ESTOPOLIS | พายุมาโน่นแล้วเห็นไหม? รับมือกับภัยธรรมชาติด้วย 3 บ้านดีไซน์แปลกจากทั่วโลก!
6 September 2561
ตั้งแต่เข้าช่วงหน้าฝนมานี้ทั้งประเทศไทยและอีกหลายประเทศต้องรับมือกับภัยธรรมชาติที่แปรปรวนกันแบบต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่นอกจากคลื่นความร้อนอันแสนโหดร้าย ยังต้องเจอกับ ซูเปอร์ไต้ฝุ่น ‘JEBI’ ที่เรียกได้ว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปีเลยก็ว่าได้
แต่จะให้ยอมแพ้กับภัยธรรมชาติแบบนี้ตลอดไปเลยก็ใช่ที่ นักออกแบบทั้งหลายจึงคิดค้นนวัตกรรมด้านการอยู่อาศัยที่ช่วยทำให้มนุษย์อย่างเราๆ รอดพ้นจากภัยพิบัติเหล่านี้ในครั้งต่อ ๆ ไปออกมามากมาย ซึ่งในวันนี้ Estopolis ของเราได้หยิบยก 3 ไอเดียดีไซน์บ้านสุดแปลกจากทั่วโลก มาให้ชาวคอนโดได้เสพไอเดียและรู้สึกทึ่งไปกับหลักการออกแบบบ้านใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่ความสวยงามแต่ยังตอบโจทย์ด้านการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติได้อีกด้วย
มาดูกันดีกว่าว่า นักออกแบบเรียนรู้อะไรจากเรื่องราวภัยธรรมชาติในอดีต แล้วการออกแบบจะเป็นนวัตกรรมที่ช่วยชีวิตมนุษย์ได้อย่างไร เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันได้ในบทความนี้เลย!
Ma of Wind บ้านคอนกรีตที่หลอมรวมกับความเป็นธรรมชาติ
ถ้าพูดถึงประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะโด่งดังในเรื่องของอาหารแสนอร่อยและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว เรื่องของภูมิประเทศที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติอยู่บ่อยๆ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องขึ้นชื่อไม่แพ้กัน
ดังนั้น สถาปนิกชื่อดังอย่าง สตูดิโอ Ryuichi Ashizawa จึงคิดออกแบบบ้านคอนกรีต 2 ชั้นในชื่อ Ma of Wind บนเกาะโอกินาวะ ในทะเลจีนตะวันออก ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นต้นแบบของบ้านที่สามารถยืนหยัดเคียงคู่ไปกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน
Ma of Wind กับแนวคิด เคารพธรรมชาติ
Ma of Wind เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดที่อยู่อาศัยที่สอดรับกับธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคแบบดั้งเดิมในการควบคุมสภาพอากาศที่ค่อนข้างรุนแรงบนเกาะโอกินาวะ ด้วยการทำหลังคาคอนกรีตขนาดใหญ่และคลุมด้านหน้าด้วยตาข่ายเหล็กที่จะปลูกต้นไม้ปกคลุม ทำให้ตัวบ้านดูเรียบง่าย แปลกตา แต่ใช้งานได้สบายเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของญี่ปุ่นบริเวณชายฝั่ง
ตัวอาคารจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งแข็งแรงพอที่จะป้องกันบ้านจากไต้ฝุ่นที่กระทบเกาะเป็นประจำ ตัวบ้านถูกยกขึ้นเหนือพื้นดินเหมือนลอยบนแท่นคอนกรีต ทำให้มีลมสามารถลอดผ่านข้างใต้ไปลดความชื้นส่วนล่างของบ้าน ผนังบ้านที่เปิดได้โล่งทั้งสองด้านช่วยเอื้อต่อการระบายความร้อนที่ไหลผ่านภายในได้สะดวก
ด้านในอาคารออกแบบมาให้เป็นแบบ Openplan ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากคอนเซ็ปต์ Dom-Ino ที่โดดเด่นของ Le Corbusier ที่เข้ากับทั้งสภาพอากาศและลมของเกาะโอกินาวะที่ไม่เหมือนใคร เรียกว่า ออกแบบมาให้สอดรับกับธรรมชาติทุกระเบียดนิ้วอย่างแท้จริง
Blooming Bamboo Home บ้านไม้ไผ่ต้านน้ำท่วม
ถ้าพูดถึงภภัยพิบัติที่บ้านเราเจอกันบ่อยที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของน้ำท่วม ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้นที่ประสบปัญหา เรียกว่า แทบทุกประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเคยจมเป็นเมืองบาดาลกันสักครั้งสองครั้ง
ซึ่งในเรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอาจจะมีหลากหลายวิธี แต่ถ้าเป็นในแง่ของการดีไซน์ล่ะ? จะสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง?
ส่วนด้านการตกแต่งภายในก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ท่อนไม้ไผ่ในการตกแต่งทั้งหมด ที่สะท้อนถึงความกลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ซึ่งบ้านแต่ละหลังจะทำการก่อสร้างได้ในระยะเวลาเพียง 25 วันเท่านั้น
The Greenhouse That Grows Legs บ้านสุดทันสมัยป้องกันภัยน้ำท่วม
ไม่ใช่แค่การพยายามอยู่อาศัยกับธรรมชาติเท่านั้นที่จะเป็นทางออก แต่การเลือกใช้นวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมด้วยก็ช่วยทำให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้เช่นกัน
อย่างที่ ‘BAT Studio’ สตูดิโอออกแบบแห่งหนึ่งในอังกฤษ ที่ออกแบบบ้านในลักษณะสะเทินน้ำสะเทือนบกที่รู้จักกันในนาม The Greenhouse That Grows Legs ที่ช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วมบ้านได้เป็นอย่างดี
ชมคลิปวิดีโอการทำงานของตัวบ้านที่จะช่วยทำให้เราใช้ชีวิตเพื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติทางธรรมชาติและรับมือได้ดีขึ้น!
แต่สำหรับเราชาวคอนโดในกรุงเทพฯ อย่างเราๆ อาจจะรู้สึกว่า เรื่องภัยธรรมชาติเป็นเรื่องไกลตัวไปสักหน่อย แต่จริงๆ แล้วสภาพอากาศของของบ้านเราก็มีความแปรปรวนอยู่บ่อยครั้ง
ดังนั้นการเลือกแบบคอนโดที่ดีไซน์มาให้เหมาะกับการดูแลในทุกสภาพอากาศก็ดูจะเป็นเรื่องสำคัญอยู่ไม่น้อย ยิ่งถ้าเป็นคอนโดมือสองแล้วล่ะก็...ยิ่งควรตรวจเช็คเรื่องสภาพอาคาร ที่จะส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของห้องเอาไว้ด้วย
ส่วนใครที่ยังกังวลกับสภาพอากาศในช่วงหน้าฝนอยู่ล่ะก็ ลองอ่านบทความเหล่านี้ดูสิ ช่วยได้แน่นอน! :
- เทคนิคควรรู้ ดูแลคอนโดในหน้าฝน
- มาแต่งคอนโดรับมือกับหน้าฝนกันเถอะ!
- วิธีรับมือกับปัญหาคอนโดที่มาในหน้าฝน
บทความที่เกี่ยวข้อง
เอียงแต่ไม่ล้ม รวม 5 อาคารดีไซน์แปลกแต่ตั้งอยู่ได้จริง
รวมคอนโดหรูนดีไซน์สวยจากนักออกแบบชื่อดัง
ที่มา :
https://www.archdaily.com
https://www.dezeen.com
https://www.ibtimes.co.uk