พาส่องค่าใช้จ่ายการเดินทางในไทยและเทศ การรวมบัตรจะเป็นไปได้ไหม?
15 May 2562
เนื่องจากการคมนาคมในประเทศไทยมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น รถเมล์ เรือและรถไฟประเภทต่างๆ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นข้อดีที่ให้เราได้เลือกเดินทางได้หลากหลาย วันนี้เราจึงรวมราคาค่าเดินทางในหลากหลายรูปแบบมาฝากไว้ให้เป็นตัวเลือกกัน
จากตารางจะเห็นได้ว่าการเดินทางด้วยรถเมล์นั้นจะถูกที่สุด แต่เราก็เลี่ยงปัญหาการจราจรในประเทศไทยไม่ได้ เนื่องจากคนใช้รถยนต์ส่วนตัวมีมากขึ้นอย่างรวดเร็วจึงมีส่วนทำให้การจราจรในกทม. เกิดความแออัด ซึ่งประเทศไทยนั้นก็กำลังจะขยายรถไฟฟ้าไปในหลายพื้นที่และคนกรุงเทพโดยส่วนใหญ่เลือกเส้นทางนี้เป็นการเดินทางหลักเพราะความรวดเร็วและไม่ต้องประสบกับปัญหาการจรจรติดขัดซึ่งอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้านั้นก็เป็นประเด็นที่หลายๆ คนสนใจว่าที่เราขึ้นๆ กันอยู่ทุกวันนี้ราคาดีแล้วหรือยัง?
เราจึงเปรียบเทียบราคาค่าโดยสารจาก 4 ประเทศมาฝากกันคือค่าโดยสารรถไฟสาย Tsuen Wan ของฮ่องกง[3] สาย North East ของสิงคโปร์[4] สาย 5 ในกรุงเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน[5] และ Tokyo Metro Fukutoshin Line ของญี่ปุ่น[6]
โดยพิจารณาจาก
- คิดราคาตามสถานีแบบเมืองไทย
- เลือกเส้นทางที่มีความยาวใกล้เคียงกัน โดยความยาวรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิทคือ 22.25 กิโลเมตร[1] ส่วนความยาวรถไฟใต้ดินคือ 20 กิโลเมตร[2]
- พิจารณาเฉพาะตั๋วโดยสารแบบเที่ยวเดียว ราคาเต็ม ไม่นับตั๋วโปรโมชั่น
และถ้าคำนวณเป็นเงินไทยจะได้ตามตารางนี้ (ค่าเงินแต่ละช่วงไม่เท่ากัน)
ซึ่งโดยหลักแล้วการเปรียบเทียบราคาสินค้า/บริการระหว่างประเทศ จำเป็นต้องคำนึงถึง “ค่าครองชีพ” ที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นจึงต้องใช้หลัก Purchasing Power Parity (PPP) ทำการแปลงค่าโดยสารให้ “เสมือนเป็นเงินดอลล่าร์” ทั้งหมด โดยเมื่อใช้ตัวเลข PPP conversion factor ของปี 2011 จากธนาคารโลก[8] จะได้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าออกมาเป็นหน่วย US Dollar (PPP-adjusted) ดังที่เห็นใน
ตารางข้างบนจะเห็นได้ว่าอัตราค่าโดยสารเมื่อคิดเทียบกับ “ค่าครองชีพ” ของที่เซี่ยงไฮ้นั้นถูกที่สุดและที่ฮ่องกงนั้นถูกกว่าไทยแต่ถ้าหากเทียบกับสิงคโปร์แล้วเรานั้นยังถูกกว่ามาก ในขณะที่ญี่ปุ่นนั้นแพงกว่าเราในระยะการเดินทางที่สั้น โดยทั้งนี้ทั้งนั้นราคาก็ขึ้นอยู่กับระยะทางและค่าเงินของแต่ละประเทศ
ถ้าหากเราเปรียบค่าครองชีพกับราคาอาหารแล้วนั้นกรุงเทพถือว่าเป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูงเป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ เพราะเมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำของคนไทยที่เฉลี่ย 310 บาทต่อวัน โดยในแต่ละเดือนนั้นคนไทยใช้เงินซื้ออาหารเฉลี่ยเดือนละ 5,000 หรือวันละ 160 บาทซึ่งสูงกว่าครึ่งของค่าแรงขั้นต่ำที่อยู่วันละ 310 บาทหรือเดือนละ 9,610 บาท
ในขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของสิงคโปร์อยู่ที่ 2,000 บาทต่อวันแต่เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจจึงไม่มีปัญหาในการเรียกร้องแรงงานขั้นต่ำเหมือนประเทศอื่นๆและถ้าเทียบค่าครองชีพกับราคากาแฟสตาร์บัคส์ในหลายประเทศ เช่น จีน สิงคโปร์ รัสเซีย ราคานั้นจะแพงกว่าในญี่ปุ่นทุกประเทศ เช่น กาแฟลาเต้ขนาดใหญ่ (Grande) ในญี่ปุ่นอยู่ที่ 410 เยน เทียบเป็นเงินไทยเท่ากับ 125 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้เคียงกันกับไทย แต่เมื่อเทียบกับเงินเดือนของพนักงานญี่ปุ่นที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ได้อย่างน้อยเดือนละ 180,000 เยน หรือประมาณ 55,000 บาท จึงถือว่าสามารถดื่มสตาร์บัคส์ได้บ่อยๆ
แต่สำหรับคนไทยที่มีรายได้น้อยกว่า 2-3 เท่า กลับต้องซื้อกาแฟสตาร์บัคส์ในราคาเท่ากับคนญี่ปุ่น จึงดูจะไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ ฉะนั้นหากชาวไทยจะดื่มกาแฟสตาร์บัคส์เป็นประจำโดยไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ควรมีรายได้มากกว่า 60,000 บาทต่อเดือน
และเนื่องจากเร็วๆนี้มีการขึ้นค่าโดยสารจากรถประจำทาง ทำให้หลายๆคนสงสัยว่าค่ารถที่เราจ่ายๆไปในแต่ละวันนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ขั้นต่ำถูกหรือแพงอย่างไร เริ่มจากไทยที่ค่าครองชีพนั้นตกอยู่ที่ประมาณ 310 บาทต่อวันหารชั่วโมงที่ทำงานแล้วได้ประมาณ 39-40 บาท ซึ่งรถเมล์นั้นราคาอยู่ที่ประมาณ 8 - 27บาท จึงเทียบได้ว่าคุณต้องทำงาน 10 นาทีสำหรับการนั่งรถเมล์ในหนึ่งครั้งและนี้คือราคาสำหรับการเดินทางในระยะสั้น! ที่ถ้าหากใครบ้านไกลก็เทียบได้กับว่าคุณต้องทำงานมากกว่า 20 นาทีขึ้นไปเพื่อการนั่งรถเมล์เพียงรอบเดียวของวัน
เรามาดูประเทศเกาหลีกันบ้างที่ตอนนี้มีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 8,350 วอน เทียบเงินไทยแล้วประมาณ 225 บาทและค่ารถเมล์ในเกาหลีอยู่ที่ประมาณ 13-60 บาท ซึ่งเทียบได้กับว่าต้องทำงานประมาณ 4-18 นาทีเพื่อคืนทุนในการนั่งรถเมล์ 1 รอบ ซึ่งก็สรุปได้ว่าประเทศไทยมีค่าครองชีพที่สูงกว่าประเทศในอาเซียนอื่นๆ โดยการแก้ปัญหาให้มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือนนั้นก็คือการตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปและหางานพิเศษทำเพื่อเพิ่มรายได้ของตัวเองจะเป็นวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด
จากที่เราได้กล่าวกันไปด้านบนแล้วว่าการเดินทางด้วยรถไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมมาก แต่ในทางกลับกันรถไฟไทยนั้นกลับได้รับความนิยมน้อยลง เนื่องจากความล้าสมัยของเทคโนโลยี ความสะอาดและความสะดวกสบาย วันนี้เรามีภาพประกอบความนิยมในการใช้รถไฟไทยและต่างประเทศมาฝากกัน
โดยจะเห็นได้ว่าประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้การเดินทางแบบรถไฟเป็นจำนวนมากที่สุด เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นนั้นมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยประกอบกับความยาวของรางรถไฟที่มาก สภาพรถไฟมีความใหม่ สะอาดและสะดวกสบาย โดยระบบรถไฟส่วนภูมิภาคและรถไฟใต้ดินของที่นี่สามารถนั่งต่อไปได้แทบจะทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นเมืองเล็กหรือเมืองใหญ่
ส่วนของไทยนั้นได้รับความนิยมค่อนข้างต่ำซึ่งหนึ่งในเหตุผลของการไม่พัฒนาก็คือการที่คนไทยไม่นิยมเดินทางในเส้นทางนี้ ทางขนส่งก็ไม่มีงบไปลงทุนต่อเพื่อที่จะนำมาพัฒนาและความไม่สะดวกสบายของการเดินทางโดยรถไฟจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมจึงไม่มีคนนิยมโดยสารทางรถไฟกันเลย
จากที่กล่าวถึงการเดินทางในประเทศไทยมาทั้งหมดนั้นเรามีหลายทางเลือกในการเดินทาง ซึ่งในแต่ละการเดินทางนั้นเราก็จำเป็นที่จะต้องพกบัตรโดยสารหลายใบ เช่น บัตรรถไฟฟ้าก็มีบัตร Rabbit บัตรโดยสาร MRT ก็มีอีกใบจนทำให้กระเป๋าเรานั้นเต็มไปด้วยบัตรและจะดีแค่ไหนที่บัตรเหล่านี้สามารถรวมกันได้ภายใน 1 ใบเท่านั้น
อย่างที่เรารู้กันว่าประเทศไทยนั้นเคยมีข่าวตั้งแต่ปี 2561 ว่าจะมีการรวมบัตรโดยสารของ MRT รถเมล์และแอร์พอร์ตลิ้งค์เข้าด้วยกันซึ่งเรียกว่า “บัตรแมงมุม” ซึ่งบัตรใบนี้ยังสามารถใช้กับร้านสะดวกซื้อทั่วๆไปได้อีกเรียกได้ว่าพกใบเดียวในกระเป๋าสตางค์ก็ใช้ได้ครอบคลุมหมด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจนปัจจุบันบัตรแมงมุมนั้นก็ถือว่าใช้ได้แต่ยังไม่ครอบคลุม โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างร่างสัญญาเพื่อไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนธุรกิจร่วมกันรองรับระบบตั๋วร่วม เราก็ได้แต่หวังว่าจะมีการเปิดใช้ในเร็วๆนี้อย่างครอบคลุมและเป็นทางการ
ตัวอย่างบัตรร่วมจากประเทศต่างๆ
บัตร “ Octopus” ของประเทศฮ่องกง
โดยบัตร Octopus สามารถใช้ได้ตั้งแต่ ขึ้นรถไฟ MRT, รถราง ไปจนถึงรถเมล์ สามารถใช้ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 และร้านอาหารฟาสฟู๊ด เท่านั้นไม่พอ ยังสามารถใช้จ่ายค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าพกบัตรใบเดียวก็สะดวกสบายและจับจ่ายใช้สอยง่ายแบบสุดๆ
บัตร "T-Money" ของประเทศเกาหลี
บัตรอีกใบที่คล้ายๆ กับบัตรแมงมุมนั้นก็มีที่ประเทศเกาหลี นั้นก็คือบัตร T-Money ซึ่งใช้แทนเงินสดและใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทั้งในการเดินทางผ่านทางรถเมล์ รถไฟ หรือแท็กซี่ แม้กระทั่งสวนสนุกหรือพิพิธภัณฑ์ซึ่งการใช้งานก็ง่ายมากเพียงแค่เติมเงินเข้าบัตรที่ตู้และหากจะใช้จ่ายหรือซื้อของก็เพียงแค่แตะที่ระบบเซ็นเซอร์ บัตรก็จะหักเงินในทันที เป็นบัตรที่หากไปเที่ยวที่เกาหลีนั้นแนะนำเลยว่าควรมีเพราะพกแค่ใบเดียวก็เที่ยวได้ทั่วและทำให้การเดินทางสะดวกมากยิ่งขึ้น
บัตร " Ez-Link " ของประเทศสิงคโปร์
บัตรสุดท้ายที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือบัตร Ez-Link เป็นบัตรที่เปรียบได้กับบัตรเงินสดที่สามารถใช้ได้กับการเดินทางและการซื้อของในประเทศสิงคโปร์ ทั้งการเดินทางผ่านทางรถไฟฟ้า MRT, LRT ของ SBST & SMRT รวมถึงซื้อของตามร้านสะดวกซื้อใน 7-11 และถ้าหากใช้ไม่หมดก็สามารถเอาบัตรไปแลกคืนเป็นเงินสดได้ เราจะได้เงินคืนเท่ากับมูลค่าคงเหลือในบัตร เรียกได้ว่าเป็นบัตรที่คุ้มค่า สะดวกสบายและหมดปัญหาการไม่มีเงินทอนของร้านค้าไปได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง
100 กว่าปีรถเมล์ ย้อนดูอดีตที่ส่งผลสู่ปัจจุบันของประวัติค่าเดินทางชาวกรุง
อยากไปอยู่ประเทศไหนสำรวจค่าครองชีพดูก่อน! จัดอันดับค่าครองชีพของทุกประเทศทั่วโลก
ไม่อยากลำบากขึ้น 'รถเมล์' มาดู 3 ทำเล 'เดินเท้า' ถึงได้สะดวก