รูปบทความ เช็คความพร้อมของสังคมไทยที่ผู้สูงอายุทั้งหลายจะครองเมือง

เมื่ออายุไม่ใช่แค่เรื่องตัวเลข เช็คความพร้อมของสังคมไทยที่ผู้สูงอายุจะครองเมือง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เราคงจะได้ยินคำว่า 'สังคมผู้สูงอายุ' กันอยู่บ่อยๆ หลายคนอาจจะไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้กันสักเท่าไร ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ถือเป็นปัจจัยที่ท้าทายต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะนี่ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานของไทยที่อาจจะยังไม่พร้อมที่จะรับโครงสร้างประชากรในรูปแบบสูงวัยได้ดีมากนัก

ไม่ว่าจะทั้งปัจจัยภายนอกที่รัฐต้องปรับเปลี่ยนเพื่อดูแลเรื่องรูปแบบเมือง การคมนาคม สวัสดิการจากรัฐบาลในด้านต่างๆ รวมไปถึงปัจจัยภายในของแต่ละบุคคล เช่น การจัดการชีวิตที่ต้องบอกว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วง 'แก่ก่อนรวย' ส่งผลให้คนสูงอายุในประเทศไทยไม่มีรายได้เพียงพอไว้ใช้ในยามเกษียณ


ซึ่งตอนนี้สังคมไทยเรามีผู้สูงอายุอยู่ประมาณ 1 ใน 10 ของประชากร แต่ในอีก 15 ปีข้างหน้า 1 ใน 3 ของประชากรจะกลายเป็นผู้สูงวัย ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุจะต้องเพิ่มขึ้น โดนจะมีมูลค่าสูงเท่ากับการสร้างทางรถไฟฟ้า 10 สายในทุกๆ ปี!!!


ฟังดูแล้วก็เริ่มจะมองเห็นปัญหา แบบนี้เราลองมาศึกษาเพื่อเตรียมรับมือกับสังคมแนวใหม่ที่ใครๆ ก็จะกลายเป็นคนแก่กับ ESTO กันก่อนเลยดีกว่า เผื่อจะหาทางออกสำหรับวัยเกษียณของตัวเองไว้ได้ล่วงหน้าจะได้ไม่ลำบากกันในภายหลัง


ปัญหาผู้สูงอายุนี้เกิดจากอะไร

สำหรับแนวโน้มนี้ก็ไม่ได้เป็นเทรนด์แค่ในไทย แต่มีหลายประเทศที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหานี้ ซึ่งเป็นผลมาจากยุค Baby Boomer หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อัตราการเกิดของประชากรสูงมาก คนกลุ่มนั้นกลายมาเป็นผู้สูงอายุในตอนนี้ และในขณะเดียวกันประชากรทั่วโลกมีการศึกษาที่ดีขึ้น มุ่งเน้นในการทำงานมากกว่า ทำให้อัตราการเกิดลดลง รวมทั้งความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้คนมีอายุยืนขึ้นจึงทำให้โลกเผชิญหน้ากับปัญหาจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายประเทศ


จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยนั้นสถานการณ์ผู้สูงอายุมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว จะเกิดขึ้นรวดเร็วกว่าประเทศอื่น ดังข้อมูลต่อไปนี้

  • ปี 2002 ผู้สูงอายุมีสัดส่วนมากกว่า 7% (เข้าสู่ระดับที่ 1)
  • ปี 2020 ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนราว 13% (สถานการณ์ปัจจุบัน)
  • ปี 2022 ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนมากกว่า 14% (เข้าสู่ระดับที่ 2)
  • ปี 2035 ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนมากกว่า 20% (เข้าสู่ระดับที่ 3)
  • ปี 2050 ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนมากกว่า 30%

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยใช้เวลาเปลี่ยนผ่านจาก สังคมผู้สูงอายุระดับที่ 1 ไปสู่ระดับ 2 ด้วยเวลาเพียง 20 ปี ซึ่งถือว่ารวดเร็วมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นอย่างญี่ปุ่น (24 ปี), อังกฤษ (46 ปี) หรือสหรัฐอเมริกา (72 ปี) 


ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบในเรื่องอะไร

แน่นอนว่า ปัญหานี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งรูปแบบการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ของทั้งคนทำงานและคนสูงวัย เพราะในประเทศไทย ชีวิตหลังการเกษียณอายุก็มักจะฝากผีฝากไข้ไว้กับลูกหลาน  ซึ่งถ้าเฉลี่ยดูแล้วในอนาคต วัยแรงจำนวน 2 คนจะต้องทำงานเพื่อดูแลผู้สูงอายุ 1 คน 

เมื่อเทียบกันกับรายได้ต่อหัวของคนไทยที่ได้ 190,000 บาท/ปี หรือเฉลี่ยที่ 14,000 บาท จะเห็นว่าเป็นรายได้ที่อยู่ในระดับไม่สูง ทำให้ความสามารถในการดูแลทั้งตนเองในยามเกษียณ หรือใช้ดูแลผู้สูงอายุภายในบ้านไม่เพียงพอตามต้องการ


การแก้ปัญหาที่ทำให้สังคมผู้สูงวัยกลายเป็นแค่เรื่องของ 'ตัวเลข'

วิธีการแก้ปัญหาในระยะยาวสำหรับประเทศไทยอย่างแรกเลยก็คือ...


การบริหารความรู้ 

ในปัจจุบันนี้คนไทยมีแนวโน้มลาออกจากงานเร็วกว่าปกติ โดยเลิกทำงานกันตั้งแต่อายุ 45 ปี ราวๆ 300,000 ราย ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานที่จะมีคนทำงานลดลง และอาจจะต้องจ้างแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้น

ดังนั้น วัยแรงงานในอนาคตควรที่จะต้องรู้จักพัฒนาทักษะการทำงานตัวเองให้พร้อมมากขึ้น สร้างรายได้ให้มากขึ้น หรือถ้าอยู่ในช่วงอายุที่กำลังจะเป็นผู้สูงวัยอาจจะต้องฝึกทักษะที่พอจะทำได้เพื่อสร้างรายได้ที่จะพอดูแลตัวเองได้หลังจากเข้าสู่วัยเกษียณ


การดูแลสุขภาพ

หลายอย่างภายในประเทศควรปรับเปลี่ยนเพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุมากขึ้น เช่น การมีบริการรถรับ-ส่งสำหรับผู้สูงวัย การปรับถนนเพื่อให้เหมาะกับผู้สูงวัย หรือการปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยแนวใหม่ให้เข้าใกล้สู่คำว่า Smart City มากขึ้น โดยในส่วนนื้ทั้งบุคคลและองค์กร ไม่ว่าจะภาครัฐและเอกชนก็ควรมีบทบาทในการดูแล รวมถึงให้การสนับสนุนในนโยบายส่งเสริมสุขภาพต่างๆ ที่เพียงพอต่อความต้องการอย่างครบถ้วนอีกด้วย


การบริหารการเงิน

เพื่อให้สามารถดูแตัวเองหรือดูแลพ่อแม่ได้ในอนาคต การบริหารเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าแค่ฝากธนาคารเพื่อรอดอกเบี้ยอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ควรจะหาแนวทาบริหารเงินด้วยการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ก็จะช่วยแก้ปัญหาแก่ก่อนรวยได้อีกทางหนึ่ง


ESTOPOLIS แนะนำ

เรียนรู้วิธีการลงทุนสำหรับคนอยากออมเงินต่อได้ที่ : 


คอนโดมิเนียมปรับตัวอย่างไรกับปัญหาผู้สูงอายุครองเมือง

สำหรับโครงการคอนโดสำหรับผู้สูงอายุในปัจจุบัน ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองเปลี่ยนไปจาากเดิมค่อนข้างมาก เนื่องจากไม่ใช่แค่กลุ่มผู้สูงอายุสัญชาติไทยเท่านั้นที่เราจะต้องรับรอง แต่กลุ่มผู้สูงอายุชาวต่างชาติวัยเกษียณเองก็มีแนวโน้มเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในไทยเพิ่มขึ้น 

ดังนั้นการปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อมและการออกแบบจึงจำเป็นสำหรับการสร้างคอนโดในปัจจุบัน

  • ทั้งในด้านความปลอดภัย ที่ต้องลดการเกิดอุบัติเหตุอันเกิดจากการเคลื่อนไหว การมองเห็น หรือการได้ยิน เช่น ทำราวจับ พื้นกันลื่น เป็นต้น
  • การใช้งานที่ต้องสะดวก เช่น ออกแบบพื้นที่ภายในอาคารให้รองรับการการใช้รถเข็นต่างๆ หรือหยิบจับของได้สะดวกแม้จะต้องนั่งวีลแชร์
  • ดูแลรักษาง่าย เป็นเรื่องของการเลือกห้องที่ไม่ควรมีขนาดใหญ่มาก อากาศถ่ายเททั้งความร้อนและความเย็น เพื่อสุขภาพที่ดีของคนสูงวัย
  • รวมถึงการได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีการเลือกใช้สีที่เหมาะสม ประกอบกับการใช้ความสว่างที่พอดี และชัดเจน รวมถึงควรมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ผู้สูงอายุสามารถมีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและชุมชนได้ เพื่อคลายเหงาได้ด้วย


อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับคอนโดที่ออกแบบเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาต่อได้ที่


สุดท้ายแล้วก็ถือเป็นเรื่องของภาคเศรษฐกิจ การบริหาร และการเตรียมตัวที่ต้องอาศัยทั้งตัวคนไทย ภาครัฐ และเอกชนเพื่อช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ทั้งหมดเราควรเตรียมพร้อม เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับสังคมที่แม้จะก้าวเข้าสู่ช่วงวัย 60 ปีขึ้นไป แต่ก็ไม่สร้างปัญหาให้มากขึ้นตามมาด้วย


อ้างอิง :


บทความที่เกี่ยวข้อง :





เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์