รูปบทความ หลอดไฟขาด หลอดไฟเสียทำยังไง วิธีการเปลี่ยนและเช็คหลอดไฟด้วยตัวเอง

ESTOPOLIS | ซ่อมได้! หลอดไฟเสียแก้ง่ายๆ รวมวิธีการเช็คและซ่อมหลอดไฟแบบมืออาชีพ

หลอดไฟถือเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สำคัญในคอนโด เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่าง คอนโดบางที่ที่แสงธรรมชาติเข้ามาน้อย ก็ต้องอาศัยแสงจากหลอดไฟแทน ดังนั้นในห้องจะขาดหลอดไฟไม่ได้ เมื่อหลอดไฟเสียก็ต้องได้รับการแก้ไขในทันที ชาวคอนโดจึงควรเรียนรู้วิธีการตรวจสอบ แก้ไขและเปลี่ยนหลอดไฟ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักหลอดไฟกันก่อน ว่าหลอดไฟที่ใช้ในคอนโดโดยทั่วไปในปัจจุบัน จะใช้กันอยู่ 2 ประเภท

         - หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน นิยมใช้ให้แสงสว่างทั่วไป มีทั้งแบบที่เป็นแนวยาว หรือหลอดวงกลมเหมือนโดนัท ที่จะใช้โคมปิดทับหลอดไฟอีกทีเพื่อความสวยงาม

         - หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (compact fluorescent) หลอดไฟชนิดนี้จะกินไฟน้อยลง เพราะเป็นหลอดที่มีขนาดเล็กลง แต่ให้กำลังส่องสว่างสูงขึ้น มีทั้งหลอดตะเกียบ หลอดเกลียว หลอดทอร์นาโด หลอดไส้ จะใช้ในบริเวณที่ต้องการเปิดไฟทิ้งไว้นาน ๆ อาจจะเป็นบริเวณระเบียงคอนโด เป็นต้น ซึ่งอายุการใช้งานของหลอดประเภทนี้จะมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ 8 เท่า


วิธีการตรวจสอบหลอดไฟ

ส่วนประกอบภายในหลอดไฟมีหลัก ๆ อยู่ 3 ส่วน คือ ตัวหลอดไฟ สตาร์ตเตอร์ บัลลาสต์ ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบ ดังนี้


1. การตรวจหลอดไฟ

อาการที่พบบ่อยจะเป็นการเสื่อมสภาพของหลอด สังเกตได้จากมีสีดำที่ขั้วหลอด หรือถ้าหากเปิดไม่ติดแต่พอดูที่ขั้วยังไม่ดำก็อาจจะหมุนหลอดไฟออกมาแล้วใส่ลงไปใหม่ ขั้วอาจจะหลวมก็ได้ หรือจะลองสลับไปใช้ที่ชุดอื่นก็ได้


2. การตรวจสตาร์ตเตอร์

อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่สามารถดูจากภายในได้ว่าเสียหรือไม่ ต้องทดลองสลับการใช้งานกับหลอดไฟชุดอื่นดู ถ้าไม่ติดก็แสดงว่าเสียต้องหามาเปลี่ยน


3. การตรวจบัลลาสต์

เมื่อต้องการตรวจสอบดูว่าบัลลาสต์ขาดหรือไม่ จะต้องใช้ไขควงวัดไฟที่ขั้วบัลลาสต์ เมื่อแตะที่ขั้วทั้งสองแล้วมีไฟถือว่าปกติดี แต่ถ้าไม่มีไฟแสดงว่าบัลลาสต์ เสียให้หามาเปลี่ยนใหม่ และถ้ามีกลิ่นไหม้ออกมาก็ต้องเปลี่ยนใหม่เช่นกัน


ต่อมาเรามารู้จักอาการเสียต่าง ๆ ของหลอดไฟว่ามีอะไรบ้างและแต่ละอาการเกิดจากสาเหตุอะไร


1. อาการหลอดสั่น หรือมีแสงกะพริบตลอดเวลา อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุดังนี้ - บัลลาสต์เสีย ทดลองถอดสตาร์ตเตอร์ออกขณะที่หลอดติดไฟก็จะหยุดกระพริบ ให้เปลี่ยนสตาร์เตอร์ใหม่ - หลอดไฟที่ซื้อมาใหม่บางหลอดจะกะพริบถี่มาก ให้ปล่อยทิ้งไว้ ใช้งานสักพัก แล้วอาการจะหายไปเอง - แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ภายในต่ำหรือไม่พอ เวลาไฟตกหลอดก็จะกระพริบ ก็ต้องแก้ไขด้วยการจัดหาหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้


2. เวลาเปิดไฟใช้เวลานานกว่าหลอดไฟจะสว่าง อาจเกิดจาก - สตาร์ทเตอร์เสื่อม ก็จะต้องแก้ไขด้วยการเปลี่ยนสตาร์ตเตอร์ - หลอดไฟเสื่อม ดูจากขั้วหลอดไฟว่าดำหรือยัง ถ้าดำแล้วก็ควรจะเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ - แรงดันไฟฟ้าภายในบ้านต่ำ แก้ไขด้วยการจัดหาหม้อแปลงไฟฟ้าที่ให้มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้


3. มีเสียงดังหึ่งๆ เวลาเปิดไฟอาการแบบนี้จะเป็นกับหลอดไฟที่ไม่ได้ใช้งานมานานแล้วมาเปิดใช้งานอาจจะมีเสียงดังได้ ต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงอาการนี้จะหายไป แต่ถ้าไม่หายให้แก้ไขด้วยการเปลี่ยนบัลลาสต์ เสียงที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากแกนเหล็กของบัลลาสต์หลวม


4. ขั้วหลอดไฟดำ เป็นอาการที่หลอดไฟที่ใช้มานานแล้วใกล้หมดอายุการใช้งาน แต่ถ้าเป็นหลอดไฟใหม่แล้วมีอาการแบบนี้ จะเป็นการลัดวงจรของบัลลาสต์ ต้องเปลี่ยนบัลลาสต์ใหม่


5. ขั้วหลอดดำเร็วกว่าปกติ ตัวบัลลาสต์จ่ายกระแสไฟมีปัญหา ให้ปลี่ยนบัลลาสต์ เมื่อตรวจสอบแล้วหลอดไฟเสีย จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ของหลอดไฟ ก็สามารถทำเองได้ง่าย ๆ อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการเปลี่ยนหลอดไฟ ก็จะมีบันไดปีน แบบพับได้ ไขควง ถุงมือยาง(ถ้ากลัวไฟช๊อต) ไม่ควรใช้เก้าอี้เพราะอันตราย อาจจะตกลงมาได้ ยังไงหาบันไดปีนแบบพับได้ติดคอนโดไว้ดีกว่า และอย่าลืมปิดไฟก่อนทุกครั้งก่อนจะทำการเปลี่ยนหลอดไฟ


วิธีการเปลี่ยนหลอดไฟ

1. การเปลี่ยนหลอดแบบขาสปริง ตรงบริเวณขั้วหลอดไฟจะเหมือนกับหลอดแบบขาทั่วไปวิธีการเปลี่ยนให้ดันไปข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วจึงดึงลง จากนั้นก็นำหลอดไฟใหม่มาใส่ โดยใส่ทีละข้างให้ดันข้างใดข้างหนึ่งเข้าไปก่อน แล้วค่อยใส่อีกข้าง


2. การเปลี่ยนหลอดแบบขาทั่วไป ขาหลอดไฟจะเป็นลักษณะการหมุนเกลียวลงล๊อค วิธีการถอดก็ให้หมุนหลอดไปมาให้ขาหลุดออกจากล็อคทั้งสองข้างแล้วค่อยดึงลงมา เมื่อจะใส่หลอดไฟใหม่เข้าไปก็เริ่มทีละข้างด้วยการหมุนให้เข้าล๊อคเหมือนเดิม


3. การเปลี่ยนบัลลาสต์ ให้ปิดสวิตซ์ไฟก่อนจากนั้นก็ ถอดฝาครอบออก ตัวบัลลาสต์จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจากนั้นใช้ไขควง ปากแบนถอดขั้วต่อสายบัลลาสต์ แล้วดึงสายออก ไขเอาบัลลาสต์ออกมา แล้วนำตัวใหม่มาใส่แทนที่ แล้วไขสกรูให้แน่นและต่อสายเข้าเหมือนเดิม 4. การเปลี่ยนสตาร์ตเตอร์ ให้ถอดสตาร์ตเตอร์ของเดิมออกมาก่อน โดยให้หมุนเอาสตาร์ตเตอร์ออกจากล็อค แล้วปลดออกใส่อันใหม่กลับเข้าไป ให้หันด้านที่มีขั้วเสียบเข้าไปในช่องเดิมแล้วหมุนให้แน่นก็เรียบร้อย


ส่วนหลอดไฟประเภทหลอดตะเกียบนั้น จะไม่มีสตาร์ตเตอร์และบัลลาสต์ เมื่อหลอดเสีย ก็แค่เพียงหมุนเกลียว เอาหลอดเก่าออกแล้วใส่หลอดใหม่เข้าไปเป็นอันเรียบร้อย



จะเห็นว่าการตรวจสอบหลอดไฟและการแก้ไขนั้นไม่ยากเลยสามารถทำได้ด้วยตัวเอง สะดวกและรวดเร็วกว่าจะไปจ้างช่างมาเปลี่ยนให้ และอย่าลืมซื้อหลอดไฟและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นมาสำรองไว้ เมื่อเสียจะได้เปลี่ยนได้ทันที


ขอคุณภาพประกอบจาก : http://silpa-thai.com

                                   : http://www.praguynakorn.com

                                   :  http://home2all.com

                                    : http://www.siamchemi.com

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์