. 2488 หลังจากอุทกภัยหนัก และสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ก็ได้มีการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ศูนย์กลางการค้ากลับขึ้นมาใหม่ พร้อมกันนั้นก็ได้มีการตัดถนนพัฒน์พงศ์ 1 และสร้างอาคารพาณิชย์ขึ้นเพิ่มในปีพ.ศ. 2493 และยังทำการถมคลองสีลม เพื่อเพิ่มพื้นผิวการจราจรอีกใน พ ศ. 2506 ทําให้ ‘ถนนสีลม’ กลายเป็นถนนที่ใหญ่ที่สุดของย่านยุคนั้น


เปลี่ยนภาพสีลมเดิม ให้กลายเป็นย่านแห่งการผสมผสาน

หลังจากนั้นก็เกิดสยามแสควร์, ราชประสงค์ และประตูน้ำขึ้นมาเชื่อมกับฝั่งตะวันออกของลีลม และถนนพัฒน์พงศ์เองก็เริ่มมีไนต์คลับกับสถานบันเทิงขึ้น เพื่อใช้รองรับทหารอเมริกันที่เข้ามารบในสงครามเวียดนาม ประมาณปีพ.ศ. 2511 ซึ่งได้เปลี่ยนภาพสีลมในตอนนั้นให้กลายเป็นย่านแห่งการผสมผสาน ระหว่างย่านการค้าเก่า กับแกนหลักของการพัฒนาเมือง


และเริ่มมีอาคารพาณิชย์สูง 7 - 8 ชั้นขึ้นไปมาตอบสนองความต้องการด้านธุรกิจสมัยใหม่แทน โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาคารสํานักงาน อย่าง สถาบันการเงิน หรือบริษัทประกันภัย เป็นต้น อีกทั้งรูปแบบการพักอาศัยก็ยังเปลี่ยนมาเป็นทาวน์เฮาส์, อพาร์ทเมนท์ ตลอดจนสถานทูต และสถาบันระหว่างประเทศก็เข้ามาตั้งบนถนนสีลมด้วยเช่นกัน ทำให้การพัฒนาเชิงพาณิชยกรรมย้ายมากระจุกตัวอยู่บริเวณนี้เป็นหลัก



คงไม่มีใครคาดคิดว่า พื้นที่เกษตรกรรมป่าสวนไร่นาในอดีต จะถูกพัฒนามาเป็นย่านที่มีราคาที่ดินแพงที่สุดได้ถึงขนาดนี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 ซึ่งมีการยกเลิกการควบคุมการก่อสร้างอาคารสูงบริเวณระหว่างถนนสีลม - ถนนสาทร และเริ่มมีการสร้างอาคารสูงกว่า 10 ชั้นขึ้นไป เช่น โรงแรมนารายณ์, โรงแรมดุสิตธานี และอาคารอาคเนย์ประกันภัย เป็นต้น


ด้านการคมนาคมเอง ก็มีการขยายถนนสาทรในช่วงปีพ.ศ. 2522 - 2525 อย่างการก่อสร้างสะพานเชื่อมไปยังฝั่งธนบุรี (สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน) และได้ตัด ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบทางด่วนพิเศษต่อในปี 2539 จึงทำให้พื้นที่ทางตอนใต้ของถนนสีลมไปทางถนนสาทร (ระหว่างถนนพระราม 4 และถนนนราธิวาสราชนครินทร์) พัฒนาขึ้นไปอีกระดับ


‘สีลม’ ย่านที่ขึ้นชื่อเรื่องศักยภาพ และราคาที่ดินแพงสุดในไทย


โดยปี 2561 ทำเลสีลมได้มีราคาเช่า ที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนถึง 800 -1,000 บาท/ตร.ม./เดือน (ผลตอบแทนเฉลี่ย 4-5% ต่อปี) ส่วนราคาขายต่อจะเฉลี่ย 230,000 บาท/ตร.ม. (ผลตอบแทนเฉลี่ย 4-5% ต่อปี) สำหรับราคาประเมินที่ดินบนถนนสีลมล่าสุด (รอบบัญชีปี พ.ศ. 2559 - 2562) ก็อยู่ที่ 700,000-1,000,000 บาท เพิ่มขึ้นจากราคาประเมินเดิมถึงร้อยละ 17.65


ทั้งนี้เพราะ ‘ย่านสีลม’ ตั้งอยู่ในเขตบางรัก ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตศูนย์กลางทางธุรกิจ (Central Business District: CBD) จึงมีบรรดานักธุรกิจระดับสูง ผู้บริหารชาวต่างชาติให้ความสนใจ เกิดเป็นแหล่งงานขนาดใหญ่ มีรายได้เฉลี่ยของคนทำงานสีลมอยู่ที่ 19,000 - 29,000 บาท/เดือน นับเป็นเงินเดือนเฉลี่ยที่สูงสุดในกรุงเทพฯ อีกด้วย


อย่างไรก็ตาม...พื้นที่สีลมในปัจจุบันก็ค่อนข้างเกิดการอิ่มตัว และมีความหนาแน่นมากแล้ว ทําให้ความเจริญค่อย ๆ ขยายตัวไปตามถนนสาทร ส่งผลต่อเนื่องให้ ‘ทำเลสาทร’ เติบโตเป็นย่านธุรกิจและการค้าตามลำดับ สังเกตได้จากอาคารสํานักงานที่ตั้งเรียงรายตลอดถนนสาทรเหนือ - ถนนสาทรใต้ - ถนนเจริญกรุง รวมถึงมีสถานฑูตมาตั้งบนเส้นสาทรด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า “สาทร เป็นเหมือนพื้นที่ขยายตัวของย่านศูนย์กลางธุรกิจการค้าและพื้นที่พักอาศัยต่อจากสีลม” นั่นเอง




โรงแรม

  1. LEBUA AT STATE TOWER
  2. HOLIDAY INN BANGKOK SILOM
  3. NARAI HOTEL
  4. PULLMAN BANGKOK HOTEL
  5. DUSIT THANI BANGKOK

สำนักงาน

  1. SATHORN SQUARE
  2. I.T.F TOWER
  3. BBL HQ
  4. UNITED CENTER SILOM
  5. THANIYA PLAZA
  6. CP TOWER
  7. SILOM COMPLEX
  8. TISCO TOWER


ห้างสรรพสินค้า

  1. BANGKOK FASHION OUTLET
  2. CENTRAL SILOM TOWER
  3. SILOM COMPLEX
  4. ซอยละลายทรัพย์
  5. SILOM PLAZA


โรงพยาบาล

  1. BNH HOSPITAL
  2. CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL


คอนโด

  1. BAAN SIRI SILOM
  2. THE TREASURE
  3. PAPHADA SILOM
  4. LIFE@SATHORN 1O
  5. THE INFINITY
  6. MAHANAKHON PAVILION
  7. DIAMOND TOWER
  8. KLASS SILOM
  9. SILOM TERRACE
  10. FOCUS AT SALADAENG
  11. THE LEGEND SALADAENG
  12. SALADAENG RESIDENCES 


บทความที่เกี่ยวข้อง

ให้คุณใกล้ 'สาทร' ได้มากกว่าด้วยคอนโดแนวรถไฟฟ้า

"สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี" จุดศูนย์รวมไลฟ์สไตล์หนุ่มสาวออฟฟิศ

รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสีลม ทำเลทองย่านเศรษฐกิจ

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์