รูปบทความ ความหมายของสีบนผังเมือง พื้นที่ของเราทำอะไรได้บ้างนะ

ความหมายของสีบนผังเมือง พื้นที่ของเราทำอะไรได้บ้างนะ

หากอยากดูทำเลได้ ต้องศึกษาเครื่องมือสำคัญที่ได้จัดทำไว้เพื่อการกำหนดเขตพื้นที่ดำรงรักษาเมืองต่างๆ และวางแผนพัฒนาได้ดีมากขึ้น นั่นก็คือผังเมือง


หากได้เห็นแผนที่ผังเมืองเราจะได้เห็นว่ามีการใช้สีในการกำหนดพื้นที่ประเภทต่างๆ ตามข้อกฎหมาย เรามาดูกันดีกว่าว่าสีเหล่านี้ แท้จริงมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง


ผังเมืองรวมทั้ง 8 มีสีใดกันบ้าง


เขตพื้นที่ของที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย

แบ่งเป็น 3 ระดับ

  • เขตสีเหลือง เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย นอกจากที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีสาธารณูปโภค และสาธารณูปการณ์เป็นส่วนใหญ่ จะใช้เพื่อกิจการอื่นได้ไม่เกินร้อยละ 10 ส่วนมากจะอยู่นอกเมือง
  • เขตสีส้ม เป็นที่ดินมีความหนาแน่นปานกลาง มีผู้อยู่อาศัยมากกว่าพื้นที่สีเหลือง ส่วนประกอบจะคล้ายกับสีเหลือง จะขยับออกห่างจากใจกลางเมือง เช่น เขตจอมทอง ภาษีเจริญ
  • เขตสีน้ำตาล ไม่ต่างจากทั้งสองสีมากนัก แต่ความหนาแน่นของผู้คนจะสูงที่สุด ส่วนมากจะเป็นพื้นที่ใกล้ CBD เช่น สาทร คลองสาน ดินแดง


เขตพื้นที่สีแดง เป็นส่วนพาณิชยกรรม

เป็นแหล่งพื้นที่เศรษฐกิจ พาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ ใช้เพื่อกิจการอื่นได้ไม่เกินร้อยละ 10 ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ CBD เช่นย่านสาทร อโศก เป็นต้น


เขตพื้นที่สีม่วง เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม

มี 2 ประเภทคือ

  • เขตอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อบริหารและจัดการสิ่งแวดล้อม จะเป็นพื้นที่ที่มีการปล่อยมลพิษออกมาน้อย
  • เขตนิคมอุตสาหกรรม เน้นเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมชัดเจน เป็นนิคมอุตสาหกรรม สามารถตั้งกิจการอื่นๆ นอกเหนือจากสาธารณูปโภค สาธารณูปการได้ไม่เกินร้อยละ 10


เขตพื้นที่สีเม็ดมะปราง(ม่วงเข้ม)

เป็นพื้นที่ของอุตสาหกรรมประเภทคลังสินค้า อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วน ไม่มีการผลิตและเป็นอุตสาหกรรมชุมชนที่ไม่ก่อรำคาญ ตั้งกิจการอื่นๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 10


เขตพื้นที่สีขาว มีกรอบและเส้นทแยงมุมสีเขียว เป็นพื้นที่อนุรักษ์และเกษตรกรรม

โดยหลักแล้วพื้นที่ตรงนี้ใช้เพื่อการเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้อง สถาบันราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ นอกจากนี้ยังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ตั้งกิจการอื่นๆ ได้ ไม่เกินร้อยละ 5 - 10 แบ่งเป็น 3 ประเภท

  • พื้นที่อนุรักษ์และเกษตรกรรมปกติ
  • พื้นที่อนุรักษ์และเกษตรกรรม ที่มีข้อจำกัดด้านการระบายน้ำและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย
  • พื้นที่อนุรักษ์และเกษตรกรรม ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มและน้ำกร่อยบริเวณชายฝั่งทะเล


เขตพื้นที่เขียว เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม

แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  • พื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมเพื่อการสงวนรักษาสภาพทาง ธรรมชาติ และการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร
  • พื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมเพื่ออเป็นชุมชนและศูนย์กลางการให้บริการทางสังคมและการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม


เขตพื้นที่สีน้ำตาลอ่อน เป็นพื้นที่อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย

แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  • ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว
  • ส่งเสริมกิจกรรมด้านพาณิชยกรรม การบริการ และการท่องเที่ยวในเขตอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม


เขตพื้นที่สีน้ำเงิน เป็นพื้นที่หน่วยงานราชการและสาธารณูปโภค

เป็นพื้นที่ของสถาบันราชการ การศาสนา การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการหรือสาธารณประโยชน์อื่นเฉพาะที่จำเป็นหรือเกี่ยวเนื่องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก จะกระจายอยู่ในทุกสีพื้นที่


นอกจากทั้ง 8 สีนี้แล้ว ยังมีการกำหนดพื้นที่สีผังเมืองอีก 2 สี เพื่อแสดงพื้นที่โล่ง

  • เขตพื้นที่สีเขียวอ่อน เป็นเขตพื้นที่โล่งเพื่อนันทนาการและรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
  • เขตสีพื้นที่สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงมีสีเขียว เป็นพื้นที่โล่งเพื่อพักน้ำ ป้องกันน้ำท่วม


ที่มา : กฎกระทรวงผังเมืองรวม

https://map.longdo.com/


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์